อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สิ่งที่ไม่ทำให้เสียการถือศิลอด

บวช
กรณีที่ไม่ทำให้เสียศิลอด

สิ่งใดเป็นเรื่องที่ศาสนาห้ามนั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องนำสิ่งที่ห้ามนั้นบอกกล่าวแก่ศอหะบะฮฺ หรือบัญญัติเป็นศาสนา แต่ถ้าท่านรสูลมิได้บอกไว้ ก็แสดงว่าสิ่งดังกล่าวเป็นที่อนุญาตให้กระทำในขณะถือศิลอด โดยไม่ทำให้การเสียศิลอดเป็นโมฆะแต่ประการใดทั้งสิ้น


พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า...


وَما يَنبَغى لِلرَّحمٰنِ أَن يَتَّخِذَ وَلَدًا
"และเรา (ญิบรีล) มิได้ลงมา เว้นแต่ด้วยพระบัญชาของพระเจ้าของท่าน สำหรับพระองค์นั้น สิ่งที่อยู่ระหว่างเบื้องหน้าของเราและสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของเรา และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองและพระเจ้าของท่านนั้นมิทรงหลงลืมสิ่งใดเลย"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ มัรยัม 19:64

การหยอกล้อและจุมพิต(จูบ)ภรรยาขณะถือศิลอด

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา ได้เล่าว่า:

كَانَ النَّبِيُ صَلَّى اللهُ عَلَيهِ وَسَلَّم  يُـقَبِّلُ وَيُبَاشِرُ وَهُوَ صَائِمٌ وَكَانَ أَمْلَكَكُمْ لإرْبِـهِ

ความว่า: "ท่านนะบี  ได้จูบและเล้าโลมในขณะที่ท่านถือศีลอด และท่านเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของท่านได้ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1927 และมุสลิม หมายเลข 1106 สำนวนหะดีษเป็นของอัล-บุคอรีย์)


รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า



أَنَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَخَّصَ فِي الْقُبْلَةِ لِلشَّيْخِ وَهُوَ صَائِمٌ وَنَهَى عَنْهَا الشَّابَّ وَقَالَ : الشَّيْخُ يَمْلِكُ إرْبَهُ وَالشَّابُّ يُفْسِدُ صَوْمَهُ

“ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผ่อนปรนการจูบสำหรับคนชราในขณะที่ถือศีลอด และท่านได้ห้ามการจูบสำหรับชายหนุ่ม  และท่านกล่าวว่า คนชรานั้นสามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้  ส่วนชายหนุ่มจะทำให้การถือศีลของเขาเสีย”(บันทึกหะดิษโดยอัลบัยฮะกีย์  ด้วยรายงานหะดีษที่เศาะเฮียะฮฺ)

การที่ผู้ชายจูบภรรยาของเขา ลูบคลำ และเล้าโลมผ่านเสื้อผ้าในขณะที่เขาถือศีลอดถือว่าเป็นที่อนุญาตถึงแม้ว่าจะเกิดอารมณ์ใคร่ก็ตามเมื่อเขามั่นใจว่าสามารถควบคุมอารมณ์ความใคร่ของตนเองได้ และถ้าหากเกรงว่าอาจจะพลั้งตกอยู่ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามเช่นการหลั่งน้ำอสุจิ เช่นนี้ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์  กล่าวว่า

وَتُكْرَهُ الْقُبْلَةُ لِمَنْ حُرِّكَتْ شَهْوَتُهُ وَالْأَوْلَى لِغَيْرِهِ قُلْت : هِيَ كَرَاهَةُ تَحْرِيمٍ فِي الْأَصَحِّ ، اللَّهُ أَعْلَمُ

“มักโระฮ์ทำการจูบสำหรับผู้(ถือศีลอด)ที่อารมณ์ความใคร่ถูกขับเคลื่อน  และที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่อารมณ์ไม่ถูกขับเคลื่อน(เช่น คนชรา)  แต่ฉัน(คืออิมามอันนะวาวีย์)ขอกล่าวว่า  การจูบ(สำหรับผู้กำลังถือศีลอด)นั้นเป็นมักโระฮ์แบบฮะรอมตามทัศนะที่ชัดเจนยิ่งกว่า  วัลลอฮุอะลัม” มินฮาญุฏฏอลิบีน หน้า 31.

