อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

การประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์









ฮัจย์
1. เป็นรูกนที่ 5 ของรูกนอิสลาม ซึ่งกำหนดเป็น ฟัรดู ( ศาสนกิจระดับบังคับ ) สำหรับมุสลิมที่มีความสามารถ ( มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบพิธีฮัจย์ – เงิน อาหาร ) ต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะฮ . ในเดือน ซูลฮิจยะฮ . จำนวน ๑ ครั้งในชั่วชีวิต ( ส่วนจำนวนที่ประกอบฮัจย์มากกว่า ๑ ครั้ง จะไม่ถือเป็น วายิบ แต่ส่งเสริมให้กระทำ )
Fardu Haji : Rukun Islam yg kelima yg memerlukan seseorang muslim yg cukup syaratnya pergi ke Mekah dan melakukan beberapa ibadat yg berkaitan dengan fardu itu. di sana . – Kamus Dewan
2 เป็นศาสนพิธีในอิสลามที่กำหนดให้มุสลิมที่มีความสามารถจะต้องประกอบ พิธีฮัจย์ หนึ่งครั้งในชั่วชีวิตของมุสลิมแต่ละคน
ฮัจย์สำคัญอย่างไร
ท่านศาสดามูฮัมหมัด ( ซ . ล .) ได้กล่าวแก่ชาวมุสลิมเกี่ยวกับฮัจย์ สรุปความได้ว่า
“ โอ้ประชาติทั้งหลาย อัลลอฮ . ได้กำหนดฮัจย์เป็นหน้าที่ของพวกท่าน ( มุสลิม ) ดังนั้นท่าน ( มุสลิม ) ทั้งหลายจงทำฮัจย์ ”
จากฮะดิษข้างต้น จะเห็นว่า รูกนฮัจย์ เป็นรูกนที่อัลลอฮ . ทรงกำหนดให้มุสลิมทุกคนจะต้อง (วายิบ) ประกอบ โดยมีคำอธิบายขยายเพิ่มเติมว่า บังคับเหนือมุสลิมทุกคน ยกเว้นผู้ที่ไม่มีความสามารถกระทำได้ อธิเช่น
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากความบกพร่องทางสมอง เช่น บ้า สติไม่สมประกอบ หรือ พิการทางร่างกายที่ไม่สามารถเดินทางและประกอบพิธีฮัจย์ได้
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากความเจ็บป่วย หรือเป็นโรค เช่น เจ็บป่วยหนักอย่างต่อเนื่อง เจ็บป่วยเป็นโรคติต่อร้ายแรง หรือเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่นรอบข้าง เป็นต้น
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากความยกจน มีรายได้ไม่พอเลี้ยงดูครอบครัวระหว่างการประกอบฮัจย์ ไม่มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นระหว่างเดินทางและประกอบพิธีฮัจย์ หรือเป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นคนล้มละลาย เป็นต้น
- ไม่มีความสามารถที่จะประกอบพิธีฮัจย์เนื่องจากเหตุผลสุดวิสัยอื่น เช่น อยู่ในภาวะสงคราม โรคระบาดอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ เป็นต้น
อุมเราะฮ . : เป็นอีบาดัตซุนนะฮ . ประการหนึ่ง ที่สามารถกระทำได้ ณ นครมักกะฮ. ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรมอิฮรอม ตอวาฟ แซแอร์ และตะฮาลลูล โดยจะไม่ประกอบกิจกรรมวายิบของฮัจย์ บางครั้งเรียมอุมเราะห์ว่า ฮัจย์เล็ก
  UMRAH : Umrah ialah Ibadat yg mengadungi beberapa perbuatan seperti ihram, tawaf, sai, dan tahalul. Tanpa wukuf wajib-wajib haji. - ada di panggel : selalu dipanggil Haji kecil

การประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ มี ๓ วิธี
๑ . อิฟรอด คือ การทำฮัจย์ก่อนการทำอุมเราะฮ . ฮุจญาดผู้ประกอบพิธีฮัจย์แบบฮัจญ์อิฟรอด จะประกอบพิธีฮัจญ์ก่อนทำอุมเราะฮ . หลังจากเสร็จพิธีฮัจญ์แล้วเขาจะเดินทางออกจากแผ่นดินฮะรอม แล้วเนียตเอียะฮ . รอมอุมเราะฮ . แล้วเดินทางเข้ามักกะฮ . เพื่อประกอบพิธีอุมระฮ . โดยต้องทำต้องทำภายในปีเดียวกันกับปีที่ประกอบพิธีฮัจญ์ วิธีอิฟรอด เป็นวิธีประกอบฮัจญ์ที่ดีกว่า การประกอบพิธีฮัจญ์วิธีตะมัตตุอ . และวิธีกิรอน โดยไม่ต้องเสียดัม ( ตามมัซฮับซาฟีอี )
๒ . ตะมัตตุอ . คือ การทำอุมเราะฮ . ในช่วงเวลาฮัจญ์ เมื่อเสร็จการทำอุมเราะฮ . แล้วฮุจญาดจะทำพิธีฮัจญ์ในปีเดียวกัน การประกอบพิธีฮัจญ์วิธีตะมัตตุอ . จะดีกว่าการประกอบพิธีฮัจญ์วิธีกิรอน แต่ต้องเสียดัม ( ค่าปรับต่อการกระทำผิดพลาด หรืออาจจะบกพร่องกรณีใดกรณีหนึ่งตามรูกนฮัจญ์ )
๓ . กิรอน คือ การทำฮัจญ์และอุมเราะฮ . พร้อมกันในช่วงเวลาฮัจญ์ หรือการเนียตทำอุมเราะฮ . แล้วนำเอาพิธีฮัจญ์เข้ามาก่อนลงมือทำอุมเราะฮ . แล้วก็ทำพิธีฮัจญ์จนแล้วเสร็จ ทั้ง ๒ รูปแบบนี้ผู้ปฏิบัติจะได้ทั้งฮัจญ์ และอุมเราะฮ . ในคราวเดียวกัน เพราะพิธีฮัจญ์ได้ครอบคลุมถึงพิธี อุมเราะฮ . อยู่แล้ว แต่ต้องเสียดัม
รูกนของฮัจย์ มี ๖ ประการ ดังนี้
๑ . เอียะฮ . รอม คือ การตั้งเจตนา ( เนียต ) ทำพิธีฮัจย์ ฮุจญาดหรือผู้ที่จะประกอบพิธีฮัจย์ทุกคนจะต้องเริ่มต้นด้วยรูกนนี้ มิฉะนั้นการกระทำหลังจากนี้ทั้งหมดจะถือว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีฮัจย์ การตั้งเจตตนาหรือเนียต สามารถกล่าวด้วยข้อความต่อไปนี้
“ ข้าพเจ้าตั้งเจตนาทำฮัจญ์ และครองตนไม่ละเมิดสิ่งต้องห้ามด้วยการทำฮัจย์ เพื่ออัลลอฮ . ซุบฮานาฮูวาตะอาลา ”
๒ . วุกูฟ คือ การเดินทางไปปรากฏตัว ณ ทุ่งอะรอฟะฮ . ในช่วงเวลาตั้งแต่ตะวันคล้อยของวันที่ ๙ ของเดือนซุลฮิจญะฮ . และพักแรมคืน ณ ทุ่งมุซดะลีฟะฮ. ถึงเริ่มแสงอรุณ (หรือ พักแรมอย่างน้อยถึงหลังเที่ยงคืน) ของวันที่ ๑๐ เดือนซุลฮิจญะฮ . หรือ ที่เรียกว่า วันกุรบาน ซึ่งจะเป็น วันอิดิลฮัฎฮา (Idil Adha) หรือ วันรายอฮัจญี ของที่อื่นๆที่ไม่ใช่ทุ่งอะรอฟะฮ .( ทุกชุมชนมุสลิมที่นอกเหนือจากกลุ่มฮุจญาจที่อยู่ระหว่างประกอบฮัจย์ (วูกูฟ) ณ ทุ่ง อะรอฟะฮ . จะเป็นวันอิดิลอัฏฮา จะทำการละหมาดอิดิลอัฎฮา และทำการกุรบาน)
๓ . ตอวาฟ คือ การเดินเวียนรอบกะบะฮ . หรือ ไบตุลเลาะฮ . ( ฮุจยาดปกติจะเดินเท้า ส่วนฮุจยาดที่ชรา หรือ พิการ หรือ ไม่สบาย สามารถจ้างลูกหาบช่วยหาบ (ใช้เปลคล้ายเปลคนไข้) หรือ ใช้รถเข็น รอบกะบะฮ . แทนการเดินเท้า เป็นต้น การตอวาฟรอบกะบะฮ . จะเวียนซ้าย ( ทวนเข็มนาฬิกา ) จำนวน ๗ รอบ เริ่มจากแนวเส้นเริ่มต้น ซึ่งจะทำเป็นเครื่องหมายให้สามารถสังเกตได้ทั้งบนพื้น และที่อาคารมัสยิด เวลาตอวาฟเริ่มตั้งแต่เวลาพ้นเวลาเที่ยงคืนของวันที่ ๑๐ เดือน ซุ้ลฮิจยะฮ . แนวเส้นทางการตอวาฟดังแผนภูมิต่อไปนี้
