من أحكام صوم التطوع |
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لاَ يَصُوْمُ أَحَدُكُمْ يَوْمَ الجُمُعَةِ إِلّا يَوْمًا قَبْلَهُ أَوْ يَوْمًا بَعْدَهُ» [أخرجه البخاري]
“พวกท่านคนใดจงอย่าถือศีลอดในวันศุกร์ เว้นแต่มี(การถือศีลอด)หนึ่งวันก่อนหน้า หรือหนึ่งวันภายหลัง” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ
และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لاَ تَخُصُّوا لَيْلَةَ الجُمُعَةِ بِقِيامٍ مِن بَيْنِ اللَيَالي، وَلاَ تَخُصُّوا يَوْمَ الجُمُعَة بِصِيَامٍ مِنْ بَيْنِ الأَيَّام، إِلَّا أَنْ يَكُونَ فِيْ صَوْمٍ يَصُوْمُهُ أَحَدُكُمْ» [أخرجه مسلم]
“พวกท่านจงอย่าเจาะจงคืนวันศุกร์ในระหว่างคืนอื่นๆ สำหรับลุกขึ้นละหมาด และพวกท่านจงอย่าเจาะจงวันศุกร์ในระหว่างวันอื่นๆ สำหรับการถือศีลอด เว้นแต่เป็นการถือศีลอดที่เขาถืออยู่ประจำ” บันทึกโดยมุสลิม
และท่านอุมัรฺ บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«هَذانِ يَوْمَانِ نَهَى رَسُوْلُ اللهِ عَنْ صِيَامِهِمَا: يَوْمَ فِطْرِكُمْ مِن صِيَامِكُمْ، وَاليَوْمِ الآخَرْ تَأْكُلُوْنَ فِيْهِ نُسُكَكُم» [أخرجه البخاري]
“นี้คือสองวันที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้ถือศีลอด คือวันที่พวกท่านออกบวช(อีดิล-ฟิฏริ) และอีกวันคือที่ท่านบริโภคเนื้อกุรบาน( หมายถึง อีดิล-อัฎหา)” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ
และท่านอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า
«لَمْ يُرَخَّصْ فِيْ أَيَّامِ التَّشْرِيْقِ أَنْ يَصُمْنَ إِلاَّ لِمَنْ لَمْ يَجِدْ الهَدْيَ» [أخرجه البخاري]
“ไม่ได้รับการอนุโลมในวันตัชรีก(วันที่11-13 เดือนที่12 ซุล-หิจญะฮฺ -ผู้แปล)ให้ถือศีลอดได้ เว้นแต่แก่ผู้(ทำฮัจย์)ที่ไม่พบสัตว์เชือด” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ
คำอธิบาย
การถือศีลอดถูกบัญญัติให้ทำได้ทุกวัน นอกจากวันที่พระผู้ตราบัญญัติ(คืออัลลอฮฺ)ได้ยกเว้น หรือที่ศาสนาเจาะจงห้ามไม่ให้ถือศีลอดเพราะมีเหตุผลใดๆ อันสำคัญอยู่
ประโยชน์ที่ได้รับ
• ห้ามเจาะจงถือศีลอดวันศุกร์วันเดียว นอกจากจะตรงกับที่เคยถืออยู่เป็นประจำ
• ห้ามถือศีลอดในวันอีดทั้งสองอีด และในวันตัชรีก (วันที่11-13 เดือนที่12 ซุลหิจญะฮฺ-ผู้แปล)
.........................................
ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม
แปลโดย : สะอัด วารีย์
ตรวจทานโดย : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะห์กาม อัช-ชัรอียะฮฺ, เว็บ al-islam.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น