ขณะเดินทางผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอด |
ผู้ที่ศาสนาได้ผ่อนผันไม่ต้องถือศิลอดในเดือนรอมฎอน แต่จำเป็น(วาญิบ) ที่เขาจะต้องถือศิลอดชดใช้แทนในวันอื่นๆ พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
وَمَن كَانَ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ يُرِيدُ اللّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ
ความว่า “และผู้ใดป่วยหรืออยู่ในระหว่างเดินทาง ก็ให้เขาถือศีลอดใช้ในวันอื่น อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกแก่พวกเจ้า และพระองค์ไม่ประสงค์ความลำบากแก่พวกเจ้า” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บากอเราะฮฺ 2:185)
จากอัลกุรอาน ศาสนาได้ผ่อนผันบุคคลต่อไปนี้ไม่จำต้องถือศิลอด หากไม่มีความสามารถ แต่ต้องไปชดใช้แทนในวันอื่น กล่าวคือ
(1) ผู้ที่กำลังเดินทางไกล
ศาสนาเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางเลือกระหว่างการถือศีลอด หรือจะไม่ถือศีลอด แล้วไปชดใช้ในวันอื่นที่สามารถถือศิลอดได้แทน
นั้นหมายความว่า ผู้ใดอยู่ขณะเดินทางไกลในเดือนรอมฎอน ผู้นั้นชอบที่จะศิลอด หรือไม่ก็ได้ ซึ่งผู้ที่ถือศิลอดขณะเดินทาง หรือไม่ถือศิลอดขณะเดินทาง มิได้ถูกตำหนิแต่อย่างใด แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ที่ไม่ได้ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ขณะเดินทาง ต้องถือสิลอดชดใช้ในภายหลัง และหากผูใดมีความอ่อนแอ หากละศิลอดจะเป็นการดี
จากหลักฐานหะดิษ
عن أنس قال : كنا نسافر مع النبي صلى الله عليه وسلم فلم يعب الصائم على المفطر وا المفطر على الصائم .
รายงานจากอะนัสอิบนมาลิก แจ้งว่า “ฉันได้เดินทางพร้อมกับท่านร่อซูลุลลอฮฺในเดือนรอมฎอน ผู้ถือศีลอดมิได้ตำหนิผู้ละศีลอด และผู้ละศีลอดมิได้ตำหนิผู้ถือศีลอด” ( บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)
จากหลักฐานหะดิษ
ฮัมซะฮฺ อิบนฺอัมร อัลอัสละมีย์ ได้ถามท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า
"ฉันจะถือศีลอดในขณะเดินทางหรือไม่ ? เพราะเขาเป็นคนชอบถือศีลอดมาก ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตอบแก่เขาว่า “จงถือศีลอดหากท่านประสงค์ และจงละศีลอดหากท่านประสงค์”(บันทึกโดย : อันบุคอรียฺและมุสลิม)
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إن الله يحب أن تؤتى رخصه كما يكره أن تؤتى معصيتة
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงชอบที่จะให้สิ่งที่เป็นที่อนุมัติถือปฏิบัติกัน เสมือนกับที่พระองค์ทรงชอบที่จะให้ความตั้งใจมั่นเป็นที่ปฏิบัติกัน” (บันทึกโดย : อิบนฺฮิบบาน และอัลบัซซาร)
รายงานจากอะบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ แจ้งว่า
“บรรดาศ่อฮาบะฮฺมีความเห็นว่า ผู้ใดพบว่าเขามีความแข็งแรงแล้วถือศีลอดก็เป็นการดี และผู้ใดพบว่าเขามีความอ่อนแอแล้วการละศีลอดก็เป็นการดี” (บันทึกโดย : อัตติรมีซีย์ และอัลบ่ะฆอวีย์)
รายงานญาบิรเล่าว่า ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لَيْسَ مِنَ البِّرِّ الصِّيَامُ فِيْ السَّفَرَ ) أخرجه البخاري ومسلم عن جابر
ความว่า “ไม่เป็นความดีเลยที่จะถือศีลอดในขณะเดินทาง”(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม)
พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า
أُخَرَ يُرِيدُ اللّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَلاَ يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ
ความว่า “อัลลอฮฺทรงประสงค์ความสะดวกง่ายดายแก่พวกเจ้า และไม่ทรงประสงค์ความยากลำบากแก่พวกเจ้า” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บากอเราะฮฺ 2:185)
.........
(2) ผู้ป่วยที่มีหวังหาย
อัลลอฮฺทรงอนุญาตให้คนป่วยละศีลอดได้ เป็นความเมตตาและเป็นการผ่อนผันให้แก่เขา คนป่วยที่อนุญาตให้ละศีลอดได้นั้น คือผู้ป่วยเมื่อถือศีลอดอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต หรือทำให้การเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น หรือกลัวว่าการฟื้นจากการป่วยจะล่าช้าไป
สำหรับผู้ที่มิได้ป่วย แต่กลัวว่าหากถือสิลอดจะทำให้ป่วย ก็ให้ละศิลอดได้ เหมือนเช่นเดียวกับกับคนป่วย อย่างผู้ที่หิวหรือกระหายจัด กลัวว่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย
والله أعلم
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น