ท่านอิมาม อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  กล่าวอธิบายว่า  

“การจูบ , การกอด , การสัมผัส , และอื่น ๆ โดยไม่มีสิ่งใดมากั้น  ในช่วงกลางวันของเดือนร่อมะฎอนนั้น  ไม่ทำให้เสียศีลอดแต่เป็นการกระทำสิ่งที่ฮะรอม  เพราะอาจจะเป็นการทำให้เสียอิบาดะฮ์ศีลอดโดยทางอ้อม เนื่องจากบุคอรีและมุสลิมได้รายงานหะดิษความว่า 

مَنْ حَامَ حَوْلَ الْحِمَي يُوْشِكُ أَنْ يَقَعَ فِيْهِ

“ผู้ใดที่ล้ำเข้าไปในเขตหวงห้ามเขาย่อมเกือบจะตกลงไปในมัน”

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้รายงานหะดีษที่ซอฮิห์จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า 

أَنَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَخَّصَ فِي الْقُبْلَةِ لِلشَّيْخِ وَهُوَ صَائِمٌ وَنَهَى عَنْهَا الشَّابَّ وَقَالَ : الشَّيْخُ يَمْلِكُ إرْبَهُ وَالشَّابُّ يُفْسِدُ صَوْمَهُ

“ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ผ่อนปรนการจูบสำหรับคนชราในขณะที่ถือศีลอด และท่านได้ห้ามการจูบสำหรับชายหนุ่ม  และท่านกล่าวว่า คนชรานั้นสามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้  ส่วนชายหนุ่มจะทำให้การถือศีลของเขาเสีย”

แต่หากเขาได้จูบ , กอด , สัมผัสภรรยาโดยไม่มีสิ่งกั้นขวาง แล้วจากนั้นอสุจิหลั่งออกมา ย่อมทำให้เสียศีลอด” มุฆนีอัลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 171.


การอาบน้ำ การใช้น้ำรดศีรษะขณะถือศิลอด

รายงานจากอาบูบัก บิน อับดุลเราะห์มาน จากซอฮาบัตท่านหนึ่งของท่านศาสดา(ซ.ล)ว่า 
“ฉันเห็นท่านศาสดา(ซ.ล)รดน้ำลงบนศีรษะของท่านเนื่องจากความกระหายหรือความร้อนโดยที่ท่านนั้นถือศีลอด"(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2361)
คนที่ถือศีลอดนั้นสามารถที่จะอาบน้ำได้ทั้งในตอนเช้า สาย เเละตอนบ่าย เนื่องจากกระหายหรือความร้อนนอกจากนี้เขายังสามารถเเช่ตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากอากาศร้อนหรือเพื่อป้องกันจากอันตรายอื่นๆได้อีกด้วย  อนึ่งมีนักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่าคนถือศีลอดที่เเช่ตัวในน้ำหรือล้างตัวของเขาด้วยกับน้ำเพื่อดับความร้อนนั้น เขาได้กระทำสิ่งที่น่าตำหนิ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยใช้น้ำราดศีรษะเนื่องจากอากาศร้อน หรือกระหายขณะที่ท่านศีลอด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ก็เคยทำให้ผ้าของท่านเปียกชุ่มขณะถือศีลอดเพื่อลดความร้อนหรือความกระหาย การที่เสื้อหรือตัวเปียกน้ำไม่มีผลต่อการถือศีลอด เนื่องจากน้ำไม่ได้เข้าไปในร่างกาย


การบ้วนปาก สูดน้ำเข้าจมูกและการแปรงฟันขณะถือศิลอด


อาซิม บิน ล่ากีฏ บิน ซ่อบิเราะฮ์  รายงานจากบิดาของเขา  ได้กล่าวว่า

قُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَخْبِرْنِي عَنْ الْوُضُوءِ قَالَ ‏ ‏أَسْبِغْ ‏ ‏الْوُضُوءَ ‏ ‏وَخَلِّلْ ‏ ‏بَيْنَ الْأَصَابِعِ وَبَالِغْ فِي ‏ ‏الِاسْتِنْشَاقِ إِلَّا أَنْ تَكُونَ صَائِمًا