เงื่อนไขในการตอวาฟ
เงื่อนไขของการตอวาฟมี 6 ประการ คือ
1. ร่างกายต้องสะอาดจากอะดัสใหญ่และเล็ก และสะอาดจากนะยิสต่างๆ
2  ต้องปกปิดอวัยวะที่พึงสงวน
3  ต้องตั้งเจตนา (เนี๊ยต) ทำการตอวาฟ สำหรับตอวาฟทั่วไป สำหรับตอวาฟที่เกี่ยวกับพิธีฮัจย์ และอุมเราะฮ. ก็ไม่ต้องเนี๊ยต เพราะการเนี๊ยตเอียะฮ.รอม นั้นได้ครอบคลุมถึงพิธีการทั้งหมดแล้ว
4  ต้องเริ่มการตอวาฟที่แนวมุมหินดำ (มีเส้นแนวกำหนด สามารถสังเกตุเส้นแนวที่กำหนดเป็นเส้นเริ่มต้นได้ที่พื้นลานรอบไบตุลลอฮ. และอาคารมัสยิดฮะรอมรอบใน)
5  ต้องรักษาแนวการเดิน หรือวิ่งเยาะๆตอวาฟให้ไบตุลลอฮ.อยู่ด้ายซ้ายของผู้ตอวาฟเสมอตลอการตอวาฟ และต้องตอวาฟในมัสยิดฮะรอมเท่านั้น
6 ต้องตอวาฟ.ห้ครบ 7 รอบ โดยมั่นใจ
๔ . สะอีย์ ( สะแอ ) คือ การเดินระหว่างเนินเขาซอฟา กับ เนินเขามัรวะห์ ๗ เที่ยว โดยให้เริ่มจากเนินเขาซอฟา ไปถึงเชิงเนินเชา มัรวะห์นับเป็น ๑ เที่ยว แล้วเริ่มนับเที่ยวที่ ๒ เดินจากเนินเขามัรวะห์ ถึง เนินเขาซอฟา นับต่อๆไปจนครบ ๗ เที่ยวจบ การสะอีย์ที่ เนินเขามัรวะห์
๕ การโกน หรือ ตัดเส้นผม หลังการซะอีย์ครบ ๗ เที่ยว ที่เนินเขามัรวะห์ แล้วจะต้องทำการโกนผม หรือ ตัดเส้นผม สำหรับฮุจญาจชายจะดีที่สุดคือการโกนศีรษะ สำหรับฮุจญาจสตรีนั้นส่งเสริมให้ตัดเส้นผมดีกว่าการโกนทั้งศีรษะ
๖ การปฎิบัติเรียงลำดับของรูกน ( ตารติบ ) หมายถึง การปฏิบัติรูกนฮัจย์ที่กล่าวมาเรียงลำดับขั้นตอนไม่สับสน และขาดขั้นตอน ซึ่งจะเริ่มจากการเอียะห์รอม แล้ววูกูฟ ตอวาฟ สะอีร์ แล้วตัดหรือโกนผม การทิ้งรูกนฮัจย์รูกนหนึ่งรูกนใดจะทำให้พิธีฮัจย์ใช้ไม่ได้
วายิบฮัจย์มี 4 ประการ
๑ . เอียะห์รอมจากสถานที่ และในเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับผู้ที่อาศัยในนครมักกะฮ . สถานที่ที่กำหนดสำหรับเอียะห์รอม คือ ขอบเขตนครมักกะฮ .
•  สำหรับผู้ที่อาศัยในนครมะดีนะฮ . สถานที่ที่กำหนด คือ “ ซุลฮุไลฟะฮ .” หรือ ที่เรียกในปัจจุบันว่า “ อาบารอะลี ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าจากมักกะฮ . ทางประเทศ ชาม ( ซีเรีย ) อียิปต์ และมอร๊อคโค สถานที่ที่กำหนดเป็น “ ยุฮ . ฟะฮ .”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามักกะฮ . จากประเทศ เยเมน สถานที่ที่กำหนดคือ “ ยะลำลำ ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากเมือง ฮิยาซ กำหนดให้เอียะห์รอมที่ “ กอรนุ้ลมะนาซิ้ล ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามักกะฮ . จากเส้นทางตะวันออก ให้เอียะห์รอมที่ “ ซาตุอิรก์ ”
•  สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากเส้นทางอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ข้างต้นให้ถือเอาเส้นทางผ่านซึ่งตรงกันกับสถานที่ที่ได้กำหนดไว้แล้วนั้น
•  ส่วนเวลาที่กำหนดสำหรับเอียะห์รอมคือ สามารถกระทำได้ตั้งแต่เริ่มเข้าเดือนเซาวาล เดือนซุ้ลเกียะห์ดะห์ และอีก ๑๐ วันแรกของเดือนซุ้ลฮิจยะห์ ( รวมช่วงเวลาที่สามารถทำเอียะห์รอมได้ คือ ๗๐ วัน )
๒ . การพักแรมที่ มุซดาลิฟะฮ . หลังวูกูฟที่ทุ่งอารอฟะฮ .
กำหนดให้ฮุจยาดเดินทางออกจากทุ่งอารอฟะฮ . หลังฮัสรีไปยังที่ทุ่งมุซดาลีฟะห์พักแรมที่ทุ่งมุซดาลีฟะห์จนถึงหลังซุบฮิ หรืออย่างน้อยหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๑๐ ซุลฮิจยะฮ . ซึ่งเป็นวันเชือดสัตว์ทำ กุรบาน ( วันอิดิลอัฏฮา ของชุมชนทั่วไป )
๓ . การพักแรมที่มินา หลังเดินทางออกจากทุ่งมุซดาลีฟะฮ . ฮุจยาดจะต้องเดินทางกลับที่ทุ่งมินา และพักแรมที่มินา ๓ คืน คือ วันที่ ๑๑ , ๑๒ และ ๑๓ ซุลฮิจยะฮ . หรือที่เรียกว่า “ วันตัซรีก ”
๔ . การขว้างเสาหิน มีกำหนด ๓ ต้น ในกำหนดเวลาดังนี้
•  วันแรกขว้างเสาต้นที่ ๑ เรียกว่า “ ยัมรอตุลอะกอบะฮ .” สามารถเริ่มขว้างตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืนของวันที ๑๐ เดือนซุลฮิจยะฮ . ด้วยก้อนกรวดที่เก็บจากลานทุ่งมุซดาลีฟะฮ . จำนวน ๗ ก้อน
•  วันที่ ๑๑ ๑๒ และ ๑๓ เดือนซุลฮิจยะฮ . ฮุจญาจจะเดินออกจากเต็นที่พัก ณ ทุ่งมีนา ไปขว้างเสาหินทั้ง ๓ ต้นๆ ละ ๗ ก้อน ตามลำดับ โดยกำหนดให้เริ่มจากเสา ยัมรอตุ้ลอูลา แล้วขว้าง เสายัมรอตุล วุสตอ และเสายัมรอตุลอะกอบะฮ . ตามลำดับ
หมายเหตุ หากมีการละเว้นการปฏิบัติวายิบฮัจย์ประการใดประการหนึ่งไม่ทำให้เสียพิธีฮัจญ์ แต่ฮุจญาดผู้นั้นต้องเสียดัม ( ค่าปรับ )
สิ่งที่ควรปฏิบัติ ( สุนัต ) ในพิธีฮัจย์
สิ่งที่ควรปฏิบัติ หรือ สุนัต ที่ส่งเสริมในระหว่างการทำฮัจย์มีดังต่อไปนี้
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเพื่อการเอียะฮ . รอม เพื่อเดินทางเช้ามักกะฮ . และอาบน้ำชำระร่างกายเพื่อเอียะฮ . รอมเพื่อวูกูฟ
•  ใส่เครื่องหอมที่ร่างกาย และเสื้อผ้าก่อนการเอียะฮ.รอม (ส่วนการใส่เครื่องหอมหลัง เอียะฮ.รอมแล้วถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม)
•  กล่าว “ ตัลบียะฮ. ”
ควรกล่าว ตัลบียะฮ.ด้วยเสียงค่อนข้างดัง กล่าวต่อเนื่อง หรือกล่าวให้มากที่สุดที่ทำได้ หลังเริ่มเอียะฮ.รอม ก่อนเข้านครมักกะฮ. เริ่มเดินทางไปทุ่งมีนา จนถึงการขว้างเสาหินที่ ยำรอตุลอะกอบะฮ.
•  พักแรมคืนที่ ทุ่งมีนา ในคืนวันที่ 9 ซุลฮิจยะฮ.
•  พักแรมจนถึงรุ่งอรุณที่ ทุ่ง มุซดาลีฟะฮ.
•  หยุดพักที่ มัชอะริ้ลฮะรอม
•  ขอดุอาฮ. เตาบัต อ่านกุรอาน และซิเกร์ให้มากๆ
•  บริจาคทานให้มาก
•  ละหมาดที่มัสยิดหะรอม
•  ปฏิบัติสุนัตอื่นๆให้มากระหว่างประกอบฮัจญ์

