อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ละหมาดอิสติคอเราะฮฺ ละหมาดขอทางเลือกที่ดีกับเรา


ละหมาดอิสติคอเราะฮฺ


ละหมาดอิสติคอเราะฮฺ คือ ละหมาดขอทางเลือกที่ดีกับเรา หรือขออัลลอฮฺให้เลือกสิ่งที่ดีให้แก่เรา ละหมาดเพื่อขอความโปรดปรานจากอัลลอฮฺให้พระองค์ทรงประทานความจำเริญในกิจการที่บุคคลหนึ่งจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นที่อนุมัติแก่เขา แต่สิ่งนั้นยังไม่แจ่มแจ้ง หรือยังไม่แน่ใจว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดีสำหรับเขา อันชอบด้วยศาสนาบัญญัติและเป็นไปตามวิถีทางของอัลลอฮฺ เช่น
เมื่อคนหนึ่งคนใดจะทำงานที่ใหญ่โต หรืองานสำคัญ , เปลี่ยนงาน , แต่งงาน, เลือกคู่ , ย้ายที่อยู่ (ฮิจเราะฮฺ อพยพย้ายหนีจากสิ่งไม่ดี) เลือกคณะ, เลือกสาขา , จะเดินทาง, เลือกทางใดไม่ได้
หรือจะขอให้ปัญหาของเราหมดไปก็ย่อมได้ ก็ให้ปรึกษาขอแนวทางจากพระเจ้า ดีที่สุดเหมาะสมที่สุด เพราะพระองค์ทรงอำนาจ ทรงรู้ยิ่ง

รายงานจากท่านญาบิรฺเล่าว่า "ท่านรสูลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยสอนให้เราละหมาดอิสติคอเราะฮฺในกิจการทั้งหลายเหมือนอย่างที่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สอนให้เราอ่านบทหนึ่งของอัลกุรอาน ท่านรสูล กล่าวว่า เมื่อบุคคลหนึ่งตกลงใจจะกระทำสิ่งหนึ่ง ก็ให้เขายืนละหมาดสองร็อกอะฮฺนอกเหนือจากละหมาดฟัรฎู ครั้นละหมาดเสร็จให้เขาวิงวอนว่า "โอ้อัลลอฮฺ ฉันขอความดีงามต่อพระองค์จากความรอบรู้ของพระองค์ และฉันขอพลัง(ให้ปฏิบัติงานนั้นได้)ด้วยอนุภาพของพระองค์ และฉันขอความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่จากพระองค์แแท้จริงพระองค์ผู้ทรงเดชานุภาพ แต่ฉันหามีอานุภาพไม่ พระองค์ทรงรอบรู้ขณะที่ฉันหารอบรู้ไม่ เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่งในพ้นญาณวิสัยทั้งมวล โอ้อัลลอฮฺ หากพระองค์ทรงตระหนักดีว่า กิจการนี้ดีสำหรับฉัน(ทั้ง) ในด้านศาสนาของฉัน และการเป็นอยู่ของฉัน และในบั้นปลายแห่งกิจการของฉัน(หรือท่านกล่าวว่าในสภาพปัจจุบันแห่งกิจการของฉันและในอนาคตของมันด้วย ) ได้โปรดกำหนดมันแก่ฉัน และให้เป็นที่ง่ายดายแก่ฉัน และทรงโปรดอำนวยความจำเริญแก่ฉันด้วย แต่หากพระองค์ทรงตระหนักดีว่า กิจการนี้เป็นที่ชั่วช้าร้ายสำหรับฉัน ในด้านศาสนาของแัน ในด้านการเป็นอยู่ของฉัน และบั้นปลายแห่งกิจการของฉัน พระองค์ทรงโปรดหันห่างมันออกไปจากฉัน และทรงโปรดหันห่างนออกไปจากมันและทรงโปรดทำให้ฉันพอใจต่อสิ่งนั้นแก่ฉัน ไม่ว่าจากหนไหนก็ตาม แล้ทรงโปรดให้ฉันพอใจต่อสิ่งนั้นด้วยเถิด)   เขาผู้เล่าได้กล่าวว่า และท่านรสูลได้เอ่ยความต้องการของท่านรสูล(เมื่อกล่าวถึงบทนี้"
(หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโโยบุคอรี หะดิษเลขที่ 1162)

