อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความขัดแย้งในเรื่องวินิจฉัยปัญหาศาสนา




ความขัดแย้ง (อิคติลาฟ) ในเรื่องวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ หรือสะละฟุศศอและห์ ในทัศนะของพวกเขาแล้ว ไม่ใช่เหตุผลแห่งความเป็นศัตรู หรือต้องหันหลังต่อกันในระหว่างพี่น้องมุสลิม แต่พวกเขายังคงรักใคร่ให้การยอมรับกัน หรือละหมาดตามหลังกันได้ต่อไป แม้นพวกเขาจะมีความเห็นไม่เหมือนกันในปัญหาปลีกย่อยเหล่านั้นก็ตาม

ในยุคท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อประชาชนมีความแย้งกัน พวกเขาก็จะนำมันกลับไปยังท่านรสูล เพื่อให้ท่านตัดสินด้วยกับวะฮฺยูซึ่งเป็นสัจธรรมที่มาจากอัลลอฮฺ  ดังอายะฮฺกุรอานมักจะเจอที่ว่าيَسْأَلُونَكَ  “ยัซอาลูนากา” (พวกเขาถามเจ้า)

เช่น อายะฮฺอัลกุรอาน


يَسْأَلُونَكَ مَاذَا أُحِلَّ لَهُمْ قُلْ أُحِلَّ لَكُمُ الطَّيِّبَاتُ وَمَا عَلَّمْتُم مِّنَ الْجَوَارِحِ مُكَلِّبِينَ تُعَلِّمُونَهُنَّ مِمَّا عَلَّمَكُمُ اللَّهُ فَكُلُوا مِمَّا أَمْسَكْنَ عَلَيْكُمْ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ عَلَيْهِ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ سَرِيعُ الْحِسَابِ ( 4 ) อัล-มาอิดะฮฺ - Ayaa 4

"เขาเหล่านั้นจะถามเจ้าว่า มีอะไรบ้างที่ถูกอนุมัติแก่พวกเขา จงกล่าวเถิด ที่ถูกอนุมัติแพวกเจ้านั้นคือสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และบรรดาสัตว์สำหรับล่าเนื้อที่พวกเจ้าฝึกสอนมัน พวกเจ้าจงบริโภคจากสิ่งที่มันจับมาให้แก่พวกเจ้า และจงกล่าวพระนามของอัลลอฮ์บนมันเสียก่อน และจงกลัวเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรวดเร็วในการชำระสอบสวน"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ 4)


หลังจากที่ท่านท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิวะซัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้วได้เกิดความเห็นที่แตกต่างในอุมมะฮฺในเรื่องหลักการต่างๆ มากมายแต่ทั้งนี้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความหลักแย้งในเรื่องรายละเอียด ไม่ใช่ความขัดแย้งในเรื่องอูศูลซึ่งเป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้ว

พวกเขาทั้งหลายย่อมตระหนักดีว่าในบรรดาอุลามาอฺย่อมไม่มีใครที่ไม่มีความผิดพลาดใดๆ ซึ่งความผิดพลาดของพวกเขานั้นย่อมเป็นเรื่องที่มนุษย์ปุถุชนทั่วๆไปมีกัน พวกเขาย่อมไม่มีความตั้งใจที่จะต่อต้านกีตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบอานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

يُرِيدُ اللَّهُ أَن يُخَفِّفَ عَنكُمْ وَخُلِقَ الْإِنسَانُ ضَعِيفًا ( 28 ) อัน-นิสาอ์ - Ayaa 28

“อัลลอฮฺปรารถนาที่จะผ่อนผันให้แก่พวกเจ้าและมนุษย์นั้นถูกบังเกิดขึ้นในสภาพที่อ่อนแอ”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอันนิซาอฺ 4: 28)

สาเหตุของความผิดพลาดและทัศนะที่แตกต่างกันในหมู่อุลามาอฺ ได้แก่

-ความเห็นต่างเนื่องจากการไม่รู้หลักฐานในเรื่องนั้น

-ความเห็นต่างเนื่องจากหลงลืมหลักฐาน

-ความเห็นต่างเนื่องจากความเข้าใจตัวบทหลักฐานที่แตกต่างกัน

-ความเห็นต่างเนื่องจากไม่รู้ว่าหะดิษนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว

-ความเห็นต่างเนื่องจากการใช้หะดิษที่อ่อน(ฎออิฟ)มาเป็นหลักการ

-ความเห็นต่างเนื่องจากการที่มีหลักฐานที่ชัดเจนในเรื่องนั้นๆแล้ว แต่อุลามาอฺบางท่านใช้หลักฐานกว้างๆจนทำให้บิดเบือนหลักฐานที่ชัดเจนไป
ฯลฯ

เชคคุลอิสลามอิบนิตัยมิยะฮฺ ร่อหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
“มีมุจตะฮิดหลายท่านซึ่งสิ่งที่เขากล่าวไว้แท้จริงแล้วมันเป็นบิดอะฮฺ อย่างไรก็ตามนั้นเป็นเพราะว่าพวกเขาไม่ทราบว่าสิ่งนั้นเป็นบิดอะฮฺ เนื่องจากเรื่องนั้นๆเป็นหะดิษฎออิฟ แต่พวกเขาคิดว่ามันเป็นหะดิษที่ใช้ได้ หรืออาจเกิดจากความเข้าใจตัวบทอัลกุรอานบางอายะฮฺผิดพลาดไป(อันเนื่องจากอาสัยหะดิษที่อ่อน) ซึ่งพวกเขาอาจจะไม่มีความระมัดระวังในเรื่องนี้” (ในหนังสือ “มัจมัอะฟาตาวา :19/191)

พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการที่มุสลิมคนหนึ่งคนใดผูกมัด หรือสังกัดตังเอง(ตักลีด) อยู่กับมัซฮับฟิกเกาะฮฺหนึ่งๆ เป็นการเฉพาะแต่จริงแล้วทุกคนสามารถจะโยกย้ายตนเองจากมัซฮับหนึ่งไปสู่อีกแนวทางของมัซฮับหนึ่งได้หากหลักฐานเข้มแข็งกว่าและหากนักเรียน หรือผู้แสวงหาความรู้ท่านใด มีคุณสมบัติที่สามารถเข้าใจในหลักฐานต่างๆ ของอิมามด้วยตนเอง เขาย่อมมีสิทธิ์จะนำพาหลักฐานนั้นไปปฏิบัติ หรือออกจากมัซฮับของอิมามในเรื่องนั้นๆได้ และสามารถไปยึดถือมัซอับของอิมามท่านอื่นที่มีหลักฐานเข้มแข็ง หรือมีแนวความคิดที่ถุกต้องกว่าในปัญหาอื่นๆก็ย่อมได้

ไม่อนุญาตให้ยึดถือคำพูดของผู้ใดโดยไม่รู้หลักฐานของเขา เพราะการกระทำเช่นนั้นเท่ากับเป็น “มุก็อลลิด” (ผู้หลับหูหลับตาตาม) ทั้งๆที่เขาพึงใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อพิจารณาในข้อขัดแย้งนั้น จนกว่าจะพบในสิ่งที่มั่นใจที่สุด แต่หากไม่สามารถแยกแยะหาสิ่งที่ถูกต้องกว่าได้ เขาผู้นั้นย่อมอยู่ในเกณฑ์ของคนอามมีย์ คือบุคคลทั่วไป ซึ่งอยู่ในฐานะต้องถามผู้รู้

คนอามมีย์ที่ไมสามารถพิจารณาหลักฐานเองได้ ไม่ได้หมายความว่าเขาจำเป็นต้องเข้าสังกัดมัซฮับใดมัซฮับหนึ่ง แต่ให้ถือมัซฮับของมุฟตี คือมัซฮับของคนตัดสินปัญหาศาสนาของเขานั้นแหละ คือมัซฮับของเขา กล่าวคือ เขาจำเป็นต้องถามผู้ที่มีความรู้ในอัลกุรอานและอัสสุนะฮฺนั้นเอง ซึ่งอาจเป็นผู้รู้ในดินแดนที่เขาอาศัยอยู่ก็ได้

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

 فَاسْأَلُوا أَهْلَ الذِّكْرِ إِن كُنتُمْ لَا تَعْلَمُونَ ( 43 ) อัน-นะห์ลฺ - Ayaa 43

“ดังนั้นพวกเจ้าจงถามบรรดาผู้รู้ หากพวกเจ้าไม่รู้”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-นะหฺลุ 16:43)

والله أعلم بالصواب



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น