อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ




อะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ( أَهْلُ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ)สามารถแยกอธิบายในทางภาษาและทางวิชาการได้ดังนี้

“อัส-สุนนะฮฺ”ในทางภาษา

 ในภาษาอาหรับเป็นคำที่แตกออกมาจากรากศัพท์คำว่า “สันนะ-ยะสินนุ” และ “ยะสุนนะนัน ฟะฮุวะมัสนูน”

อัส-สุนนะฮฺ หมายถึง แนวทาง วิถีการใช้ชีวิต ซึ่งใช้ได้ทั้งในสิ่งที่ดีและเลว

ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“แน่นอนพวกท่านจะปฏิบัติแนวทางของกลุ่มชนก่อนหน้าพวกท่านที่ละคืบทีละศอก” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)

แนวทางตามหะดิษนี้ ใช้ในสิ่งที่ไม้ดี นั้นคือ แนวทางต่างๆ ทั้งในเรื่องศาสนา และเรื่องทางโลกของพวกเหล่านั้น

และอีกหะดิษหนึ่ง ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ผู้ใดกำหนดแนวทางที่ดีหนึ่งๆขึ้นมาในอิสลาม เขาย่อมได้รับผลบุญของมันและผลบุญของผู้ปฏิบัติต่อจากนั้น โดยไม่มีสิ่งใดๆจากผลบุญของเขาบกพร่องไปเลย และผู้ใดกำหนดแนวทางที่ชั่วหนึ่งๆ ขึ้นในอิสลาม..” (บันทึกโดยอิมามมุสลิม)

แนวทาง ในหะดิษข้างต้น ก็คือ “วิธีการดำเนินชีวิตนั้นเอง”

อัส-สุนนะฮฺ ทางวิชาการ 

หมายถึงทางนำที่ท่านรสูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านดำรงอยู่ ทั้งในเรื่องของความรู้ หลักการยึดมั่น คำพูด การปฏิบัติ และการยอมรับ

และอัส-สุนนะฮฺยังถูกใช้เกี่ยวกับสุนนะฮฺทางอิบาดาตและหลักการยึดมั่นอื่นๆ

คำตรงข้ามของอัส-สุนนะฮฺ ก็คือ อัล-บิดอะฮฺ หรือสิ่งอุตริ


อัล-ญะมาอะฮฺ ในทางภาษา

มาจากคำว่า “ญัมอุ” หมายถึงการรวมสิ่งหนึ่งโดยการเอาแต่ละส่วนเข้ามาใกล้กัน เป็นคำแตกออกมาจากคำว่า “อัล-อิจญ์ติมาอฺ” หมายถึงมนุษย์หมู่มาก และมีเป้าหมายหรือจุดประสงค์เดียวกัน

อัล-ญะมาอะฮฺ ทางวิชาการ

หมายถึง ญะมาอะฮฺของบรรดามุสลิม พวกเขาคือบรรพชนยุคต้น(อัส-สะลัฟ) ของอุมะฮฺ(ประชาชาติ) จากเหล่าบรรดาเศาะหาบะฮฺ ตาบีอีน และบรรดาผู้เจริญรอยตามแนวทางเดียวกับพวกเขา หลังจากนั้นเรื่อยไปตราบจนถึงวันกียามะฮฺ พวกเขาต่างร่วมอยู่ด้วยกันในแนวทางแห่งอัลกุรอาน และอัสสุนนะฮฺ และดำเนินชีวิตไปตามสิ่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ  ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยเป็นมาทั้งสิ่งที่เผยออกมาภายนอกและสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในพระองค์ออัลลอฮฺตะอาลาทรงใช้และกำชับให้ปวงบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลายอยู่ในสภาพของการเป็นญะมาอะฮฺ การรวมเข้าด้วยกัน และพึ่งพาอาศัยกัน และทรงห้ามการแตกแยกออกเป็นพรรคเป็นพวก และการทะเลาะต่อกัน ดังอายะฮฺที่ว่า


وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا وَاذْكُرُوا نِعْمَتَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ إِذْ كُنتُمْ أَعْدَاءً فَأَلَّفَ بَيْنَ قُلُوبِكُمْ فَأَصْبَحْتُم بِنِعْمَتِهِ إِخْوَانًا وَكُنتُمْ عَلَىٰ شَفَا حُفْرَةٍ مِّنَ النَّارِ فَأَنقَذَكُم مِّنْهَا كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ ( 103 ) อาล อิมรอน - Ayaa 103

"และพวกเจ้าจงยึดสายเชือก ของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน และจำรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีแต่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคยปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากปากหลุมแห่งนรกนั้น ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดาโองการของพระอง๕เพื่อว่าเพวกเจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอาลิอิมรอน อายะฮฺที่ 103)


يَوْمَ تَبْيَضُّ وُجُوهٌ وَتَسْوَدُّ وُجُوهٌ فَأَمَّا الَّذِينَ اسْوَدَّتْ وُجُوهُهُمْ أَكَفَرْتُم بَعْدَ إِيمَانِكُمْ فَذُوقُوا الْعَذَابَ بِمَا كُنتُمْ تَكْفُرُونَ ( 106 ) อาล อิมรอน - Ayaa 106

"วันซึ่งบรรดาใบหน้าจะขาวผ่อง และบรรดาใบหน้าจะดำคล้ำ ส่วนผู้ที่ใบหน้าของพวกเขาดำคล้ำนั้น (พวกเขาจะถูกถามว่า) พวกเจ้าได้ปฏิเสธศรัทธา หลังจากที่พวกเจ้าศรัทธาแล้วกระนั้นหรือ? พวกเจ้าจงชิมการลงโทษเถิด เนื่องจากการที่พวกเจ้าปฏิเสธศรัทธา"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอาลิอิมรอน อายะฮฺที่ 106)

ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“และแท้จริงศาสนานี้จะแตกแยกออกเป็น 73 จำพวก โดย 72 จำพวก นั้นอยู่ในนรก ส่วนจำนวนหนึ่งอยู่ในสวรรค์ นั้นคือ อัล-ญะมาอะฮฺ” (เศาะเฮียะฮฺ สุนันอบีดาวูด ของอัลบานีย์)

“พวกเจ้าจงยึดมั่นอัลญะมาอะฮฺ และจงระวังการแตกแยกเพราะแท้จริงชัยฏอนจะอยู่พร้อมกับผู้ที่อยู่คนเดียว และมันจะไกลกว่าจากผู้ที่อยู่ 2 คน และผู้ใดต้องการจะอยู่ตรงกลางของสวรรค์ดังนั้น เขาจงสังกัดอยู่ในญะมาอะฮฺ” (บันทึกโดยอะหฺมัด รับรองว่าเศาะเฮียะฮฺ โดยอัลบานีย์)

เศาะฮาบะฮฺอาวุโส คือ อับดุลลอฮฺ บินมัสอูด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า“ญะมาอะฮฺ คือสิ่งที่สอดคล้องกับสัจธรรม แม้นท่านจะอยู่(บนสัจธรรมนั้น)เพียงลำพัง” (บันทึกโดยอัลลาลิกาอีย์)

ดังนั้น อะลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอธฮฺ ก็คือ บรรดาผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นต่อสุนนะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และสุนนะฮฺของเศาะหาบะฮฺปฏิบัติตามและเจริญรอยตามแนวทางเดียวกับพวกเขา ทั้งในเรื่องของการเชื่อมั่น คำพูด การกระทำ และดำรงมั่นอยู่บนการปฏิบัติตาม(อิตบาอฺ) และห่างไกลจากการอุตริ หรือบิดอะฮฺ และพวกเขาเป็นพวกที่จะคงอยู่อย่างสง่าผ่าเผย และได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺตราบจนวันกิยามะฮฺ ซึ่งการปฏิบัติตามพวกเขาคือทางนำ(ฮิดายะฮฺ) ในขระที่การฝ่าฝืนหรือขัดแย้งไปจากนี้ถือเป็นความหลงผิด(เฎาะลาละฮฺ)

คำนิยามของอลุสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ ไม่แตกต่างกันเลยกับคำนิยามของอัสสะลัฟ นั้นคืออัสสะลัฟ คือ บรรดาผู้ปฏิบัติตามกีตาบุลลอฮฺ และยึดมั่นสุนนะฮฺ ดังนั้นอัสสะลัฟพวกเขาก็คือ อะลุสสุนนะฮฺ และเช่นเดียวกันอะลุสสุนนะฮฺ ก็คือ อัสสะละฟุศศอและห์ และผู้ที่เจริญรอยตามแนวทางดังกล่าว

والله أعلم بالصواب


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น