อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ต้องแยกออกจากกันระหว่างพฤติกรรมกับตัวบุคคลในเรื่อง “กุฟรฺ”




ผู้ใดยืนหยัดความเป็นมุสลิมของเขาด้วยเชื่อมั่น (ยะกีน) แล้วย่อมไม่มีความสงสัยใดมาลบล้างมันได้อีก นี่คือหลักเกณฑ์หนึ่งที่ชาวอัสสะลัฟยึดถือมา พวกเขาจึงระวังอย่างยิ่งและออกห่างต่อการกล่าวผู้ใดว่าเป็นกาฟิร พวกเขาจะไม่หุก่มคนหนึ่งคนใด โดยปราศจากหลักฐานที่ชี้ชัดมาจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ ว่าบุคคลนั้นเป็นกาฟิร และหากบุคคลนั้นตายไปในสภาพดังกล่าว กรณีนี้ก็พึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอัลลออฺ คือพระองค์จะทรงลงโทษหรือให้อภัยเขาก็ได้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดก็ตามที่กล่าวต่อพี่ของเขาว่า “โอ้กาฟิร” ดังนั้น คนหนึ่งคนใดจากทั้ง 2 นั้นจะต้องรับมัน หากเป็นดังที่กล่าวจริง แต่หากไม่จริง (คำกล่าวนั้น) ก็จะกลับมาเขา(ผู้กล่าว)” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“และผู้ใดโจมตีว่ามุอฺมินคนหนึ่งเป็นกาฟิร ดังนั้นประหนึ่งเป็นการฆ่าเขา” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัล-บุคอรีย์)

ครั้งหนึ่งท่านอาลี บินอบีฏอลิบ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ถูกถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของชาวเมืองนะฮฺรอวาน ว่าพวกเหล่านั้นเป็นกาฟิรหรือไม่?
ท่านตอบว่า ; พวกเขาหนีจากการปฏิเสธต่างหากเล่า
ถูกถามอีกว่า : ฉะนั้นพวกเขาเป็นมุนาฟิกหรือไม่?
ท่านตอบว่า : พวกมุนาฟิกก็คือพวกที่ไม่ค่อยรำลึกถึงอัลลอฮฺเลย แต่พวกนี้คือพวกที่รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมายทั้งเช้าและเย็น ซึ่งจริงแล้วพวกเขาก็คือพี่น้องของเราที่อยุติธรรมต่อเราต่างหาก” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบัยฮะกีย์ ในอัชสุนันอัลกุบรอ เล่ม 8 หน้า 173)

เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องแยกแยะออกจากกันระหว่างพฤติกรรมกับตัวบุคคลในเรื่อง “กุฟรฺ” เพราะมิได้หมายความว่าผู้ก็ตามที่ปฏิเสธสิ่งหนึ่งๆแล้ว หมายถึงเขาต้องเป้นกาฟิรทันที แต่ต้องแยกออกจากันเช่นระหว่างการตัดสินว่าคำพุดหนึ่งที่เป็น “กุฟรฺ” กับการตัดสินว่าเจ้าของคำพูดนั้นเป็น “กุฟรฺ”
อย่างเช่น คำพุดที่ว่าอัลลออฺทรงอยู่ในหนทุกแห่ง หรือคำพูดที่ว่ากะลามุลลอฮฺ(อัลกุรอาน)เป็นมัคลู๊ก นั้นเป็น “กุฟรฺ” หรือการปฏิเสธคุณลักษณะ(สิฟาต)ของอัลลออฺ เป็น “กุฟรฺ” เพราะทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ในเรื่องที่ว่าด้วยการตัดสินในพฤติกรรม หรือคำพูดซึ่งมิอาจเอาไปสรุปเพื่อไปตัดสินตัวบุคคลนั่นๆได้ ทั้งนี้เพราะเขาอาจพุดหรือกระทำเนื่องจากขาดหลักฐาน หรือตีความผิดพลาดไป หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เป็นได้ ซึ่งการตีความผิด หรือการกระทำเนื่องจากญะฮิลนั้นมิอาจตัดสินด้วยหุก่มเดียวกับผู้ดื้อดึง หรือผู้ทรยศฝ่าฝืนได้

ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ กล่าวว่า
“สำหรับผู้ที่ตีความผิด หรือญาฮิล หรือผู้ที่สาเหตุพึงได้รับการผ่อนผันนั้น มิอาจตัดสินด้วยหุก่มเดียวกับผุ้ดื้อดึง หรือผู้ทรยศฝ่าฝืนว่าอัลลอฮฺทรงมีข้อกำหนดเฉพาะแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้แล้ว” (ดูมัจญ์มูอฺ อัรเราะซาอิล วัลมะซาอิล เล่ม 5 หน้า 382)

สำหรับกล่มมุอฺตาวิละฮฺ และอัชชาอิเราะฮฺ กลุ่มเหล่านี้ คืออะฮฺลุลบิดอะฮฺ แต่พวกเขายังคงเป็นอุมมะฮฺอิสลาม พวกเขาคือผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ไม่มีการตักเฟรต่อพวกเขา


والله أعلم بالصواب




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น