ตั้งเจตนาเอียะฮฺรอม(รูกน) จากสถานที่ที่(วายิบ) 
ภายหลังตะวันคล้อย ของวันที่ 9 (รูกน) 
ภายหลังเที่ยงคืนของวันที่ 10 (วายิบ )  
เสา “ ยำรอตุ้ลอะกอบะฮ. ” หลังเที่ยงคืนวันที่ 10 ถึง วัน ที่ 13 (วายิบ)
โกนศีรษะ หรือ ตัดผมบางส่วน ( รูกน)
 เดินทางกลับมักกะฮ. เพื่อตอวาฟ ( รูกน)
 ทำสะอีร์ หลังตอวาฟ (รูกน)
 พักแรมคืนที่มีนา 3 คืน (วายิบ)
 ขว้างเสาหินวันที่ 11 12 และ 13 ต้นละ 7 ก้อน รวม 21 ก้อน (วายิบ)

ค่าดัมในการละทิ้งวายิบฮัจย์
•  ในกรณีมีการละทิ้งไม่การทำ วายิบฮัจญ์ ประการใดประการหนึ่ง เช่น
•  ละเว้นหรือลืมกรทำเอียะห์รอม ณ สถานที่ที่กำหนด หรือ
•  ละเว้นการพักแรมคืน ณ “ มุซดาลีฟะห์ ” หรือ
•  ละเว้นการพักแรมคืนที่ “ มีนา ” หรือ
•  ละเว้นการขว้างเสาหิน หรือ
•  ละเว้นการตอวาฟอำลา
•  กำหนดต้องเสียค่าดัม ( ค่าปรับ ) ดังนี้คือ
1. ให้เชือดแพะ หรือ แกะ 1 ตัว แล้วให้แจกจ่ายเนื้อแก่คนยากจน ถ้าไม่สามารถกระทำได้ ( ไม่สามารถหา หรือ ซื้อ แพะ หรือ แกะ เชือดเสียดัมได้ ) กำหนดให้ ถือศิลอด ( ปัวซอ ) เป็นเวลา 10 วัน โดยถือ ศิลอด 3 วัน ภายหลังเอียะห์รอม ( ควรถือศิลอด ในวันที่ 6, 7 และ 8 ของเดือน ซุลฮิจยะห์ ส่วนอีก 7 วันที่เหลือ นั้นให้ถือเมื่อเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญ์ถึงภูมิลำเนาเดิมแล้ว ( กลับถึงบ้านของฮุจญาดแต่ละคน )
2 .กรณีละเว้นการพักแรมคืน ณ ทุ่งมีนา 1 คืน ต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร 1 มุด ( ลิตร ) 2 คืน ต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร 2 มุด ( ลิตร ) 3 คืน ต้องเสียค่าปรับเต็มอัตรา คือ เชือดแพะ หรือ แกะ 1 ตัว หรือ ถือศิลอด 10 วัน แล้วแต่กรณี
3. กรณีละเว้น การขว้างเสาหิน ( ใช้ก้อนหิน 7 ก้อน ) ถ้าขาด 1 ก้อนต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร 1 มุด ( ลิตร ) ถ้าขาด 2 ก้อน ต้องเสียค่าปรับ เป็นอาหาร 2 มุด ถ้าขาด 3 ก้อนหรือมากกว่า ต้องเสียค่าปรับเป็นอาหาร ต้องเสียค่าปรับเต็มอัตราดังได้กล่าวไว้ข้างต้น
ข้อห้ามขณะอยู่ในเฮียะห์รอม

