อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

กรณีอ่านดุอาอ์กุนูต




1.อ่านดุอาอ์กุนูต"นาซิละฮฺ" หรือ "นะวาซิล” (กุนูตวิกฤต) ในทุกวักตูหรือบางวักตูของละหมาด  ซึ่งเป็นกุนูตในสถานการณ์ที่เกิดปัญหากับประชาชาติอิสลาม

เมื่อพี่น้องมุสลิมเดือดร้อน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บัญญัติให้อิมามรณรงค์ขอดุอาอฺในการละหมาดทุกวักตู(ถ้าทำได้) หรือเลือกบางวักตูก็ได้ โดยการกุนูตก่อนหรือหลังรุกัวอฺในร็อกอะฮฺสุดท้าย ขอดุอาอฺให้อัลลอฮฺช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมและลงโทษผู้อธรรม

 فدعا النبي صلى الله عليه وسلم شهرا في

รายงานจากอนัสเล่าว่า ความว่า “ท่านนบีมุหัมมัดดุอาอ์  (กุนูตเป็นระยะเวลา) หนึ่งเดือนในละหมาดศุบหฺ” (บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)


ท่านอนัส บุตรของมาลิก ได้เล่าเกี่ยวกับนักอ่านอัลกุรอานถูกฆ่าตาย เขากล่าว่า อนัสได้กล่าวแก่ฉันว่า "ฉันเห็นท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ทุกครั้งที่ละหมาดศุบฮฺ ท่านรสูล ยกมือทั้งสอง เพื่อขอดุอาอ์สาปแช่งพวกเขา หมายถึงบรรดาผู้ซึ่งสังหารนักอ่าน"
(บันทึกโดยบัยหะกีย์ หะดิษเลขที่ 3145)

รายงานจากท่านบารออ์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า "ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยอ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์ และมักริบ" 
(บันทึกโดยบุคอรี มุสลิม อบูดาวูด ติรมีซีย์)

มีผู้ถามท่านอนัสว่า "ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เคยอ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์บ้างหรือป่าว "? ท่านอนัสตอบว่า "ท่านรสูลเคยอ่านดุอาอ์กุนูตหลังจากรุกัวอ์เป็นเวลาไม่นานนัก"
(บันทึกโดย บุคอรี มุสลิม อบูดาวูด และนาซาอี)

ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า "สาบานต่ออัลลอฮ์ว่า แน่แท้ข้าพเจ้าจะละหมาดให้พวกท่านทั้งหลายได้ศึกษาเหมือนอย่างที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ละหมาด ประากฏว่า ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ได้อ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดดุฮ์รี ละหมาดอีชาครั้งสุดท้าย และละหมาดศุบฮ์ วิงวอนขอให้มวลมุสลิมและสาปแช่งพวกกาเฟร"
(บันทึกหะดิษโดย มุสลิม อบูดาวูด และนาซาอี)

2.ดุอากุนูนในละหมาดวิตรฺ ซึงเป็นละหมาดที่ส่งเสริมให้กระทำในยามค่ำคืน แต่ส่งเสริมให้ละหมาดวิตรฺเป็นะละหมาดสุดท้ายของกลางคืน รวมถึงกุนูตในละหมาดวิตรฺในสิบห้าคืนหลังของเดือนรอมฎอน

จะขอดุอาอ์กุนูตก่อนหรือหลังรุกัวอ์ ของละหมาดวิตรฺ

-หลักฐานให้อ่านดุอาอ์กุนูตก่อนรุกัวอ์


عن أبي بن كعب أن رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يوتر بثلاث ركعات كان يقرأ في الأولى بسبح اسم ربك الأعلى وفي الثانية بقل يا أيها الكافرون وفي الثالثة بقل هو الله أحد ويقنت قبل الركوع فإذا فرغ قال عند فراغه سبحان الملك القدوس ثلاث مرات يطيل في آخرهن
تحقيق الألباني :
صحيح ، ابن ماجة ( 1171 )

จากท่านอุบัยฺ บุตรของกะอฺบ์ ปรากฏว่าท่านรสูลุลลอฮฺละหมาดวิตรฺสามร็อกอะฮฺ โดยอ่านสูเราะฮฺอัลอะอฺลาในร็อกอะฮฺแรก, อ่านสูเราะฮฺกาฟิรูนในร็อกอะฮฺที่สอง และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศในร็อกอะฮฺที่สาม แล้วท่านนบีก็ดุอาอ์กุนูตก่อนรุกูอฺ ครั้งเมื่อนมาซเสร็จ ท่านรสูลก็กล่าว สุบหานัลมะลิกิลกุดดูส สามครั้ง และลากเสียงยาวในครั้งสุดท้าย" (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ, เชคอัลบานีย์ระบุว่าเป็นหะดีษเศาะหี้หฺ)


