อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อิสลามกับวันปีใหม่




 อีด หมายถึง การเวียนครบรอบมาบรรจบ และมีการเฉลิมฉลอง ซึ่งภายหลังอิสลามได้ถูกอุบัติขึ้น อิสลามได้ทดแทนวันที่อนุญาตให้บรรดามุสลิมสนุกสนานรื่นเริงได้เพียงแค่สองวันเท่านั้น  คือ อิดิ้ลฟิฏริ และอีดิ้ลอัฎฮา หากรวมวันศุกร์ด้วยก็เป็น 3 อีด


ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวตอบว่า
“แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนมันด้วยวันที่ดีกว่าทั้งสองวันนั้น นั่นคือวันอีดอัล-ฟิฏรฺ และอีดอัล-อัฎฮา”  (รายงานโดย อบู ดาวูด หมายเลข 959 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด หมายเลข 1004 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
เมื่อหลักการของศาสนาอนุมัติให้มุสลิมฉลอง หรือรื่นเริงได้เพียงสองวันในรอบปีเท่านั้น 
บรรดามุสลิมจะแสวงหาวันรื่นเริง หรือวันฉลองอื่นจากวันอีดิลฟิฏริ (عيد الفطر) หรืออีดิลอัฎหา (อ่านว่า อัด-ฮา عيد الأضحى ) ไม่ได้ เพราะเมื่อท่านรสูล ยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่ามุสลิมมีวันรื่นเริงเพียง 2 วันเท่านั้น มุสลิมที่ศรัทธามั่นคงก็ต้องปฏิบัติคำสั่งของท่านรสูลุลลอฮฺ อย่างเคร่งครัด 

สำหรับวันอีดอื่นๆ นั้นไม่มีอีกแล้วใน อิสลาม แต่มุสลิมในยุคหลังกลับไม่เพียงพอ กลับอุริกรรม และเลียนแบบพิธีกรรมของชนกลุ่มอื่น โดยเฉพาะพิธีกรรมประเพณีของพวกยิว และคริสต์ มาเป็นแบบฉบับของตน ไม่ว่า จะเป็นวันอีดครบรอบคล้ายวันเกิด วันอีดขึ้นปีใหม่ เป็นต้น โดยมีการเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริก และเลยเถิด โดยเฉพาะในแถบมลายู อันเป็นการเลียนแบบกลุ่มชนอื่น

รายงานจากอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า

مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ

 “ผู้ใดที่เลียนแบบกลุ่มชนใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา” (บันทึกโดย อบู ดาวูด 3512, อัล-อัลบานีย์ให้หุก่มว่า หะสัน เศาะฮีหฺ ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 3401)


ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

กล่าวไว้ว่า " و لا تشبهوا باليهود ولا بالنصارى

 "พวกท่านอย่าเลียนแบบพวกยะฮูดีย์ (พวกยิว) และพวกนัศรอนีย์ (พวกคริสเตียน) " 
(บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษที่ 8230) 


สำหรับการตอนรับวันปีใหม่ของมุสลิมมลายู มีดังนี้

- วันนี้ถือว่าเป็นวันหยุดประจำปีของประเทศอิสลามบางประเทศ เช่น มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย  มีการการจัดกิจกรรมวันฮิจเราะห์ศักราชใหม่ โดยเวลาหลังละหมาดค่ำ(เวลาหลังดวงอาทิตย์ตกดิน) ประมาณ 18.30 - 19.30 น. ก่อนจะปีใหม่ (มลายูมุสลิมบางกลุ่ม) จะอ่านบทขอพรที่เกี่ยวเนื่องกับปีที่ผ่านมาและปีถัดไป ในขณะที่กลางวันจะจัดกิจกรรมรำลึกฮิจเราะห์ศักราชใหม่เช่นการบรรยายทางวิชาการ แข่งขันทักษะทางวิชาการ กีฬา สันทนาการ โดยกิจกรรมทางวิชาการนั้นจะเน้นบทเรียนของการอพยพของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะซัลลัม

โดยมีดุอาอ์ 2 บทด้วยกัน เป็นดุอาอ์ลาจากปีเก่า ต้อนรับปีใหม่อิสลาม  คือ 

1.ดูอาอ์อ่านลาปีเก่าอ่านหลังอัสรี (ตามที่พวกเขาอุตริขึ้นมา) ตามบทดุอาอ์หน้าขวามือ
2. ดูอาอ์อ่านต้อนรับปีใหม่ของอิสลามอ่านหลังมัฆริบ ตามบทดุอาอืหน้าซ้ายมือ



