อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การฉลองคืนที่สิบห้านิศฟุชะอฺบานไม่มีรูปแบบจากท่านนบี



คืน15นิศฟุชะอฺบานอาจไม่ใช่อย่างที่เราคิด
หากจะมองถึงกิจกรรมหรืออิบาดะฮฺที่มีการยึดปฏิบัติในบ้านเมืองเราในเดือนชะอฺบานนี้แล้ว เราพบว่า มีการปฏิบัติอิบาดะฮฺมากมาย อาทิ มี การอ่านยาซีนในค่ำคืนที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน มีการละหมาดในรูปแบบเฉพาะ และมีการเลี้ยงอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร


นักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้อธิบายถึงคุณค่าของคืนนิศฟุชะอฺบานโดยอ้างหลักฐานจากอัลกุรอานที่ว่า
إِنّا أَنزَلنٰهُ فى لَيلَةٍ مُبٰرَكَةٍ ۚ إِنّا كُنّا مُنذِرينَ ﴿٣
"แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน"
 فيها يُفرَقُ كُلُّ أَمرٍ حَكيمٍ ﴿٤

 "ในคืนนั้นทุก ๆ กิจการที่สำคัญถูกจำแนกไว้แล้ว"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัดดุคอน 44:3-4)

สองอายะฮฺดังกล่าว ยุมฮูรฺอุละมาอฺ(มติส่วนใหญ่ของนักวิชาการ) มีทัศนะว่าคืนอันจำเริญข้างต้น คือคืนลัยละตุลก็อดริ บางท่านกล่าว่าคือคืนนิศฟุชะอฺบาน ซึ่งทัศนะดังกล่าวถือว่าใช้ไม่ได้ เนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า เดือนเราะมะฎอนคือเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนนั้น ซึ่งถือว่าเป้นหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่ชัดเจนแล้วว่าอัลกุรอานถุกประทานในเดือนเราะมะฎอน อีกทั้งสูเราะฮฺอัดดุคอนก้มากล่าวย้ำว่าคืนที่อัลกุรอานถุกประทานเป็นคืนที่มีความจำเริญ ซึ่งมิใช่คืนนิศฟุชะอฺบานแต่อย่างใด

ด้วยทัศนะที่ว่าคืออันจำริญหมายถึงคือ นิศฟุชะอฺบานนี่เอง ทำให้มุสลิมบางคนถึงกับเชื่อว่าคืนดังกล่าวพระองค์อัลลอฮฺทรงกำหนดอายุ ริสกีย์ ความผาสุก และพระองค์จะทรงลบล้างความทุกข์ยากให้หมดไป โดยพยายามทำอิบาดะฮฺตางๆ ทั้งในมัสยิดและบ้าน หรือพยายามอ่านสูเราะฮ์ยาซีนและขอดุอาอ์เพื่อให้พระองค์อัลลอฮฺทรงลบล้างความผิด และขจัดทุกข์ภัยต่าง ให้หมดไปจากชีวิตของตน

อันที่จริงการกระทำข้างต้นไม่มีหลักฐานจากท่านรสูลุลลอฮฺและบรรดาเศาะฮะบะฮิ หรือหลักฐานที่ส่งเสริมให้กระทำ ดังนั้นการกระทำสิ่งังกล่าวจึงถือว่าเป็นโมฆะ และถ้าหากว่ายังมีการกระทำอยู่ถือว่าเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นในศาสนา

ความเป็นมาของการประกอบพิธีกรรมในคืนนิศชะอฺบาน
นิศชะอฺบาน

การประกอบพิธีกรรมในคืนนิศฟุชะอฺบานเกิดเมื่อ ฮ.ศ.448 ที่มัสยิดอัลอักศอ ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฏ็อรฺฏสีย์ได้เล่าไว้ว่า "มีชายผู้หนึ่งที่ชื่อ อิบนุ อบิลหัมรออฺ มุ่งหน้ามายังบัยตุลมักดิส จากนั้นเขายืนละหมาดในคืนนิศฟุชะบานในมัสยิดอัลอักศอ ต่อมาก็มีบุคคลมาละหมาดเป็นมะมูมเขาจากคนหนึ่งเป็นสอง , สาม สี่คน จนกระทั้งมีจำนวนมาก ครั้นพอในปีถัดมาเขาก็มาละหมาดพร้อมกับมะมูมจำนวนมากมาย จากนั้นการกระทำดังกล่าวได้แพร่กระจายไปตามมัสยิดต่างๆ จนกระทั่งขจรขจายไปทั่วประเทศ สุดท้ายเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปสำหรับนักทำอิบาดะฮฺ
(หนังสือ ดุรฺเราะตุนนาศิฮีน หน้า 220)