ซุนนะฮฺให้ละหมาดอิสติคอเราะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺ ซึ่งจะละหมาดเวลาใดก็ได้ แต่ถ้าจะละหมาดในช่วง ท้ายของค่ำคืน (ราวๆตีสาม-ก่อนละหมาดซุบฮฺ )ก็ถือว่าอนุญาต
เพราะในช่วงเวลานั้น ท่านร่อซูลระบุว่าเป็นช่วงเวลาที่ถูกตอบรับดุอาอฺ

คลิปเสียงดุอาอฺอิสติคอเราะฮฺ



เมื่อละหมาดอิสติคอเราะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺ ก่อนให้สล่าม (เป็นทัศนะชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺที่ใหดุอาอฺอิสติคอเราะฮฺก่อนสลาม)หรือหลังให้สล่าม(ซึ่งตามหะดิษข้างต้นที่ว่า...เมื่อบุคคลหนึ่งตกลงใจจะกระทำสิ่งหนึ่ง ก็ให้เขายืนละหมาดสองร็อกอะฮฺนอกเหนือจากละหมาดฟัรฎู ครั้นละหมาดเสร็จให้เขาวิงวอนว่า...") ให้กล่าวคำวิงวอนต่อไปนี้


"อัลลอฮุมมะ อินนี อัสตะคีรุกะ บิอิลมิกะ"
โอ้อัลลอฮฺ ด้วยความรอบรู้ ของพระองค์ ข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ได้ทรงเลือก

"วะอัสตักดิรุกะ บิกุดร่อติกะ"
และด้วยมหาอำนาจของพระองค์ ข้าพระองค์ขอพึ่งพระองค์

"วะอัสอะลุกะ มินฟัฎลิกั๊ลอะซีม"
และข้าพระองค์วิงวอนต่อพระองค์จากพระมหากรุณาอันใหญ่หลวงของพระองค์ (ให้เปิดใจเพื่อคุณธรรมความดีด้วยเถิด)

"ฟะอินนะกะ ตักดิร วะลาอั๊กดิร"
แน่แท้พระองค์ทรงมหาอำนาจ ข้าพระองค์ไม่มีอำนาจใดๆเลย

"วะตะอฺละมุ วะลาอะอฺลัม"
พระองค์ทรงรอบรู้ยิ่ง ส่วนข้าพระองค์ไม่มีความรู้อะไรเลย

"วะอันตะ อั๊ลลามุ้ลฆุยู๊บ"
พระองค์ทรงไว้ซึ่งความรอบรู้ยิ่ง ในสิ่งเร้นลับทั้งหลาย

"อัลลอฮุมมะ อินกุนตะ ตะอฺละมุ อันนะฮาซัลอัมร่อ"
โอ้ อัลลอฮฺ หากพระองค์ทรงทราบว่านี้...(กล่าวชื่อของงาน เป็นภาษาใดก็ได้)

"คอยรุนลี ฟีดีนี วะมะอาชี วะอากิบะติ อัมรี"
เป็นส่วนดีแก่ข้าพระองค์ ในการศาสนาของข้าพระองค์ และในการครองชีพ ของข้าพระองค์ และในอวสานแห่งงานของข้าพระองค์แล้ว

"ฟักดิรฮุลี วะยัส สิรฮุลี ษุมมะบาริก ลีฟีฮิ"
ดังนั้นขอพระองค์กำหนดงานนั้นให้ข้าพระองค์และให้มันสะดวก ง่ายดายแก่ข้าพระองค์แล้วขอประทานความศิริมงคลในงานนี้ ให้แก่ข้าพระองค์ด้วย

"วะอินกุนตะ ตะอฺละมุ อันนะฮาซัล อัมร่อ"
แต่ถ้าพระองค์ทรงรู้ว่างานนี้... (กล่าวชื่อของงาน เป็นภาษาใดก็ได้)

"ชัรรุนลี ฟีดีนี วะมะอาชี วะอากิบะติอัมรี"
เป็นผลร้ายแก่ข้าพระองค์ ในการศาสนาของข้าพระองค์ และ
ในการครองชีพของข้าพระองค์ และในตอนสุดท้ายแห่งงานของข้าพระองค์แล้ว

