อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้อคิดสำหรับผู้ตักเตือนหรือถูกตักเตือนว่าทำบิดอะฮ์


ให้ความขัดแย้งเรื่องบิดอะฮฺสลายไปกับพี่น้องมุสลิม
                  หากเรายอมรับว่าความขัดแย้งและความแตกแยกเป็นเรื่องเลวร้ายและต้องการให้ความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่อง "บิดอะฮฺ"(อุตรกรรมขึ้นมาใหม่ในเรื่องศาสนา) สลายไป หรือบรรเทาลงบ้าง ก็ขอเพียงแต่ให้ทุกคนหยุดตั้งสติคิด และทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่กับคำว่า "บิดอะฮฺ" ไม่ว่าจะเป็นผู้คัดค้านหรือผู้ปฏิบัติจะต้องถือหลักปฎิบัติดังต่อไปนี้ คือ


ผู้ถูกตักเตือนว่าทำบิดอะฮฺควรจะเข้าใจว่าผู้ตักเตือนเขามีเจตนาดี

ผู้ที่ตักเตือนว่าทำบิดอะฮฺ ควรจะเข้าใจด้วยว่า ผู้ที่ตักเตือนเราเขามีเจตนาดีต่อเรา และเป็นการปฏิบัติที่มุสลิมที่ดีของเขาตามคำสั่งของพระองค์อัลลอฮฺ ที่ให้มุสลิมทุกคน ต้องยับยั้งมุงกัรฺหรือเรื่องต้องห้ามตามความสามารถ (แม้จะเป็นมุมมองของเขาที่แตกต่างกับเราก็ตาม) ดังนั้น จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่เราจะไปออกอาการโมโหโกรธา โกรธเคืองหรือแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้หวังดีต่อเราและทำหน้าที่มุสลิมที่ดีของเขา เพราะพฤติกรรมดังกล่าวไม่ว่าเราจะเป็นชาวบ้านธรรมดา หรือผู้รู้ย่อมส่อให้เห็นว่า เราเป็นคนอวดดี เจ้าอารมณ์ ไร้เหตุผลและความคิดคับแคบในเรื่องศาสนาโดยเฉพาะปัญหาขัดแย้ง และในความเป็นจริงถ้าหากจะพูดกันอย่างใจเป็นธรรมแล้ว ทุกเรื่องที่ถูกกล่าวว่า "เป็นบิดอะฮฺ" และมุมมองที่ขัดแย้งกันนั้น ผู้ที่กำลังปฏบัติสิ่งนั้นอยู่ก็คือผู้ที่ตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ "ล่อแหลมและเสี่ยง" ต่อความผิดพลาด มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งถึง 3 เท่านตัว ทั้งนี้ เพราะข้อขัดแย้งทุกเรื่องในปัญหาบิดอะฮ์ ย่อมวนเวียนอยู่ในประเด็นที่ว่า สิ่งนั้นเป็นบิดอะฮฺดีหรือบิดอะฮฺเลว ซึ่งความหมายก็คือ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า สิ่งนั้นเป็นบิดอะฮฺ แต่มาขัดแย้งกันในประเด็นที่ว่า มัน "ดี" หรือ "เลว" เท่านั้น

