ศิลอด |
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้เคยถูกกำหนดแก่กลุ่มชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัลบะกอเราะฮฺ 183)
شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآَنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ
“เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่คัมภีร์อัลกุรอ่านได้ถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจน เกี่ยวกับทางนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จะจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น” (อัลบะกอเราะฮฺ 185)
ความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ของการถือศีลอดนั้น ก็คือ ผลตอบแทนของการถือศีลอดนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ดังที่ท่านนบีนั้น ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ในฮะดีสบทหนึ่ง มีรายงานมาจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ لَهُ إِلَّا الصِّيَامَ هُوَ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ
“การงานทุกประการของมนุษย์นั้น (จะได้รับผลบุญ) ตามส่วนที่เขาได้กระทำ ยกเว้นการถือศีลอด (ผลตอบแทน) การถือศีลอดนั้นเป็น สิทธิของฉัน และฉันจะตอบแทนเอง…” (บันทึกโดยมุสลิม : 1151 อันนะซาอียฺ : 2216,2217)
แน่นอนเหลือเกินว่าผลบุญของผู้ที่ถือศีลอดนั้นมากมายเหลือเกิน ถ้าหากเขารักษาการถือศีลอดของเขาให้มีความสมบูรณ์ตลอดในแต่ละวัน อีกทั้งการถือศีลอด นั้นเป็นตัวช่วยให้ความผิดที่ผ่านมานั้นก็จะได้รับการอภัยโทษเช่นกัน ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า
مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ
“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา”(บันทึกโดยบุคอรีย์ : 38 มุสลิม : 760)
والله أعلم
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น