อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

การยกมือขอดุอาอ์




ท่านอิบนุ อับบัสกล่าวว่า
แท้จริงท่านรสูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า


- "แบบนี้คือการให้ความบริสุทธิ์แดพระองค์อัลลอฮ์
ท่านรสูล ชีนิ้วที่อยู่ถัดจากนิ้วโป้ง (หมายถึงนิ้วชี้)


- และแบบนี้คือการขอดุอาอ์
ดังนั้นท่านรสูลยกมือทั้งสองสูงประมาณบ่าไหล่


- และแบบนี้คือการขอวิงวอน (สิ่งที่ร้ายแรงหรือมีความสำคัญ)
ท่านรสูลยกมือทั้งสองขึ้นสูง"

(บันทึกโดยบัยฮะกีย์ หะดิษที่ 2858)

การยกมือขอดุอาอ์แบ่งเป็นสามประเภท

1. การยกมือทั้งสองอยู่ในระดับเดียวกับบ่าไหล่ในสภาพที่มือทั้งสองชิดกัน
เป็นขอดุอาอ์ทั่วๆไป เช่น การขอดุอาอ์กุนูตในละหมาดวิตรฺ
หรือดุอาอฺในการประกอบพอธีฮัจญ์ทั้ง 6 สถานที่ (มีหะดิษยืนยัน)

2. การขออภัยโทษโดยยกนิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว
เป็นการขออภัยโทษหรือการให้เอกภาพต่อพะองค์อัลลอฮ์
เป็นลักษณะเฉพาะขณะขอดุอาอ์ขณะอยู่บนมิมบัรฺ
หรือขณะกล่าวสรรเสริญและให้ความยิ่งใหญ่ต่อพระองค์อัลลอฮ์

ท่านอุมาเราะฮฺ บุตรของรุอัยบะฮฺ บอกว่า
"ฉันเห็นท่านรสูลมิได้เพิ่มการคุฏบะฮ์ด้วยมือของท่าน(นอกจาก)
นอกจากอย่างนี้ แล้วเขาก็ชี้นิ้วชี้ของเขา"

(บันทักโดยมุสลิม หะดิษที่ 1443)

3. การยกมือขึ้นสูงจนกระทั้งเห็นรักแร้เพื่อขอดุอาอ์
เป็นเรื่องเจาะจงในเรื่งอที่มีความรุนแรงหรือในสภาพที่น่าสพรึงกลัว
เช่นความแห้งแล้งอย่างหนัก ประสพเคราะห์กรรมจากการรุกรานของศัตรู

ท่านอนัส บุตรของมาลิกเล่าว่า "แท้จริงท่านรสูลดุอาอ์ขอฝนโดยฝ่ามือแบ่สู้ฟ้า"
บันทึกโดยมุสลิม หะดิษที่ 1492

สำหรับการขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูนั้น มีรายงานหะดิษเป็นจำนวนมากที่กล่าวถึงความประเสริฐ แต่ไม่พบหลักฐานแม้แต่บทเดียวที่อ้างว่าท่านนบียกมือขอดุอาอ์หรือสั่งให้ยกมือขอดุอาอ์หรือยอมรับการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูของบุคคลอื่น แม้แต่หลักฐานจากบรรดาศอฮาบะฮ์ มีเพียงหะดิษที่รายว่าท่านนบีหันหน้ามาทางมะมูมเมื่อท่านสลามเท่านั้น ท่านยะซีด บุตรของอัลอัสวัด อัลอามิรีย์ เล่าว่า "ฉันละหมาดศุบฮีร่วมกับท่านรสูลุลลอฮ์ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านให้สลาม ท่านก็หันหน้ามา(ยังพวกเรา)"บันทึกโดยอะหฺมัด อบูดาวูด ติริมีซีย์ นะสาอีย์ และอิบนุ อบีย์ ชัยบะฮ์

ท่านรสูลละหมาดฟัรฎูร่วมกับบรรดาเศาะฮาบะฮ์ทุกวัน วันละ 5 เวลา แต่ไม่พบว่าบรรดาเศาะฮะบะฮ์รายงานหะดิษที่เศาะเฮียะฮ์ว่าด้วยการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู เพราะการการรายงานเพียงแค่ว่าท่านรสูลยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูไม่น่าเกิดความลำบาก หากท่านรสูลกระทำเช่นนั้นจริงๆ ทั้งที่บรรดาเศาะฮะบะฮ์เก็บรายละเอียดและจดจำสำนวนของการขอดุอาอ์หลังละหมาดไว้อย่างมากมายหลายบท

การยกมือขอดุอาอ์ของท่านรสูลกระทำในวาระอื่นๆ เช่น การยกมือขอดุอาอ์ภายหลังการขว้างหินต้นแรก ต้นที่สอง การยกมือขอดุอาอ์กุนูต..

والله أعلم

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น