งดดื่มกินเมื่อเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ |
ผู้ถือศิลอดจะต้องงดเว้น การกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ หรือข้อห้ามอื่นใด ตั้งแต่แสงอรุณขึ้น (เข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ) เรื่อยไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้า
พระองค์อัลลอฮ์ ศุบฮานาฮูวาตาอาลา ทรงตรัสว่า
وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّواْ الصِّيَامَ إِلَى الَّليْلِ
"และท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่ม จนกว่าเส้นด้ายสีขาว จากเส้นด้ายสีดำ ของแสงอรุณจะปรากฏแก่พวกท่าน จากนั้นให้พวกท่านจงถือศีลอดให้ครบถึงกลางคืนเถิด" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัลบะกอเราะฮ์ 2:187)คำ ว่า "เส้นด้ายสีขาว" คือแสงอรุณจริงของกลางวัน คำที่ว่า "เส้นด้ายสีดำ" คือความมืดของเวลากลางคืน คำที่ว่าแสงอรุณ หมายถึงแสงอรุณที่ขอบฟ้าซึ่งเป็นสิ่งบ่งบกว่าสิ้นสุดเวลากลางคืนและเริ่ม เข้าสู่กลางวัน ดังนั้นเมื่อแสงอรุณจริงขึ้นแล้ว แสดงว่าเข้าเวลาช่วงกลางวันแล้ว
รายงาน จากท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เขากล่าวว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ إِنَّ بِلَالًا يُؤَذِّنُ بِلَيْلٍ فَكُلُوا وَاشْرَبُوا حَتَّى يُنَادِيَ ابْنُ أُمِّ مَكْتُومٍ ثُمَّ قَالَ وَكَانَ رَجُلًا أَعْمَى لَا يُنَادِي حَتَّى يُقَالَ لَهُ أَصْبَحْتَ أَصْبَحْتَ
"แท้จริงท่าน ร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "แท้จริงบิล้าลได้ทำการอะซาน(ครั้งแรก)ในช่วงกลางคืนอยู่(ก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ) ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่มเถิด จนกระทั่งอิบนุอุมมุมักตูมได้ทำการอะซาน(ครั้งที่สอง) หลังจากท่านได้กล่าวว่า อิบนุอุมมุมักตูมเป็นชายตาบอด ซึ่งจะทำการอะซานจนกว่าถูกบอกให้แก่เขาว่า ท่านอยู่ในเวลาซุบฮ์แล้ว ท่านอยู่ในเวลาซุบฮ์แล้ว" (บันทึกหะดิษโดยบุคอรีย์ 582)
จากฮะดิษนี้บ่งชี้ให้ทราบว่า การอะซานละหมาดศุบฮฺ นั้นมี 2 ครั้ง คืออะซานตอนที่แสงอรุณไม่จริงขึ้น (ฟัจญ์กาซิบ) และอะซานช่วงที่แสงอรุณจริงขึ้น (ฟัจญ์ศอดิก) ซึ่งเมื่อแสงอรุณนั้นถือว่าเข้าเวลาศุบฮ์(ต่างกับบ้านเราที่มีการอาซานครั้งเดียว คือเป็นการอาซานครั้งที่ 2 ช่วงเวลาที่ท่านอิบนุอุมมุมักตูมทำการอะซาน) นั่นเอง ดังนั้นท่านบิล้าลได้ทำการอะซานในช่วงที่แสงอรุณไม่จริงขึ้นคือยังอยู่ใน ช่วงเวลากลางคืนอยู่ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงใช้ให้บรรดาซอฮาบะฮ์ทำการกินและดื่มต่อไป จนกระทั่งท่านอิบนุอุมมุมักตูมได้อะซานนั่นแหละจึงหยุดรับประทาน
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
«لاَ يَغُرَّنَ أَحَدُكُمْ نِدَاءَ بِلاَلٍ مِنَ السَّحُوْرِ، وَلاَ هَذَا البَيَاضَ حَتَّى يَسْتَطِيْرَ»
“คน หนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าจงอย่างหลงเชื่อกับการอาซานของบิลาล (เพราะบิลาลจะอาซานของเข้าเวลาฟะญัร) และกับแสงสีขาวจนกว่าแสง (แห่งรุ่งอรุณ) จะปกคลุมท้องฟ้า” (เศาะฮีหฺมุสลิม, เลขที่ 1094)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า “แท้จริงบิลาลจะอาซานตอนกลางคืน (ก่อนรุ่งอรุณ) ดังนั้นนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจะกล่าว (กำชับ) ว่า:
«كلوا واشربوا حتى يؤذن ابن أم مكتوم، فإنه لا يؤذن حتى يطلع الفجر»
“พวก เจ้าจงกินและดื่มจนกว่าอิบนุอมมิมักตูมจะอาซาน เพราะเขาจะไม่อาซานจนกว่าแสงแห่งรุ่งอรุณ (ฟะญัร) จะขึ้น (ปกคลุมท้องฟ้า)” (เศาะฮีหฺอัลบุคอรีย์, เลขที่ 1919)
เวลาเริ่มศิลอด |
สำหรับหะดิษต่อไปนี้ มีความขัดแย้งในทัศนะของนักวิชาการ
รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ฮุร็อยเราะฮ์ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إِذَا سَمِعَ أَحَدُكُمْ النِّدَاءَ وَالْإِنَاءُ عَلَى يَدِهِ فَلَا يَضَعْهُ حَتَّى يَقْضِيَ حَاجَتَهُ مِنْهُ
"เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ยินเสียงอะซาน โดยภาชนะอยู่บนมือเขา ดังนั้นก็อย่าวางมันจนกว่าจะรับประทานให้เสร็จสิ้นจากมัน"( มุสนัดอิมามอะห์มัด 10220 สุนันอะบีดาวูด 2003)
รายงานจากท่านอบูอุมามะฮฺ เล่าว่า
"เมื่อมีอาซาน(ศุบฮ์) ขณะนั้นแก้วน้ำอยู่ในมือของท่านอุมัรฺ เราจึงเอ่ยถามท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ ฉันจะดื่มน้ำได้ไหม? ท่านรสูล ตอบว่า ดื่มได้สิ เขาจึงดื่ม"(สายรายงานหะซัน บันทึกโดยอบูยะอฺลา เล่ม 1 หะดิษเลขที่ 1292)
ทัศนะที่ 1 กรณีที่บุคคลหนึ่งมีแก้วน้ำอยู่ในมือ หรือมีอาหารอยู่ในปาก สมารถจะดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารนั้นได้ เป็นข้อยกเว้น แม้จะมีเสียงอะซานเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ(การอาซานครั้งที่ 2 ช่วงเวลาที่ท่านอิบนุอุมมุมักตูมทำการอะซาน เป็นการอาซานละหมาดศุบฮฺในบ้านเรา)
ทัศนะที่ 2 เมื่อได้ยินเสียงอะซานซุบฮ์ในช่วงเวลาที่แสงอรุณขึ้น(การอาซานครั้งที่ 2 ช่วงเวลาที่ท่านอิบนุอุมมุมักตูมทำการอะซาน เป็นการอาซานละหมาดศุบฮฺในบ้านเรา) แม้บุคคลหนึ่งมีแก้วน้ำอยู่ในมือ หรือมีอาหารอยู่ในปาก ก็ห้ามดื่มน้ำ ห้ามรับประทานอาหารนั้นเด็ด และหากเขาผู้นั้นมีการรับประทานอาหารและดื่มอีกหลังจากนั้น ถือว่าการถือศีลอดของเขาย่อมใช้ไม่ได้และต้องกอฏอชดในช่วงวันอื่นจากรอมาฎอน
โดยถือว่าหะดิษข้างต้นขัดกับอัลกุรอาน และหะดิษที่กล่าวว่า อย่าหลงเชื่อเสียงอาซานของบิลาล แต่รับประทานไปจนเสียงอาซานของอิบนุอุมมิมักตูม และมีแสงปกคลุมท้องฟ้า
อิบนุอับดิลบัรฺกล่าวว่า “หะดีษนี้(หะดิษอย่าลหลงเชื่ออาซานของบิลาล และหะดิษที่ให้ไปจนอิบนุอุมมิมักตูมจะอาซาน) เป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าการทานอาหารสะหูรนั้นจะเกิดขึ้นก่อนเวลา รุ่งอรุณ เพราะคำพูดที่ว่า “แท้จริงบิลาลจะอาซานตอนกลางคืน (ก่อนรุ่งอรุณ)” เสร็จแล้วท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็ห้ามไม่ให้พวกเขาทานอาหารสะหูรเมื่อถึงเวลาอาซานของอิบนุอมมิมักตูม...” (อัตตัมฮีด, เล่ม 10 หน้า 62)
ท่านกล่าว เพิ่มเติมว่า “และแท้จริงปวงปราชญ์มุสลิมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ใดที่แน่ใจว่าเวลารุ่งอรุณได้มาถึงแล้ว จะไม่อนุญาตให้เขากินและดื่มอีกต่อไป” (หมายความว่า ต้องหยุดกินและดื่มทันที) (อัตตัมฮีด, เล่ม 10 หน้า 63)
อันนะวะวีย์กล่าวว่า “ในหะดีษนี้เป็นการชี้แจงเกี่ยวกับรุ่งอรุณที่มีผลต่อหุกมการถือศิยาม นั่นคือ (การปรากฏของ) รุ่งอรุณที่สองซึ่งเป็นรุ่งอรุณที่แท้จริง” (ชัรหฺเศาะฮีหฺมุสลิม, เล่ม 8 หน้า 212)
والله أعلم
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น