وأصحاب النبي ( صلى الله عليه وسلم ) كانوا يقنتون في الوتر قبل الوكوع . وهذا سند جيد
وهو على شرط مسلم

ความว่า "ปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด พวกเขาจะขอดุอาอ์กุนูตในละหมาดซวิตรฺก่อนรุกูอฺ" (บันทึกหะดิษโดย อิบนุมาญะฮ์ หะดิาเลขที่ 1238 สายรายงานเศาะหี้หฺ)

 รายงานมาจาก ท่านอัมรฺ บิน อับดุลลอฮ์ อัล-บัศรีย์,  ซึ่งรายงานมาจาก ท่านอัล-ฟัฎล์ บิน มุหัมมัด บิน อัล-มุซัยยับ ...  แล้วสืบสายรายงานไปจนถึง  ท่านหะซัน บิน อะลีย์  ร.ฎ.  ซึ่งกล่าวว่า ....

     عَلَّمَنِىْ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ أَقُوْلَ إِذَافَرَغْتُ مِنْ قِرَاءَتِىْ فِى الْوِتْرِ :  أَللَّهُمَّ اهْدِنِىْ فِيْمَنْ هَدَيْتَ ........... اَلْحَدِيْثَ ..                                                
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม  ได้สอนให้ฉันกล่าว (คืออ่านดุอากุนูต) เมื่อฉันเสร็จสิ้นจากการอ่าน ในนมาซวิตรฺ ว่า ..  อัลลอฮุมะฮ์ดินีย์ ฟีมันฮะดัยต์ ............ (จนจบหะดีษ) ...
คำกล่าวของท่านหะซันที่ว่า ..  ท่านนบีย์ได้สอนให้ท่านอ่านดุอากุนูตเมื่อ ..  “เสร็จสิ้นจากการอ่านแล้ว” ..   ตามรูปการก็คือ ..  “เสร็จสิ้นจากการอ่านฟาติหะฮ์และซูเราะฮ์แล้ว” ..  ก่อนจะก้มลงรุกั๊วะอฺ นั่นเอง ...


-หลักฐานอ่านดุอาอ์กุนูตหลังรุกัวอ์ 

ท่านมุฮัมหมัดเล่าว่า "ท่านอนัสบุตรของมาลิกถุกถามเกี่ยวกับการกุนูต เขาตอบว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กุนูตหลังจากรุกัวอ์ " (บันทึกหะดิษโดย อิบนุมาญะฮ์ หะดิาเลขที่ 1184 หะดิษเศาะเฮียะฮ์ )

....................


!!!!!!****สำหรับกรณีอ่านดุอาอ์กุนูตในร็อกอะฮ์สุดท้ายหลังรุกัวอ์ในละหมาดซุบฮ์ในเวลาปกติ ซึ่งไม่ใช่กรณีเกิดวิกฤตการณ์ที่เกิดปัญหากับประชาชาติอิสลาม(ดุอาอ์กุนูตนาซิละฮฺ) นั้น
ท่านอิมามชาฟีอีย์ และอิมามมะลิกมีทัศนะว่า ถือเป็นสุนะฮ์ให้อ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์เป็นประจำ ส่วนทัศนะอื่น่ ไม่ว่าท่านอิมามฮานาฟีย์ อิมามอะหฺมัด ไม่มีการอ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์เป็นประจำแต่อย่างใด ซึ่งท่านอิมามชาฟีอีย์ และท่านอิมามมาลิก ได้อาศัยหลักฐานหะดิษที่ให้อ่านดุอาอ์กุนูตในละหมาดศุบฮ์เป็นประจำดังนี้

ท่านอบูญะอฺฟัรฺ อัรฺ-รอซีย์ (สิ้นชีวิตต้นปี ฮ.ศ. 160)  ได้รายงานมาจากท่านรอเบี๊ยะอฺ บินอนัส (เป็นตาบิอีน,  สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 140)  ซึ่งได้รายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. (เป็นเศาะหาบะฮ์,  มีความขัดแย้งในปีสิ้นชีวิตว่า เป็นปี ฮ.ศ. 93 หรือปี ฮ.ศ. 102) ว่า ...

 عَنْ أَنَسٍ أَنَّ النََِّّبى صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَنَتَ شَهْرًا يَدْعُوْ عَلَيْهِمْ ثُمَّ تَرَكَهُ،  فَأَمَّا فِى الصُّبْحِ فَلَمْ يَزَلْ يَقْنُتُ حَتَّى فَارَقَ الدُّنْيَا

