อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

การหลับที่ทำให้เสียน้ำละหมาด



การนอนหลับแบบไม่รู้สึกตัว นอนหลับสนิทแม้ว่าจะมีหะดัษ (เช่น ผายลม) ก็ไม่รู้สึกตัว เช่นนี้ถือว่าเสียน้ำนมาซ อาทิเช่น นอนหลับพักผ่อนในยามค่ำคืนโดยก่อนนอนมีน้ำนมาซ ครั้นพอตื่นนอนในเวลานมาซศุบหฺ เช่นนั้น หากเขาต้องการนมาซศุบหฺ วาญิบ (จำเป็น) สำหรับเขาจะต้องอาบน้ำนมาซ หรือแม้กระทั่งการนอนหลับในระยะเวลาสั้นๆ แต่เป็นการหลับสนิท เช่นนี้ก็ถือว่าเสียน้ำนมาซเช่นกัน
ท่านศ็อฟวาน บุตรของอัสสาลเล่าว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَأْمُرُنَا إِذَا كُنَّا مُسَافِرِينَ أَنْ نَمْسَحَ عَلَى خِفَافِنَا وَلاَ نَنْزِعَهَا ثَلاَثَةَ أَيَّامٍ مِنْ غَائِطٍ وَبَوْلٍ وَنَوْمٍ إِلاَّ مِنْ جَنَابَةٍ

“ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺสั่งใช้พวกเราขณะพวกเราอยู่ในระหว่างการเดินทางโดยสั่งให้พวกเราเช็ดบนรองเท้า (คุฟ) โดยไม่ต้องถอดรองเท้าของพวกเรา แม้ว่าพวกเราจะอุจจาระ, ปัสสาวะ หรือนอนหลับก็ตาม (เป็นระยะเวลา) 3 วัน ยกมีญะนาบะฮฺเท่านั้น” 
หะดีษข้างต้นท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวถึงข้อบัญญัต (หุก่ม) ของอุจจาระ และปัสสาวะเท่ากับการนอนหลับ นั่นหมายรวมว่า การอุจจาระและปัสสาวะทำให้เสียน้ำนมาซฉันใด การนอนหลับ (สนิท) ก็ทำให้เสียน้ำนมาซฉันนั้น
ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
« وِكَاءُ السَّهِ الْعَيْنَانِ فَمَنْ نَامَ فَلْيَتَوَضَّأْ »

“เชือกผูกทวารหนัก คือดวงตาทั้งสอง ดังนั้นบุคคลนอนหลับ เขาจงอาบน้ำนมาซเถิด” 

ฉะนั้นประเด็นการเสียน้ำนมาซขณะนอนหลับมิใช่มีสาเหตุมาจากการนอนหลับ แต่เป็นสาเหตุที่ผู้นอนหลับไม่สามารถรับรู้สิ่งใดออกมาจากทวารหนัก หรือทวารเบาของเขาต่างหาก เพราะท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า ดวงตาทั้งสองประหนึ่งเชือกผูกทวารหนัก นั่นหมายถึงหากไม่หลับก็ไม่มีเชือกผูกทวาร เพราะเขาสามารถรู้สึกตัวว่าตนเองมีสิ่งใดบ้างออกจากทวารทั้งสองของเขา

อนึ่ง การนอนแบบเผลอหลับ, สะลึมสะลือ หรือสัปหงก ซึ่งผู้นอนหลับนั้นครึ่งหลับครึ่งตื่น โดยไม่พิจารณาว่าการนอนเช่นนั้นจะนอนในสภาพที่ก้นแนบกับพื้นหรือไม่แนบกับพื้น หรือนอนในสภาพตะแคงก็ตาม ล้วนแล้วไม่ทำให้เสียน้ำนมาซทั้งสิ้น เพราะการนอนในสภาพเช่นนั้นยังรู้สึกตัว ไม่ถึงกับหลับสนิท
 ดังหะดีษระบุว่า
ท่านเกาะตาดะฮฺเล่าว่า ฉันได้ยินท่านอนัสพูดว่า

كَانَ أَصْحَابُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَنَامُونَ ثُمَّ يُصَلُّونَ وَلاَ يَتَوَضَّئُونَ قَالَ قُلْتُ سَمِعْتَهُ مِنْ أَنَسٍ قَالَ إِى وَاللَّهِ

“ปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านรสูลุลลอฮฺเคยนอนหลับ จากนั้นพวกเขาก็นมาซ โดยที่พวกเขามิได้อาบน้ำนมาซใหม่ (แต่อย่างใด) เขาเล่าว่า ฉันถามว่า ท่านได้ยิน (สิ่งข้างต้น) จากท่านอนัส (จริง) หรือ? เขาตอบว่า ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ (ฉันได้ยินเช่นนั้นจริง)” 

ท่านอนัสเล่าว่า
أُقِيمَتِ الصَّلاَةُ وَرَجُلٌ يُنَاجِى رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَمَا زَالَ يُنَاجِيهِ حَتَّى نَامَ أَصْحَابُهُ ، ثُمَّ قَامَ فَصَلَّى

“ครั้งหนึ่งเมื่อได้เวลานมาซ ท่านรสูลุลลอฮฺคุยอยู่กับชายผู้หนึ่ง (เวลาผ่านไป) ท่านรสูลก็ยังคุยกับชายผู้นั้น จนกระทั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺเผลอหลับไป จากนั้นท่านรสูลก็มาเป็นอิมามนำนมาซพวกเขา” 

ส่วนกรณีที่เห็นคนข้างๆ นั่งหลับขณะที่กำลังคุฏบะฮฺอยู่นั้น ไม่อนุญาตโดยเด็ดขาดที่เราจะไปปลุกเขา หรือทำให้เรียกให้เขาตื่น เพราะท่านรสูลุลอฮฺห้ามไปยับยั้ง, เตือนคนข้างๆ ขณะที่กำลังคุฏบะฮฺ เพราะถ้าหากทำเช่นนั้น ผลบุญในการนมาซวันศุกร์ถือว่าโมฆะ

. والله أعلم

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น