ดุอาอ์ข้างต้น มีการกำหนดเวลาให้ทำการกล่าวโดยเฉพาะเจาะจง นั้นคือ หลังละหมาดอัศรี ของวันก่อนสิ้นปีเก่า และหลังละหมาดมัฆริบของวันแรกของปีใหม่ คือวันที่ 1 มุฮัรรอม

และยังกำหนดให้อ่าน 3 ครั้ง หลังละหมาด และยังกำหนดความเชื่อว่าหากใครอ่านดุอาอ์ในเวลาดังกล่าว เขาผู้นั้นจะปลอดภัยจากการล่อลวงจากซัยฏอนในอายุของเขาที่ยังเหลืออยู่ในปีนั้น โดยพระองค์อัลลอฮฺจะส่งมลาอิกะฮฺ 2 ท่าน มาทำหน้าที่ปกป้องเขาให้พ้นจากการล่อลวงของซัยฏอน

นี้เป็นความเชื่อของใคร อัลกุรอานก็มิได้ระบุไว้ ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยยอมรับ ไม่เคยกล่าวเอาไว้แต่อย่างใด และถึงแม้ว่าการนับฮิจเราะฮฺศักราชให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  อพยพจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ก็เป็นปีเริ่มต้นศักราชตาม แต่การกำหนดนับฮิจเราะฮฺศักราชนั้น เพิ่งเกิดขึ้นในยุคท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร อิบนุคอฎฎ็อบเท่านั้น แล้วความเชื่อเหล่านี้เอามาจากไหน จะบอกว่าโต๊ะครู บาบอ นักวิชาการศาสนา คนใดคนหนึ่ง หรือบรรพบุรุษคนใดคนหนึ่งกำหนดมา ว่าให้กล่าวดุอาอ์บทนั้นช่วงนี้ แล้วจะพ้นจากการล่อลวงของชัยฏอน นี้เป็นการกุหะดิษขึ้นมาชัดๆ เป็นการโกหกต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นการปฏิบัติและมีความเชื่อที่ปราศจากหลักฐานศาสนามารองรับ

ดังนั้น กิจกรรม หรือพิธีกรรมต่างๆ การขอดุอาอ์อวยพรเนื่องด้วยอำลาปีเก่าตอนรับปีใหม่ข้างต้น จึงไม่มีอยู่ในอิสลามแต่อย่างใด วันดังกล่าวก็เหมือนวันอื่นๆทั่วไป ที่ต้องอยู่บนหลักการอิสลามตลอดเวลา ส่วนการขอดุอาอ์ หรือการอวยพรให้แก่กันโดยทั่วๆไป ไม่เฉพาะเจาะจงสถานที่หรือวันเวลา และไม่มีความเชื่อที่ไม่มีหลักฐานศาสนามารองรับนั้น กระทำได้อยู่แล้ว 

ท่านเชค มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุมษัยมีน ได้ถูกถามเกี่ยวกับการอวยพรในโอกาสขึ้นปีใหม่ฮิจญ์เราะฮฺ และจะกล่าวตอบแก่ผู้อวยพรอย่างไร ?

ท่านได้ตอบว่า : ถ้าหากว่ามีใครมากล่าวอวยพรแก่ท่าน ท่านก็จงกล่าวตอบ แต่ท่านอย่าได้เริ่มกล่าวอวยพรเป็นลำดับแรกก่อนเขา นี่คือความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นนี้  สมมุติว่ามีใครมากล่าวแก่ท่านว่า “เราขออวยพรแก่ท่านเนื่องในโอกาสปีใหม่(ฮิจญ์เราะฮฺ)” ท่านก็จงตอบไปว่า “ขออัลลอฮฺอวยพรแก่ท่านด้วยสิ่งที่ดี และขอทรงทำให้มันเป็นปีแห่งความดีงามและความจำเริญ”  แต่ท่านอย่าได้เริ่มกล่าวอวยพรก่อนผู้อื่น เพราะฉันไม่เคยทราบจากบรรดาชาวสะลัฟว่าพวกเขามีการอวยพรในโอกาสปีใหม่เช่นนี้ ทว่า พึงทราบเถิดว่า บรรดาสะลัฟนั้นมิได้ใช้เดือนมุหัรร็อมเป็นจุดเริ่มต้นของปีใหม่จนกระทั่งเมื่อถึงยุคสมัยของอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แล้วเท่านั้น .. (จบการอ้าง)
(ที่มา : คำตอบต่อคำถามหมายเลข 835 จากซีดี เมาสูอะฮฺ อัล-ลิกออ์ อัช-ชะฮฺรีย์ วัล บาบุล มัฟตูหฺ เวอร์ชั่นแรก เป็นการพบปะประจำเดือนของท่านเชค ที่ออกโดย สำนักงานดะอฺวะฮฺเมืองอุนัยซะฮฺ)