เมื่อทั้งสองฝ่ายยอมรับและเห็นพ้องกันว่าเรื่องที่กำลังขัดแย้งกันนั้น เป็นบิดอะฮฺ หากจะเปรียบเทียบกันในเชิงคณิตศาสตร์ ก็เท่ากับว่าฝ่ายที่ปฏิบัติหรือถือว่าสิ่งนั้นเป็นบิดอะฮฺดี เสียเปรียบไปแล้วครึ่งหนึ่ง เพราะท่านรสูลุลลอฮฺศ็อลลัลฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว(ซึ่งคล้ายกับเป็นการ "ให้น้ำหนัก" ฝ่ายที่เตือน) ไว้ว่า "ทุกๆบิดอะฮฺ คือ ความหลงผิด (เลว)" ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง หรือ 50 %ที่เหลือ คือความขัดแย้งที่ว่า สิ่งนั้นเป็นบิดอะฮฺดี ดังความเข้าใจของเรา หรือบิดะฮฺหลงผิด(เลว , ฎอลาละฮฺ) ดังคำเตือนของเขา ข้อนี้เราก็มีความหวังแค่ 25 % เป็นอย่างสูง ทั้งนี้เพราะเรายังหาข้อพิสูจน์ใดๆมายืนยันให้แน่ชัดไม่ได้เลยว่า "สิ่งนั้น" เป็น "บิดอะฮฺ" ดังที่เราเข้าใจ เพราะนอกจากความเข้าใจดังกล่าวของเราจะไปค้านกับหะดิษท่านนบีแล้ว เราก็ไม่มีหลักยึดเหนี่ยวอื่นใดอีก นอกจากสายเชือกเปราะบางเพียงเส้นเดียว  คือทัศนะของนักวิชาการบางท่านที่บอกว่า สิ่งนั้นเป็นบิดอะฮฺดี ซึ่งทัศนะของนักวิชาการไม่ว่านักวิชาการระดับไหนก็เป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดาซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ต่างกับเขา ผู้ตักเตือนเรา ที่มีหลักฐานอันแข็งแกร่งและมั่นคงค้ำยันอยู่่นั้นคือ หะดิษของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม บทนั้นที่กล่าวว่า "ทุกๆบิดอะฮฺ คือความหลงผิด(เลว , ฎอลาละฮฺ)" และคำพูดหรือหะดิษที่ถูกต้องของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิวะซัลลัม นันย่อมปราศจากความผิดพลาดและมีน้ำหนักมากกว่าทัศนะของนัวิชาการทุกท่านแน่นอน เพราะฉะนั้นในสัดส่วนความถูกต้องที่ีอยู่ทั้ง 100 % ของความขัดแย้งในเรื่องบิดอะฮ์ดี-เลว เราที่เชื่อเรื่องบิดอะฮ์ดี มีสิทธิ์ถูกต้องอย่างมากไม่เกิน 25% เท่านั้น ส่วนอีก 75 % คือ "จุดเสี่ยง" อย่างที่กลาวมาแล้ว

ผู้ตักเตือนผู้อื่นเรื่องบิดอะฮฺต้องมีเจตนาดีและมีความบริสุทธิ์ใจ
บิดอะฮฺ


ผู้ตักเตือนผู้อื่นเรื่องบิดอะฮฺ แม้จะมั่นใจว่่าเราพุดในเรื่องที่ถูกต้องก้ไม่สมควรใช้วาจาก้าวร้าวรุนแรงหรือใช้วิธีการประมาณอีกฝ่ายหนึ่งในการเผยแผ่ความจริง (ตามความเข้าใจของเรา) ซึ่งเราไม่มีสิทธิ์ใดๆ เลยที่จะกระทำเช่นนั้น ทว่าควรใช้ความสุภาพนิ่มนวล เจตนาดีและความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้งในการตักเตือน แทนการพูดประณามและโจมตีเพื่ควมสะใจผู้ฟังบางท่าน ทั้งนี้เพื่เป็นการปฏิบัติตามหลักการเผยแพร่ศาสนาตามแนวทางที่พระองค์ัอัลลอฮฺได้ทรงสั่งไว้นั้นคือ

"จงเรียกร้องเชิญชวนไปสู่พระผู้อภิบาลของเจ้า ด้วยวิทยาปัญญาและการตักเตือนที่ดี" (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺอัน-นะหฺลฺ อายะฮิที่ 125) 
 เหนือสิ่งอื่นใดต้องตระหนักและสำนึกในสิทธิและหน้าที่ของตนเองอยู่เสมอว่าในฐานะของนักวิชาการหรือผู้รู้นั้น
***"เรามีหน้าที่สอนคนแต่ไม่มีหน้าที่ด่าคน"***
ทำความเข้าใจสลายความขัดแย้ง


