อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตะวัสซุล(การแสวงหาความใกล้ชิดกับผู้อื่นด้วยสื่อกลาง)


ตะวัสซุล สื่อกลาง


ตะวัสซุลคือ

هو التقرب إلى الغير بالوسيلة التي تقرب إليه

การแสวงหาความใกล้ชิดกับผู้อื่นด้วยสื่อกลางที่จะทำให้ชิดกับเขาผู้นั้น
ในทางศาสนาคือ การแสวงหาความใกล้ชิดต่ออัลลอฮด้วยการภักดี(ฏออะฮ)ต่อพระองค์
ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

والوسيلة التى أمرنا الله أن نبتغيها اليه هى التقرب الى الله بطاعته وهذا يدخل فيه كل ما أمرنا الله به ورسوله وهذه الوسيلةلا طريق لنا اليها الا باتباع النبى صلى الله عليه وسلم بالإيمان به وطاعته وهذا التوسل به فرض على كل أحد

และสื่อกลางที่อัลลอฮทรงบัญชาพวกเราแสวงหามันไปสู่พระองค์ คือ การกระกระทำตนให้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮ ด้วยการฏออะฮ(เชื่อฟังปฏิบัติตาม)ต่อพระองค์ และกรณีนี้ ทุกสิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ใช้พวกเรา เข้าอยู่ในความหมายของมัน และสื่อกลางนี้ ย่อมไม่มีหนทางใดสำหรับพวกเราที่จะไปยังมันได้ นอกจากด้วยการปฏิบัติตามนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยการศรัทธาต่อท่านนบีและปฏิบัติตามท่านนบี และน การตะวัสซุลด้วยมัน(ด้วยการปฏิบัติตามนบี)นี้ เป็นข้อบังคับเหนือทุกๆคน- ดูมัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 1 หน้า 274


อัลลอฮซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

يَأَيُّهَا الَّذِينَ ءَامَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَ ابْتَغُوا إِلَيْهِ الْوَسِيلَةَ وَ جَاهِدُوا فى سبِيلِهِ لَعَلَّكمْ تُفْلِحُونَ

.โอ้ผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงพระบัญชาของพระองค์ และจงแสวงหาสื่อกลางสู่พระองค์ และจงต่อสู้ในหนทางของพระองค์ หวังว่าสูเจ้าจะได้รับชัยชนะ”- อัลมาอีดะฮ/35

อิบนุกะษีร กล่าวว่า

وَقَالَ قَتَادَةُ : أَيْ تَقَرَّبُوا إِلَيْهِ بِطَاعَتِهِ وَالْعَمَلِ بِمَا يُرْضِيهِ

และกอตาดะฮ กล่าวว่า “หมายถึง พวกเจ้าจงแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์ ด้วยการภักดีพระองค์ และปฏิบัติในสิ่งที่ทำให้พระองค์พอพระทัย– ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 35 ซูเราะฮอัลมะอีดะฮ

อิบนุญะรีร อธิบายว่า

وَابْتَغُوا إِلَيْهِ الْوَسِيلَةَ " ، يَقُولُ : وَاطْلُبُوا الْقُرْبَةَ إِلَيْهِ بِالْعَمَلِ بِمَا يُرْضِيهِ .

และจงแสวงหาสื่อกลางสู่พระองค์ ) เขากล่าวว่า “พวกเจ้าจงแสวงหาความใกล้ชิดพระองค์ ด้วยการปฏิบัติสิ่งที่พระองค์ทรงพอประทัย –ดูตัฟสีรอิบนุญะรีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 35 ซูเราะฮอัลมะอีดะฮ

การตะวัสซุลนั้นมี 2 ประเภท คือ
1. การตะวัสซุลที่มีบัญญัติใช้
2. การตะวัสซุลที่ต้องห้าม

1. การตะวัสซุลที่มีบัญญัติใช้มี 3 ประเภทคือ
1.1 การตะวัสซุลด้วยพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ
ดังอัลกุรอ่านระบุว่า
وَلِلَّهِ الْأَسْمَاءُ الْحُسْنَى فَادْعُوهُ بِهَا
“และอัลลอฮ์นั้นมีบรรดาพระนามอันสวยงาม ดังนั้นพวกเจ้าจงวิงวอนพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด- อัลอะรอฟ/180
1.2. การตะวัสซุลด้วยการงานที่ดี
1.3. การตะวัสซุลด้วยดุอาของคนที่ดีมีคุณธรรม
ดังหะดิษ