"ฉันกล่าวว่า  โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์  จงโปรดจงบอกฉันจากเรื่องการอาบน้ำละหมาดด้วยเถิด  ท่านร่อซูลุลลอฮ์กล่าวว่า  ท่านจงอาบน้ำละหมาดให้ทั่วถึงสมบูรณ์  และจงสรางระหว่างนิ้ว(มือและเท้า)  และจงสูดน้ำเข้าจมูกลึก ๆ นอกจากเสียว่าท่านเป็นผู้ถือศีลอด" (บันทึกหะดิษโดยติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 718  ท่านอิตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดิษนี้ฮะซันเศาะเฮียะฮฺ)


ท่านรสูลเคยใช้น้ำกลั้วปากแล้วบ้วนทิ้งและสูดน้ำเข้าจมูกแล้วสั่งออกด้วยมือซ้ายในขณะที่ท่านถือศีลอด แต่ท่านห้ามมิให้ผู้ถือศีลอดกระทำมากเกินไป


ท่านร่อซูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่าความว่า

ความว่า “หากไม่เป็นการยากลำบากแก่ประชาชาติของฉันแล้ว ฉันจะใช้ให้พวกเขาแปรงฟันในเวลาอาบน้ำละหมาดทุกครั้ง”(บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

ท่านร่อซูลมิได้เจาะจงให้แปรงฟันเฉพาะผู้ถือศีลอดเท่านั้น ในการนี้เป็นการบ่งชี้ให้แปรงฟันสำหรับผู้ถือศีลอด และผู้ที่ไม่ได้ถือศีลอดด้วยในขณะเวลาอาบน้ำละหมาดทุกครั้งและทุกเวลาละหมาด โดยที่ต้องระมัดระวังมิให้กลืนมันลงไป



การกรอกเลือด และการฉีดยาขณะถือศิลอด

 รายงานจากอิบนุ อับบาส เล่าว่า


(اِحْتَجَمَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ مُحْرِمٌ وَاحْتَجَمَ وَهُوَ صَائِمٌ)
   ความว่า “ท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ได้กรอกเลือดขณะที่ท่านครองเอี๊ยะฮ์รอม และท่านได้กรอกเลือด ขณะที่ท่านถือศีลอด” ( หนังสือศ่อฮีฮ์ อัลบุคอรีย์ )

   รายงานจากษาบิต อัลบุนานีย์ เล่าว่า ความจริงเขาได้กล่าวแก่อะนัส อิบนุ มาลิก ว่า
 
 (أَكُنْتُمْ تَكْرَهُوْنَ الْحِجَامَةَ لِلصَّائِمِ عَلىَ عَهْدِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ؟ قَالَ : لاَ إِلاَّ مِنْ اَجْلِ الضَّعْفِ)
   ความว่า “พวกท่านไม่ชอบการกรอกเลือดสำหรับผู้ถือศีลอดในสมัยของท่านนะบี ศ็อลลัลลอหุอะลัยหิวะซัลลัม ใช่ไหม ? เขาตอบว่า ไม่หรอกยกเว้นอันเนื่องจากความอ่อนแอเท่านั้น” (บันทึกหะดิษโดยบุคอรี)

  รายงานจากอะฏ๊ออ์ อิบนุ ยะซ๊าร เล่าว่า
   (ثَلاَثٌ لاَيُفْطِرْنَ الصَّائِمَ: اَلْحِجَامَةُ وَالْقَيْءُ وَالاِحْتِلاَمُ)
   ความว่า “สามประการที่ไม่ทำให้ผู้ถือศีลอดเสียศีลอด คือการกรอกเลือด การอาเจียร และการฝัน (ทางเพศ)” (บันทึกหะดิษโดยอิบนุ อะบีซัยบะ)


 
   ฮะดีษทั้งหมดที่กล่าวมานั้น และอื่น ๆ อีกมากมายเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการบัญญัติเกี่ยวกับการกรอกเลือด สำหรับผู้ถือศีลอด