ส่วนในเมืองไทยเราก็มีการประกอบพิธีกรรมในคืนนิสฟุชะอฺบาน(คืนที่ 15)ด้วยเช่นกัน โดยมีละหมาดสองร้อกอะฮฺ ภายหลังละหมาดมัฆริบเสร็จแล้ว ในร็อกอะฮฺแรก อ่านฟาติหะฮฺ และสูเราะฮฺอัลกาฟิรูน ส่วนร็อกอะที่สอง อ่านฟาติฮะฮฺ และสูเราะฮฺอัลอิคลาศ จากนั้นก็ให้สลาม
 ภายหลังละหมาดเสร็จแล้วให้อ่านสูเราะฮฺยาซีน หนึ่งจบ ครั้นอ่านเสร็จให้ขอดุอาอฺต่อพระองค์อัลลอฮฺให้มีอายุยืนเพื่อทำอิบาดะฮฺและภัคดีต่อพระองค์อัลลอฮฺต่อไป

ครั้นขอดุอาอ์เสร็จแล้วก็ให้อ่านสูเราะฮฺยาซีนจนจบอีกเป็นครั้งที่สอง อ่านจบแล้วก็ให้ขอดุอาอ์เพิ่มพูนริซกีย์(ปัจจัยยังชีพ) เพื่อเป็นเสบียงในการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์อัลลอฮฺ

ครั้นขอดุอาอ์เสร็จแล้วก็ให้อ่านสูเราะฮฺยาซีนจนจบอีกเป็นครั้งที่สาม อ่านจบแล้วก็ให้ขอดุอาอ์ให้เป็นบุคคลที่ยึดมั่นในอีมานของพระองค์

ครั้นขอดุอาอ์เสร็จแล้ว ก็ยังเสริมให้อ่านดุอาอ์เฉพาะสำหรับคืนนิศฟุชะบานอีก

ดังกล่าวข้างต้นล้วนเป็นสิ่งอุตริกรรมขึ้นใหม่ทั้งสิ้น วาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องออกห่าง และรณรงค์ให้ขจัดสิ่งที่สวนทางกับสุนนะฮฺของท่านนบีอย่างสุดความสามารถ

อนึ่งมุสลิมบางกลุ่มยังคงนิยมละหมาดคืนนิศฟุชะบานอยู่นั้น เป็นเพราะพวกเขาอ้างหะดิษที่ระบุว่า "โอ้ท่านอาลี บุคคลใดที่ละหมาด100ร็อกอะฮฺในคืนนิศฟุชะอฺบานแล้วไซร้ โดยอ่านฟาติฮะฮฺ(หนึ่งจบ) และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศสิบจบในทุกๆร้อกอะฮฺ เช่นนั้นพระองค์อัลลอฮฺจะทรงกำหนดให้แก่เขาทุกๆความต้องการ (ของเขา)"
!!! หะดิษข้างต้น เป็นหะดิษเมาฎููอฺ (หะดิษเก๊)

อีกหะดิษหนึ่ง...

"เมื่อถึงคืนนิศฟุชะบาน เช่นนั้นพวกท่านจงยืนขึ้น (ละหมาดสุนนะฮฺ)ในยามค่ำคืน และพวกท่านจงถือศิลอด(สุนนะฮฺ)ในวลากลางวันเถิด"

หะดิษข้างต้น บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ (หะดิาเลขที่ 1378) ทว่าหะดิษข้างต้น เป็นหะดิษเฎาะอิฟ ญิดดัน (อ่อนหลักฐานอย่างมาก) หรือเป็นหะดิษเมาฎูอฺ (หะดิษเก๊)


การปฏิบัติอิบาดะฮฺในค่ำคืนที่ 15 (คืนนิศฟุชะอฺบาน )

          การอ่านอัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นสูเราะฮฺใดถือว่าเป็นอิบาดะฮฺที่ดีเลิศที่สุดในจำนวนบรรดาซิกิรฺทั้งหลาย ดังที่ท่านอิหม่าม อันนะวะวีย์ ได้กล่าวไว้ว่า “การอ่านอัลกุรอานคือซิกิรที่ดีที่สุด”

         ถึงกระนั้นก็ตามแต่ การอ่านอัลกุรอานไม่ได้มีการกำหนดเจาะจงเวลาเป็นการเฉพาะที่ชัดเจน และมีการกำหนดสถานที่อ่านที่ชัดเจน เช่นเดียวกับการกำหนดเจาะจงอ่านสูเราะฮฺยาซีนในค่ำคืนดังกล่าวเป็นการเฉพาะ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏแบบอย่างจากท่านนบี  และเศาะหาบะฮฺ ถึงแม้ว่าจะมีหะดีษบางส่วนที่กล่าวถึงความประเสริฐในค่ำคืนดังกล่าว แต่หะดีษดังกล่าว ล้วนเป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงและยืนยันถึงความประเสริฐและส่งเสริมให้กระทำดังกล่าวได้ อาทิ หะดีษที่รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ ที่มีความว่า

 “เมือค่ำคืนวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบานได้มาถึง พวกท่านจงลุกขึ้น (ทำอิบาดะฮฺ) ในยามค่ำคืนนั้น และจงถือศีลอดในเวลากลางวันของมัน”  ซึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟอาจถึงขั้นเมาฎูอฺ

(ดู ละฎออิฟ อัลมะอาริฟ ของ อิบนุ เราะญับ และ อัสสิลสิละฮฺ อัฎเฎาะอีฟะฮฺ ของ อัลอัลบานีย์ 2132)



การเจาะจงละหมาดกิยามุลลัยในค่ำคืนวันที่ 15 ชะอฺบาน

         การละหมาดกิยาลุมลัยหรือตะฮัจญุด เป็นอีกอิบาดะฮฺหนึ่งที่ควรส่งเสริมและเป็นหนึ่งในการละหมาดที่ท่านนบี  ไม่เคยทอดทิ้ง และเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนสามารถทำได้ไม่ว่าในคืนใดก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดเจาะจงค่ำคืนใดค่ำคืนหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือเจาะจงละหมาด ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง และการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นมุสตะหับบะฮฺ

         อย่างไรก็ตาม การเจาะจงทำอิบาดะฮฺในค่ำคืนของวันที่ 15 ชะอฺบานเป็นการเฉพาะ เนื่องเพราะเชื่อว่ามีความประเสริฐเหลื่อมล้ำกว่าค่ำคืนอื่นๆ หรือมีความเชื่อว่ามีผลบุญมากมายมหาศาลนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีปรากฏในแบบฉบับของท่านนบี  และเศาะหาบะฮฺ แต่เพื่อความชัดเจนมากขึ้น จึงต้องแบ่งประเด็นการละหมาดกิยามุลลัยหรือตะฮัจญุดในเดือนนี้ออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน

         กรณีที่ 1  กรณีที่ละหมาดเป็นประจำอยู่แล้ว ประจวบเหมาะกับการมาถึงของเดือนชะอฺบาน และประจวบเหมาะกับการมาถึงค่ำคืนที่ 15 ของชะอฺบาน ในกรณีนี้ถือว่าไม่เป็นไร เพราะเป็นการละหมาดที่เคยปฏิบัติอย่างเป็นกิจวัตรอยู่แล้ว และไม่ถือว่าเป็นการอุตริแต่ประการใด

          กรณีที่ 2  กรณีที่ไม่ได้ละหมาดเป็นประจำอย่างเป็นกิจวัตร แต่มารอเจาะจงละหมาดเฉพาะในค่ำคืนของวันที่ 15 ชะอฺบานนี้ เพราะมีความเข้าใจว่าจะมีผลบุญมากมายมหาศาล กรณีนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างที่ถูกต้องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แม้ว่าจะมีหะดีษที่บ่งบอกถึงความประเสริฐในการลุกขึ้นทำอิบาดะฮในค่ำคืนแห่งนี้ก็ตาม แต่หะดีษเหล่านั้นล้วนเป็นหะดีษที่เฎาะอีฟมากๆ ซึ่งไม่สารามรถนำเป็นหลักฐานอ้างอิงได้

          กรณีที่ 3 กรณีที่มีการเจาะจงละหมาดด้วยการกำหนดจำนวนร็อกอัตที่แน่นอน อาทิ 1,000 หรือ 100 ร็อกอัต และย้อนกลับไปกลับมาจนถึงจำนวนที่กำหนดไว้ กรณีนี้ถือว่าเป็นการละหมาดที่อุตริที่ใหญ่หลวง เพราะไม่มีในแบบฉบับของท่านนบี  แม้ว่ามีการอ้างถึงหะดีษที่ระบุถึงการละหมาดในลักษณะดังกล่าว

         ท่านอิมามอันนะวะวีย์กล่าวว่า “การละหมาดที่เรียกว่าละหมาดเราะฆออิบและการละหมาดอัลฟิยะฮฺในค่ำคืนวันที่ 15 ชะอฺบาน 100 ร็อกอัตนั้น ทั้งสองละหมาดนี้เป็นสิ่งที่อุตริ(บิดอะฮฺ)และน่ารังเกียจ และอย่าไปหลงเชื่อกับการที่ละหมาดทั้งสองถูกกล่าวถึงในหนังสือ “กูตุลกุลูบ และ อิหฺยาอฺอุลุมมิดดีน” และอย่าไปหลงเชื่อกับหะดีษที่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว เพราะทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่จอมปลอม (บาฏิล)...” (ดู อัลมัจญ์มูอฺ เล่ม 7 หน้า 61)

    ท่านอิมาม อัลอิรอกีย์ กล่าวว่า “ หะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงการละหมาดในค่ำคืนวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน ล้วนแต่เป็นหะดีษปลอม (เมาฎูอฺ) และเป็นสิ่งที่โกหก (อุปโลกน์ขึ้นมา) ทั้งสิ้น”

     ท่านอิมาม อบูชามะฮฺ กล่าวว่า “แท้จริงมีสายรายงานที่เกี่ยวกับการละหมาดในค่ำคืนวันที่ 15 ชะอฺบาน สองหะดีษซึ่งทั้งสองหะดีษนั้น ล้วนแต่เป็นหะดีษปลอม”

     ท่านอิมามอัชเชากานีย์กล่าวว่า “หะดีษที่กล่าวถึงในเรื่องดังกล่าวเป็นหะดีษเมาฎูอฺ(หะดีษปลอม)”  (อัลฟะอาวิด อัลมัจญ์มูอะฮฺ หน้า 15)

والسلام





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น