‏عَنْ ‏ ‏عُثْمَانَ بْنِ حُنَيْفٍ أَنَّ رَجُلًا ضَرِيرَ الْبَصَرِ أَتَى النَّبِيَّ ‏ ‏ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏فَقَالَ ادْعُ اللَّهَ لِي أَنْ يُعَافِيَنِي فَقَالَ إِنْ شِئْتَ أَخَّرْتُ لَكَ وَهُوَ خَيْرٌ وَإِنْ شِئْتَ دَعَوْتُ فَقَالَ ‏ ‏ادْعُهْ ‏ ‏فَأَمَرَهُ أَنْ يَتَوَضَّأَ فَيُحْسِنَ وُضُوءَهُ وَيُصَلِّيَ رَكْعَتَيْنِ وَيَدْعُوَ بِهَذَا الدُّعَاءِ اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ وَأَتَوَجَّهُ إِلَيْكَ ‏ ‏ بِمُحَمَّدٍ ‏ ‏نَبِيِّ الرَّحْمَةِ يَا ‏ ‏مُحَمَّدُ ‏ ‏إِنِّي قَدْ تَوَجَّهْتُ بِكَ إِلَى رَبِّي فِي حَاجَتِي هَذِهِ ‏ ‏لِتُقْضَى اللَّهُمَّ شَفِّعْهُ فِيَّ


รายงานจากท่าน อุษมาน บิน หุนัยฟ์ ว่า แท้จริง มีผู้ชายตาบอดคนหนึ่ง ได้มาหาท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วกล่าวว่า ท่านจงขอต่ออัลเลาะฮ์ให้แก่ฉันให้พระองค์ทำให้ฉันหายด้วยเถิด ดังนั้น ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า หากท่านต้องการ ฉันก็จะประวิงเวลาให้แก่ท่าน(ให้อดทนสำหรับโลกหน้า) ซึ่งมันย่อมเป็นสิ่งที่ดี และหากท่านต้องการ ฉันก็ทำการขอดุอาอ์ แล้วเขากล่าวว่า ท่านจงขอต่ออัลเลาะฮ์เถิด แล้วท่านนบีก็ได้ใช้ให้เขาทำการอาบน้ำละหมาด และให้เขาทำการอาบน้ำละหมาดให้ดีเยี่ยม และให้เขาทำการละหมาดสองร่อกะอัต และใช้ให้เขาก็ทำการขอด้วยดุอาอ์นี้ คือ โอ้ อัลเลาะฮ์ แท้จริงข้าพเจ้าวอนขอต่อพระองค์และข้าพเจ้ามุ่งปรารถนาไปยังพระองค์ ด้วยกับมุฮัมมัด นบีแห่งความเมตตา โอ้ มุฮัมมัด แท้จริงข้าพเจ้าขอมุ่งปรารถนาด้วยกับท่านไปยังผู้อภิบาลของข้าพเจ้า ในเรื่องความต้องการของข้าพเจ้านี้ เพื่อให้พระองค์ทรงปลดเปลื้องให้(แก่ฉัน) โอ้ อัลเลาะฮ์ โปรดตอบรับการให้ความช่วยของกับเขา ที่เกี่ยวกับข้าพเจ้าด้วยเถิด" ท่านอบูอิสหาก กล่าวว่า ฮะดีษนี้ซอฮิห์" สุนันอิบนุมาญะฮ์ หะดิษที่ 1375 .............
หะดิษนี้หมายถึงการตะวัสซุลด้วยดุอาของนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านนบียังมีชีวิตอยู่
มีการยกหะดิษต่อไปนี้ว่า นบีอาดัม อะลัยฮิสสลาม ตะวัสซุลด้วยนบีมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คือ
ท่านอัลฮากิม ได้กล่าวด้วยสายสืบของท่านว่า

عَنْ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ: قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : لَمَّا اِقْتَرَفَ آدَمُ عَلَيْهِ السَّلاَمُ الْخَطِيْئَةَ، قَالَ: يَا رَبِّ أَسْأَلُكَ بِحَقِّ مُحَمَّدٍ لَمَا غَفَرْتَ لِيْ
จากท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านได้กล่าว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "ขณะที่อาดัม อะลัยฮิสลาม ได้กระทำความผิด เขากล่าวว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้าฯ ข้าพเจ้าวอนขอต่อพระองค์ด้วยสิทธิ์แห่งมุฮัมมัด นอกจากพระองค์ทรงอภัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด..."
….
วิจารณ์หะดิษ
อัลบัยฮะกีย์ บันทึกฮะดีษนี้ไว้ใน “ดะลาอิลุ้ลนุบูวะห์” ฮะดีษเลขที่ 2243 ด้วยสายรายงานจาก อะบี อัลฮาริษ อับดุลลอฮ์ อัลฟะฮ์รีย์ ว่า อิสมาอีล อิบนุ มัสละมะห์ เล่าให้เราฟังว่า อับดุรเราะห์มาน บิน เซด บิน อัสลัม ได้บอกกับเราจากพ่อของเขาซึ่งฟังมาจากปู่ของเขา จาก อุมัร อิบนุ้ลค๊อตต๊อบ อ้างถึงท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งเป็นสายรายงานเดียวกับ อัลฮากิม และเนื้อหาของฮะดีษก็มีข้อความเดียวกับของอัลฮากิม ตามที่แสดงไว้ข้างต้น แต่อัลบัยฮะกีย์ กลับกล่าวทิ้งท้ายฮะดีษว่า

