วาญิบเนียตถือศิดอดตั้งแต่กลางคืนก่อนเวลาละหมาดศุบฮฺ |
การตั้งเจตนาเนียตถือศิลอดฟัรฎู
เงื่อนไข(หุก่ม) ที่เป็นวาญิบในการถือศิลอด(บวช ,ปวช (รากศัพท์บาลี-สันสกฤต),ปอซอ ,ปัวซอ(มาเลย์) อัศเซาม์ ,อัศ-ศิยาม(อหฺรับ)) สำหรับมุสลิมทุกคนผู้ที่ถือศิลอดนั้นคือ การตั้งเจตนารมณ์ หรือมีการเนียตตั้งแต่กลางคืน ก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ (สำหรับถือศิลอดฟัรดู)
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซํลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดที่ไม่มีเจตนารมณ์ถือศิลอด(ฟัรฎู)ก่อนละหมาดศุบฮฺ การถือศิลอดของเขา(วันนั้น) ใช้ไม่ได้(เป็นโมฆะ)" (หะดิษเศะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยอบูดาวูด หะดิษเลขที่ 2456)
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซํลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดที่ไม่ตั้งเจตนารมณ์ถือศิลอด(ฟัรฎูู) ตั้งแต่กลางคืน เช่นนี้การถือของเขาใช้ไม่ได้(เป็นโมฆะ)" (หะดิษเศาะเฮียะฮฺ...บันทึกโดยนาสาอีย์ หะดิาเลขที่ 2346)
ดังนั้นทุกๆการถือสิลอดฟัรฎู ไม่ว่าจะเป็นการถือศิดอดในเดือนรอมาฎอน(شهر رمضان المبارك) หรือการถือศิลอดฟัรฎูอื่นๆ เช่น การถือสิลอดเนื่องจากบนบาน เช่นนี้วาญิบสำหรับผู้ถือศิลอดจะต้องตั้งเจตนาเนียต การถือศิดอดฟัรฎูนั้นในช่วงกลางคืนก่อนเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺ หากไม่มีการตั้งเจตนาเนียตในช่วงกลางคืน ถือว่าการถือศิลอดฟัรฎูของเป็นโมฆะ วาญิบที่เขาจะชดใช้ในวันอื่น
อนึ่งการตั้งเจตนาเนียตในการถือศิลอด นั้นเกิดขึ้นภายในจิตใจไม่ใช่การกล่าวออกมา คือ การตั้งใจ การจงใจ หรือการมุ่งหมาย ซึ่งสภาพเช่นนั้น มีความรู้สึกนึกคิด สภาพสติปัญญาปกติ ไม่ได้เกิดจาการเพ้อฝัน หรือละเมอ หรือจิตไม่สมประกอบในขณะนั้นแต่อย่างใด
อมี รุลมุ๊มินีน อบู หัฟศฺ อุมัร อิบนุลค็อฏฏ๊อบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า .
"إِنَّمَاالأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ ، وَإِنَّمَالِكُلِّ امْرِئٍ مَانَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هُجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيْبُهَا أَوِامْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا فَهِجْرَتُهُ إِلََى مَاهَاجَرَإِلَيْهِ". (البخاري ومسلم) .
ความว่า
“แท้ ที่จริง การงานต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งใจ และแท้ที่จริง แต่ละคนจะได้รับตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ ดังนั้น ใครที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพรพะองค์ การอพยพของเขาก็จะเป็นไปเพื่ออัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์ และผู้ใดที่การอพยพของเขา เป็นไปเพื่อโลกนี้ ที่เขาจะได้มัน หรือสตรีเพศที่เขาต้องการจะแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะเป็นไปตามนั้น”.
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์ บันทึกหะดิษโดยบุคอรียฺ หะดิษเขที่ 1 มุสลิม หะดิษเลขที่ 3530 ติริมีซีย์ หะดิษเลขที่ 1571 นะสาอีย์ หะดิาเลขที่ 73 และอบูดดาวูด หะดิษเลขที่ 1882)
### ส่วนบุคคลใดกล่าวที่กล่าวคำเหนียต(ตะลัฟฟุซ)ออกมาเป็นคำพูด ถือว่าการกล่าวคำเหนียตเช่นนี้ ไม่มีหลักฐานทางศาสนามารองรับ ไม่พบตัวบทหลักฐานในเรื่องนี้ จากคำสอน หรือการกระทำของท่านรอสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยไม่มีคำรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นหะดิษเศาะเฮียะฮ์ หรือฎออิฟ ก็ตาม ตลอดจนเหล่าศอฮาบะฮ์ของท่านนบีก็ไม่มีใครรู้และปฏิบัติในเรื่องนี้ รวมถึงบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ด้วย โดยเฉพาะท่านอิหม่ามชาฟีอี ที่คนบ้านเราประกาศอย่างหนักแน่นว่าจะถือตาม ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยสั่งสอนบรรดาสิษย์ของท่านให้กล่าวคำเหนียต วาญิบต้องละทิ้งเด้ดขาด
การเจตนาเนียตถือศิลอดสุนนะฮฺ
สำหรับการถือศิลอดสุนนะฮฺต่างๆนั้น ไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องตั้งเจตนาเนียตในช่วงกลางคืน ก่อนเวลาละหมาดศุบฮฺ แต่อย่างใด
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวะศัลลัม เข้ามาหาแันในวันหนึ่ง พลางกลาวว่า โอ้อาอิชะฮฺ เช้านี้มีอะไรทานบ้าง? นางเล่าว่า นางตอบว่า โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ เช้านี้ไม่มีอะไรทานเลย ท่านรสูล ตอบว่า วันนี้ฉันถือศิลอด" (หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยมุสลิม หะดิษเลขที่ 2770)
จากหะดิษ บ่งชี้ว่า การถือศิลอดสุนนะฮฺทั่วไป โดยไม่มีเจตนาถือศิลอดในตอนกลางคืน แต่กลับมีเจตนาจะถือสิลอดหลังเข้าเวลาละหมาดศุบฮฺแล้ว ถือว่าใช้ได้ แต่ผู้นั้นต้องไม่รับประทานอะไรเลยก่อนการตั้งเจตนาถือสิลอดสุนนะฮฺ
***สำหรับที่รสูลกล่าวว่า "วันนี้ฉันถือศิลอด" เป็นเพียงข้อความการแจ้งให้ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ทราบ เพื่อจะได้ไม่ต้องการจัดหาอาหารให้ท่านรสูล ไม่ใช่เป็นการกล่าวคำเหนียตแต่อย่างใด...
والله أعلم
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น