ท่านเชค อับดุลกะรีม อัล-คุฎ็อยรฺ ได้กล่าวถึงการอวยพรในโอกาสปีใหม่ฮิจญ์เราะฮฺว่า : 
การขอดุอาอ์ให้กับมุสลิมด้วยบทดุอาอ์ทั่วๆ ไป ซึ่งคนคนหนึ่งไม่ได้เจตนาถือเป็นอิบาดะฮฺกับสำนวนเฉพาะนั้น เนื่องในโอกาสต่างๆ เช่นวันอีด ถือว่าไม่เป็นไร โดยเฉพาะถ้าหากว่าการอวยพรเช่นนั้นมีจุดประสงค์เพื่อแสดงความรักใคร่ซึ่งกัน และเพื่อแสดงความดีใจและสุขใจต่อหน้าพี่น้องมุสลิม ท่านอิมาม อะหมัด ได้กล่าวว่า : ฉันจะไม่เริ่มกล่าวอวยพรแก่ผู้ใด แต่ถ้าหากมีใครมาอวยพรแก่ฉัน ฉันก็จะตอบเขา เพราะการตอบกลับการอวยพรนั้นวาญิบ ส่วนการเริ่มกล่าวอวยพรนั้นไม่ใช่สุนนะฮฺที่ถูกสั่งใช้ และไม่ใช่สิ่งที่ถูกห้ามแต่ประการใด 

คำตอบโดย : เว็บไซต์ อิสลามถามตอบ
ฟัตวาหมายเลข 21290 


ประวัติการใช้ฮิจเราะห์ศักราช หรือ “ฮ.ศ.”

       ศักราชของอิสลามใช้คำว่าฮิจเราะห์ศักราช ใช้ตัวอักษรย่อว่า “ฮ.ศ.” คำว่า ฮิจเราะฮ์ หมายถึง “การอพยพ” คือ การอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด   และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ หลังจากที่ท่านนะบีมุฮัมมัด   ได้เสียชีวิต ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร อิบนุคอฎฎ็อบ   ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามคนที่สองต่อจากท่านอบูบักร์  ได้ปรึกษากันว่า อิสลามควรจะต้องมีการนับศักราชเพื่อใช้ในการกำหนดวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับคริสตศักราช แต่การเริ่มศักราชของอิสลามจะเริ่มเมื่อใดนั้น ได้มีบรรดาอัครสาวกที่ใกล้ชิดของท่านนะบีมุฮัมมัด   และบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามในเวลานั้นเสนอแนวทางในการกำหนดศักราชอิสลาม 4 แนวทางด้วยกัน คือ
          1. เสนอให้ถือเอาปีเกิดของท่านนะบีมุฮัมมัด   เป็นปีเริ่มต้นศักราช

          2. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด   เริ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นปีเริ่มต้นศักราช

          3. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด   อพยพจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ เป็นปีเริ่มต้นศักราช

          4. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด   เสียชีวิต เป็นปีเริ่มต้น ศักราช

       ข้อสรุปในที่ประชุมได้มีมติให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด   อพยพจากนครมักกะห์สู่นครมะดีนะห์ ซึ่งเป็นปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด   ถูกชาวนครมักกะห์ที่เคารพบูชาเจว็ด และสิ่งงมงายต่างๆ มุ่งหวังจะเอาชีวิต และเมื่ออพยพสู่นครมะดีนะห์นั้น ชาวเมืองมะดีนะห์ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พร้อมทั้งเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก และเป็นปีที่มีความสำคัญในการเริ่มแผ่ขยายการเผยแพร่ศาสนาอิสลามจนประสบกับความสำเร็จในเวลาต่อมา
       จึงเริ่มต้นนับศักราชของอิสลามตั้งแต่ปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด   และบรรดามุสลิมได้อพยพจากมักกะห์สู่มะดีนะห์ คือ ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) นับแต่นั้นเป็นต้นมา 

والله أعلم بالصواب


1 ความคิดเห็น: