การใช้เครื่องรางของขลัง (تميمة ) หมายถึง สิ่งของที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจดลบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์ หรือที่นับถือว่าป้องกันจากอันตราย ยิงไม่เข้า ฟันไม่เข้า ((บุญพฤกษ์ จาฏาระ, พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน, อักษรเจริญทัศน์, กรุงเทพ, 2539, หน้าที่: 134) และมีอุลามาอฺให้ความหมายว่า เครื่องรางของขลัง คือ สิ่งที่นำมาห้อยที่ตัวเด็กเพื่อป้องกันจากความชั่วร้าย (มูหัมมัดบินอับดุลวาฮับ, อัลเกาลุสสะดีดชารอุลกิตาบุตเตาหีด, ดารุ้ลวะฏอน, ซาอุดิอารเบีย, ม.ป.ป., หน้าที่:40) หรือสิ่งที่นำมาห้อยตามตัวของมนุษย์เพื่อจะป้องกัน จากสิ่งชั้วร้ายต่าง ๆ (อิบนุมันศูร, ลิสานุลอาหรับ, ดารุ้ลมะอฺริฟะฮฺ, เลบานอน, 1994, หน้าที่:69.)
สรุป เครื่องรางของขลังคือ สิ่งที่ทำมาจากอัลกุรอ่าน พระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอา ลา ตลอดจนอัลหะดีษ หรือ สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากวัสดุต่างๆที่เราพบเห็นตามธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นกระดูกของ สัตว์ต่างๆ เส้นด้าย สายสิน และมงคลวัสดุอื่นๆ โดยผ่านการปลุกเสกของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของเวทมนต์คาถา เครื่องรางของขลังประเภทนี้มีให้เห็นในหลายลักษณะหลายรูปแบบ เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล ปลัดขลิก ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้มนุษย์นำมาห้อยตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นที่คอ เอว ข้อมือ หรือส่วนอื่นๆ ตลอดจนยานพาหนะ และที่อยู่อาศัยเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะขอให้สิ่งเหล่านั้นช่วยป้องกันจากภัยอันตราย และยึดถือว่าสิ่งเหล่านั้น มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในการที่จะช่วยป้องกันผู้ที่สวมใส่และดลบันดาลให้ได้รับความสำเร็จ ตามความประสงค์ ของผู้ที่สวมใส่มัน
وَلَئِن سَأَلْتَهُم مَّنْ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ لَيَقُولُنَّ اللَّهُ قُلْ أَفَرَأَيْتُم مَّا تَدْعُونَ مِن دُونِ اللَّهِ إِنْ أَرَادَنِيَ اللَّهُ بِضُرٍّ هَلْ هُنَّ كَاشِفَاتُ ضُرِّهِ أَوْ أَرَادَنِي بِرَحْمَةٍ هَلْ هُنَّ مُمْسِكَاتُ رَحْمَتِهِ قُلْ حَسْبِيَ اللَّهُ عَلَيْهِ يَتَوَكَّلُ الْمُتَوَكِّلُونَ ( 38 ) อัซ-ซุมัร - Ayaa 38
“และถ้าเจ้าถามพวกเขาว่า ใครเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า อัลลอฮฺ จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่า สิ่งที่พวกท่านวิงวอนขออื่นจากอัลลอฮฺนั้น หากอัลลอฮฺทรงประสงค์จะให้มีความทุกข์ยากแก่ฉันแล้ว พวกมันจะปลดเปลื้องความทุกข์ยากของ พระองค์ได้ไหม? หรือหากพระองค์ประสงค์จะให้ความเมตตาแก่ฉันพวกมันจะยับยั้งความเมตตาของ พระองค์ได้ไหม? จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด อัลลอฮฺทรงพอเพียงแก่ฉันแล้ว แต่พระองค์เท่านั้น บรรดาผู้มอบความไว้วางใจจะให้ความไว้วางใจ”
(สูเราะฮฺ อัซซุมัร, 39:38)
والله أعلم بالصواب
โดย อ.อับดุลฮากีม มังเดชะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น