ข้อห้ามขณะอยู่ในเอียะห์รอมมี ๗ ประการ

•  เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม

สำหรับฮุจญาจชาย

•  ห้ามปิดศีรษะ ทั้งหมดหรือบางส่วนของศีรษะ

•  ห้ามสวมใส่ด้วยเครื่องนุ่งห่มที่เย็บติดกัน หรือทอต่อกัน เช่นกาง เกง เสื้อ เป็นต้น

•  ห้ามสวมรองเท้า แบบหุ้มส้นเท้า และปลายนิ้วเท้า

•  ห้ามสวมใส่ เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับที่เป็นวงกลม หรือ เย็บต่อกันเป็นวง

สำหรับฮุจญาจหญิง

•  ห้ามสวมเครื่องแต่งกายแบบปิดใบหน้า

•  ห้ามปิดฝ่ามือ ด้วยการสวมใส่ถุงมือ

•  ไม่ห้ามเสื้อผ้าที่ตัดเย็บ หรือทอติดกัน เช่นเดียวกันกับฮุจญาจชาย

•  เครื่องหอม เครื่องประทินผิว

ทั้งฮุจญาจชาย และหญิง ห้ามใส่ หรือพรมน้ำหอม หรือ เครื่องสำอางที่ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม หรือที่นอน

•  การใส่ครีมแต่งผม ทาเครา และทาร่างกาย

ครีมหรือน้ำมันประเภทนี้มักผลิตเป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดมีกลิ่นหอม และไม่มีกลิ่นหอม สำหรับครีมหรือน้ำมันประเภทมีกลิ่นหอม ห้ามใช้ทั้งเป็นครีมแต่งผม หรือใส่ที่เครา หรือร่างกาย เช่นเดียวกันกับเครื่องหอม และเครื่องประทินผิว

ส่วนประเภทที่ไม่มีกลิ่นหอม สามารถทางตามผิวกายได้ แต่ห้ามทาหรือใส่ผม หรือเครา

•  เกี่ยวกับการโกนผม ขนและ การตัดเล็บ

ในระหว่างครองเอียะฮ์รอม ห้ามทำลายขนในร่างกาย เช่น ผม ขนรักแร้ ขนอวัยวะเพศ ขนจมูก เป็นต้น ด้วยวิธีการใดๆโดยเด็ดขาด เช่น การถอน การโกน การใส่ยาให้ขนร่วง หรือวิธีการอื่น

ข้อมูลจาก

www.fathoni.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น