และการฉีดยาทุกประเภท ไม่ว่าจะฉีดยาด้วยสาเหตุใดก้ตาม จะฉีดกล้ามเนื้อ หรือฉีดเส้นเลือด ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้ เพราะการฉีดยาเข้าสู่ร่างกายไม่ใช่เป็นการเข้าภายในแบบปกติ

การทาตา การหยอดตา หู จมูก และการใช้ยาพ่นขณะถือศิลอด

รายงานจาก ท่านอนัส เล่าว่า "ปรากฏว่าเขาเคยทายาตา ในขณะที่เขาถือศิลอด" (หะดิษหะซัน...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2380)

การใช้สิ่งเหล่านี้ทา หยอดตา และดมยา ไม่เป็นการเสียศีลอดถึงแม้จะมีรสชาดของมันในลำคอหรือไม่มีก็ตาม นี่คือแนวคามคิดที่ชัยคุลอิสลามให้น้ำหนักมากกว่าในบทความเรื่อง “ข้อเท็จจริงของการถือศีลอด” และลูกศิษย์ของเขาคืออิบนุก็อยยิม ในหนังสือของเขา “ซาดุลมะอ๊าด” และอิหม่ามอัลบุคอรียฺในหนังสือ “ศ่อฮี้ฮฺ” ของเขา ได้กล่าวว่าอะนัส อิบนมาลิก และอัลหะซัน อัลบัศรีย์ และอิบรอฮีมอันนัคอีย์ มีความเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านี้ทาและหยอดตาสำหรับผู้ถือศีลอดไม่เป็นไร คือไม่เป็นการเสียศีลอด

และในทำนองเดียวกัน การพ่นยารักษาโรคหอบหืดทางปาก ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากในปัจจุบันเห็นว่าไม่ทำให้เสียศีลอด


ชิมอาหารขณะถือศิลอด

รายงานจากอิบนฺอับบาส กล่าวว่า
“ไม่เป็นความผิดหรือไม่เป็นไรที่จะชิมรสชาติของน้ำส้มหรืออาหาร ตราบใดที่ไม่เข้าสู่ลำคอ(บ้วนทิ้ง)ในขณะถือศีลอด” (บันทึกโดย อิบนฺอะบีชัยบะฮฺ และอัลบัยฮะกีย์)

สำนวนของท่านบุคอรีย์ ท่านอิบนุ อับบาสกล่าวว่า "ไม่เป็นไรจะชิมอาหาร และ (หรือชิม) สิ่งหนึ่งเพื่อที่เขาต้องการจะซื้อ (จากนั้นก็บ้วนทิ้ง)" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ ..บุคอรีย์ เลขที่ 617)

ท่านอิบนุ ตัยมิยะฮฺกล่าวว่า
"การดมกลิ่นหอม หรือสูดกลิ่นหอมเข้าไป ไม่เป็นไรสำหรับผู้ถือศิลอด" ( ดูหนังหนือ "ฟิกฮุสสุนนะฮฺ" เล่ม 1 หน้า 342)

ทั้งนี้โดยมีขอบเขตมิให้อาหารเข้าสู่ลำคอ เมื่อชิมเสร็จก็บ้วนทิ้ง


และศาสนาถือว่าไม่เป็นไรสำหรับผู้ถือศิลอดเมื่อประสบกับสิ่งที่หลี่ยงไม่ได้ หรือหลีกเลี่ยงลำบาก ไม่ทำให้เสียศิลอด เช่น การกลืนน้ำลาย กลืนเสมหะเข้าไป หรือหรือการสูดดมควันอาหาร เป็นต้น

กรณีอื่นที่ไม่ทำให้เสียศิลอด

-การที่เลือดออกตามร่างกายไม่ทำให้เสียศีลอด ยกเว้นเลือดประจำเดือนเท่านั้นที่ทำให้เสียศีลอดดังนั้นสามารถถือศีลอดต่อไปได้

-การบีบสิว

-การตัดเล็บ  , ตัดผม

เป็นต้น
. والله أعلم







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น