تفرد به عبد الرحمن بن زيد بن أسلم من هذا الوجه عنه وهو ضعيف

“อับดุรเราะห์มาน บิน เซด บิน อัสลัม ได้รายงานฮะดีษนี้เพียงลำพัง และเขา ฏออีฟ” ดะลาอิลุ้ลนุบูวะห์ 6/118
อัลบานีย์ระบุว่า “ เป็นหะดิษเมาฎัวะ (หะดิษปลอม)
ดู. อัสสิลสิละฮ อัฎเฎาะอีฟะฮ หะดิษหมายเลข 25 และ ท่านอัซซะฮะบีย์ได้กล่าววิจารณ์ไว้ว่า "ฮะดีษนี้เมาฎั๊วะ" หนังสือ ตัลคีศ อัลมุสตัดร็อก 2/615
และอีกหะดิษหนึ่งที่เขานำมาอ้างคือ

عَنْ مَيْسَرَةَ قَالَ : قُلْتُ : يَا رَسُوْلَ اللهِ، مَتَي كُنْتَ نَبِيًّا ؟ قَالَ: ...وَآدَمُ بَيْنَ الرُّوْحِ وَالْجَسَدِ، فَلَمَّا أَحْيَاهُ اللهُ تَعَاليَ : نَظَرَ إِليَ الْعَرْشِ، فَرَآي اِسْمِيْ، فَأَخْبَرَهُ اللهُ أَنَّهُ سَيِّدُ وَلَدِكَ، فَلَمَّا غَرَّهُمَا الشَّيْطَانُ، تَابَا وَاسْتَشْفَعَا بِاِسْمِيْ إِلَيْهِ

"จากมัยซะเราะฮ์ เขากล่าวว่า ฉันได้กล่าวถามว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ท่านได้เป็นนบีเมื่อใด? ท่านนบีตอบว่า...(ฉันได้เป็นนบี) โดยที่อาดัมอยู่ระหว่างวิญญาณกับเรือนร่าง ดังนั้นในขณะที่อัลเลาะฮ์ทำให้เขามีชีวิตขึ้นมา อาดัมก็ได้มองไปที่อารัช(บัลลังก์) แล้วเขาก็เห็นชื่อของฉัน ดังนั้นอัลเลาะฮ์จึงบอกแก่เขาว่า แท้จริงเขา(มุฮัมมัด)นั้นเป็นหัวหน้าลูกหลานของเจ้า และในขณะที่ชัยฎอนได้ล่อลวงทั้งสอง(อาดัมและเฮาวาอฺ) ทั้งสองจึงทำการเตาบะฮ์และขอความช่วยเหลือด้วย(สื่อ)นามชื่อของฉันไปยังพระองค์
วิจารณ์หะดิษ
1. อิบนุตัยมียะอฮ ระบุว่า ข้อความที่ว่า “นบีอาดัมของชะฟาอะฮต่ออัลลอฮ ด้วยชื่อนบีมุหัมหมัดนั้น เป็นการเพิ่มเติมข้อความ โดยกล่าวว่า
وطائفة قد رووا أنه توسل بالنبي صلى الله عليه وسلم حتى قبل توبته و هذا كذب".
และมีคนกลุ่มหนึ่ง ได้รายงานว่าเขา(อาดัม) ตะวัสซุลด้วยนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แม้กระทั้งก่อนที่เขาจะเตาบะฮนั้น และนี้คือ การโกหก – ดู มินฮาญุสสุนนะฮ เล่ม 7 หน้า 131
2. อัลบานีย์ได้ระบุใน อัสสิลสิละฮ อัฎเฎาะอีฟะฮ หะดิษหมายเลข 5709 ว่า “เป็นหะดิษ “มุงกัร (หะดิษที่ถูกปฏิเสธ)

2. ตะวัสซุลที่ต้องห้าม มี 2 ประเภท
2.1 ตะวัสซุลบิดอะฮ คือ ตะวัสซุลด้วยตัวของบรรดานบี หรือ คนดีๆ ที่เสียชีวิตไปแล้ว
2.2 ตะวัสซุลชิริก คือ ตะวัสซุลด้วยการอิบาดะฮสิ่งอื่นๆจากอัลลอฮ ดังอายะฮที่ว่า

وَالَّذِينَ اتَّخَذُوا مِنْ دُونِهِ أَوْلِيَاءَ مَا نَعْبُدُهُمْ إِلَّا لِيُقَرِّبُونَا إِلَى اللَّهِ زُلْفَى

"ส่วนบรรดาผู้ที่ยึดถือเอาบรรดาผู้คุ้มครองอื่นจากอัลลอฮฺ โดยกล่าวว่าเรามิได้เคารพภักดีพวกเขา เว้นแต่เพื่อทำให้เราเข้าใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ" – อัซซุมัร /3

والله ولي التوفيق والهداية


_________________
จะยืนหยัดอยู่บนความจริง แม้ว่าจะขมขื่นเพียงใดก็ตาม

จากเว็บ http://www.moradokislam.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น