"ฟัศริฟฮุ อันนี วัศริฟนี อันฮุ"
ขอพระองค์ได้ทรงโปรดให้งานนี้ หลีกพ้นไปจากข้าพระองค์ด้วย และขอให้ ข้าพระองค์รอดพ้นจากนี้ด้วยเถิด

"วักดิรลิยัลค็อยร่อ ฮัยษุกานะ "
และขอพระองค์ทรงบันดาลความดีให้แก่ข้าพระองค์ ไม่ว่าสถานใด

"ษุมมัรฎินี บิฮี "
แล้วขอได้ทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ข้าพระองค์ในงานนั้นๆด้วย

---ดุอาอฺบทนี้ถ้ากล่าวเป็นภาษาอาหรับก็ดี ถ้าจะกล่าวเป็นภาษาไทยก่อนสลามในละหมาดก็ได้ ในทัศนะที่ถูกต้อง เมื่อขอดุอาอฺบทนี้แล้วก็ให้ดำเนินกิจกรรมที่ได้ขอดุอาอฺ เพื่อรับคำแนะนำจากอัลลอฮฺ ถ้าหากเรื่องนั้นมีความสำเร็จ อัลลอฮฺจะอำนวยความสะดวกและให้มันราบรื่น แต่ถ้าหากไม่เป็นการดีก็จะพบอุปสรรคขัดขวางกิจกรรมนั้น

---ไม่อนุญาตให้เจาะจงอ่านสูเราะฮฺ หรืออายะฮฺอัลกุรอาน ภายหลังอ่านสูเราะฮฺฟาติหะฮฺจบแล้ว

---ละหมาดอิสติคอเราะฮฺนั้นไม่อนุญาตให้กระทำซ็ำแล้วซ็ำอีก เพราะท่านรสูล กล่าวว่า "เมื่อบุคคลหนึ่งตกลงใจจะกระทำสิ่งหนึ่ง"


ท่านอิมามนะวะวีย์กล่าวไว้ว่า "หลังจากละหมาดอิสติคอเราะฮ์เสร็จแล้ว ควรลงมือทำงานในสภาพที่เขารู้สึกสลายใจ โดยไม่ควรปักใจอย่างหนึ่งอย่างใด จากนั้นให้วิงวอนในละหมาด(อื่นๆ) หากแต่ขอให้ผู้วิงวอนนั้นถอดความคิดของเขาโดยสิ้นเชิง แล้วแสวงหาความรู้จากพระองค์อัลลอฮฺจึงจะถุกต้อง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ขอความดีจากอัลลอฮฺ แต่จะถือว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความจริงใจในการแสวงหาความดี อีกทั้งยังเป็นการสลัดตนเองออกจากความรอบรู้ และความสามารถที่มีอยู่ของพระองค์อัลลอฮฺ"

---โปรดเข้าใจว่าการละหมาดอิสติคอเราะฮฺสำหรับสิ่งที่เป็นวาญิบหรือซุนนะฮฺ ไม่อนุญาตให้กระทำ เช่น จะบริจาคทานก็ไม่ต้องละหมาดอิสติคอเราะฮฺ แต่ถ้าหากมีสองคนที่ขัดสนและเราอยากจะให้แก่คนหนึ่งจากสองคนนี้ ก็ละหมาดอิสติคอเราะฮฺได้ โดยวิงวอนด้วยดุอาอฺอิสติคอเราะฮฺและบริจาคให้แก่ผู้ที่เราต้องการบริจาค หนึ่งในสองคนนั้น เพราะฉะนั้นเรื่องที่ควรละหมาดอิสติคอเราะฮฺ ก็คือเรื่องที่ไม่เป็นวาญิบหรือซุนนะฮฺ และเช่นเดียวกันเรื่องที่เป็นหะรอมหรือมักโรหฺ ก็ไม่อนุญาตให้ละหมาดอิสติคอเราะฮฺเช่นเดียวกัน
والسلام

1 ความคิดเห็น:

  1. ---โปรดเข้าใจว่าการละหมาดอิสติคอเราะฮฺสำหรับสิ่งที่เป็นวาญิบหรือซุนนะฮฺ
    คำถามคือ การเลือก การงานเป็นซุนนะฮ หรือปล่าวครับ ^.^

    ตอบลบ