การให้เกียรติในการใช้ดุลยพินิจและเลือกปฏิบัติ 


จะต้องให้เกียรติในดุลยพินิจและความดำริชอบของผู้ปฏิบัติสิ่งที่เรามองว่าเป็นบิดอะฮฺ ขณะที่เขามองว่าไม่ใช่และจะต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า "ข้อเท้จจริงของสิ่งนี้ ส่วนมาก คือความขัดแย้งของนักวิชาการ" แล้วเราก็ไม่มีสิทธิใดๆเลยที่จะไปประณามหรือไปบังคับ "ความคิด" ผู้ใดให้ต้องคล้อยตามความเชื่อของเรา หากเมื่อเขาปฏิบัติตามมุมมองของเขาที่แตกต่างกับเราอันเป็นทัศนะของนักวิชาการอีกด้านหนึ่งก้ย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขาอย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้น เมื่อเราได้ตักเตือนผู้ใดในสิ่งที่เรามองว่าเป็นบิดอะฮฺแล้ว เขายังไม่ยุติก็แสดงว่า เขาพร้อมแล้วที่จะรับผิดชอบในการกระทำของเขาทุกอย่าง ต่อพระองค์อัลลอฮฺ  ศุบฮานาวูว่าตาอาลา ด้วยตัวของเขาเอง ไม่ว่าจะลงนรกขุมไหนก็ตาม

ต้องมั่นใจที่จะยอมรับความจริงและเปลี่ยนแปลงตัวเอง


ทุกฝ่ายหากมั่นใจที่จะ "ยอมรับความจริง" ในปัญหาว่าสิ่งใดเป็นบิดอะฮฺหรือไม่ ก็ต้องกล้าหาญพอที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการปลูกฝังความยำเกลงต่อพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูว่าตาอาลา ให้มากขึ้น และจะต้องมีความบริสุทธิ์ใจ ในการตรวจสอบอย่างจริงจังเกี่ยวกับเรื่องนี้จากหลักฐานที่ถูกต้อง ทั้งจากอัล-กุรอาน และจากอัล-หะดิษ และจาก "กฎเกณฑ์" อันเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ แต่มิใช่ค้นหาจาก"ทัศนะ" ของนักวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทัศนะสอดคล้องกับความต้องการเพียงฝ่ายเดียว  
โดยไม่ต้องไปกังวล พะวงหรือตะขิดตะขวงใจว่า ในอดีต ตนเองเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถุกกล่าวหาว่าเป็นบิดอะฮฺในฐานะผู้คัดค้านหรือผู้เคยปฏิบัติหรือเคยมีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรมาก่อน
 แต่ให้ตั้งปณิธานว่า ปัจจุบันนี้ ขณะนี้และเดี๋ยวนี้ เราพร้อมแล้วที่จะยอมรับความจริงตามหลักฐานและกฎเกณฑ์ของนักวิชาการนั้น หากปฏิบัติได้ดังที่กล่าวมานี้ อินชาอัลลอฮฺ เรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายไป อย่างคาดไม่ถึงก้ได้ ด้วยความเมตตาต่อพระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานาฮูว่าตาอาลา

จะอย่างไรก็ตามดังได้กล่าวมาแล้วว่าเรื่องของบิดอะฮฺเป็นเรื่องที่ "ละเอียดอ่อน" เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านวิชาการซึ่งขัดแย้งกันมายาวนาน และทั้งในด้านผลกระทบต่อความรู้สึกอันอ่อนไหวของพี่น้องมุสลิมโดยทั่วๆไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ว่าผู้ซึ่งพูดหรือเขียนเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮฺนี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถเก็บรายละเอียดของเรื่องนี้ได้อย่างถุกต้องทั้งหมดโดยปราศจากผู้โต้แย้งหรือให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้

والله ولي التوفيق والهداية

อ.ปราโมทย์ (มะหฺมูด) ศรีอุทัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น