  ความว่า .. “จากท่านอนัส บินมาลิก กล่าวว่า  แท้จริงท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านดุอากุนูตหนึ่งเดือน เพื่อสาปแช่งชนกลุ่มนั้น  หลังจากนั้น ท่านก็ละทิ้งมัน,  อนึ่ง สำหรับการกุนูตในละหมาดศุบฮ์นั้น ท่านยังคงอ่านต่อไปจนท่าน(ตาย)จากโลกนี้ไป” 
(ผู้บันทึกหะดีษนี้คือ ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัส-สุนัน อัล-กุบรอ”  เล่มที่ 2  หน้า 201,  ท่านอัด-ดารุกุฎนีย์  ในหนังสือ “อัส-สุนัน”  เล่มที่ 2 หน้า  39,   ท่านอับดุรฺ ร็อซซากในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ”  เล่มที่ 3  หน้า 110 หรือหะดีษที่ 4964,   ท่านอะห์มัดในหนังสือ “อัล-มุสนัด”  เล่มที่ 3  หน้า 162,    ท่านอัฎ-เฎาะหาวีย์ในหนังสือ “ชัรฺหุ มะอานีย์ อัล-อาษารฺ”  เล่มที่ 1  หน้า 244,   ท่านอิบนุอบีย์ชัยบะฮ์ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ”  เล่มที่ 2 หน้า 211,   ท่านอิบนุลญูซีย์ในหนังสือ “อัล-อิลัล อัล-มุตะนาฮิยะฮ์”  เล่มที่ 1  หน้า 445,   ท่านอัล-บัฆวีย์ในหนังสือ “ชัรฺหุ อัซ-ซุนนะฮ์”  เล่มที่ 2  หน้า 244,   และท่านอัล-หากิมในหนังสือ “อัล-อัรฺบะอีน”)

 ข้อความข้างต้นเป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัด-ดารุกุฏนีย์

!!!!!แต่ข้อความในประโยคที่สองหรือประโยคหลังที่ว่า .. “อนึ่ง สำหรับในนมาซซุบห์ ท่านนบีย์ฯ จะยังคงอ่านกุนูตต่อไปจนกระทั่งท่านสิ้นชีวิต” นักวิชาการหะดีษจำนวนมากกล่าวว่า เป็นข้อความที่ถูกปฏิเสธความถูกต้อง .. หรือที่เรียกตามศัพท์วิชาการหะดีษว่า เป็นข้อความที่ “มุงกัรฺ” .


ท่านอบูญะอฺฟัรฺ อัรฺ-รอซีย์  เป็น “เพียงผู้เดียว” ที่รายงานหะดีษด้วยข้อความข้างต้นนี้ มาจากท่านรอเบี๊ยะอฺ บินอนัส,  จากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ...
       

ท่านอัล-หากิม อัน-นัยซาบูรีย์ กล่าวว่า ...
                                                       إِسْنَادُ هَذَاالْحَدِيْثِ حَسَنٌ
“สายรายงานของหะดีษนี้ สวยงาม” ...
(จากหนังสือ “ชัรฺหุ อัซ-ซุนนะฮ์” ของท่านอัล-บัฆวีย์  เล่มที่ 2  หน้า 244)

ท่านอิหม่ามอัน-นะวะวีย์ ได้กล่าวหลังจากนำหะดีษบทนี้ลงบันทึกไว้ในหนังสือ “อัล-มัจญมั๊วะอฺ” ของท่าน เล่มที่ 3  หน้า 504 ว่า ...

    حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ، رَوَاهُ جَمَاعَةٌ مِنَ الْحُفَّاظِ وَصَحَّحُوْهُ،  وَمِمَّنْ نَصَّ عَلَى صِحْتَهِ ِالْحَافِظُ أَبُوْ عَبْدِاللهِ مُحَمَّدُ بْنُ عَلِىٍّ  الْبَلْخِىُّ،  وَالْحَاكِمُ أَبُوْ عَبْدِاللهِ فِىْ مَوَاضِعَ مِنْ كُتُبِهِ،  وَالْبَيْهَقِىُّ                                                                                  
“(หะดีษนี้) เป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์!  รายงานโดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่งจากบรรดานักวิชาการหะดีษระดับหาฟิศ และพวกเขาถือว่า มันเป็นหะดีษเศาะเหี๊ยะอ์, .. และส่วนหนึ่งจากผู้ที่ระบุชัดเจนถึงความเศาะเหี๊ยะฮ์ของหะดีษนี้  ได้แก่ ท่านหาฟิศอบูอับดิลลาฮ์ มุหัมมัด อัล-บัลคีย์,  ท่านอัล-หากิม อบูอับดิลลาฮ์ ในหลายตำแหน่งจากตำราต่างๆของท่าน,  และท่านอัล-บัยฮะกีย์”



>>>>> แต่ขณะเดียวกัน ก็มีนักวิชาการหะดีษอีกมิใช่น้อยที่มองว่า  หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษมุงกัรฺ  (حَدِيْثٌ مُنْكَرٌ)  คือ หะดีษที่ถูกคัดค้านความถูกต้องซึ่งถือเป็นหะดีษที่เฎาะอีฟมากประเภทหนึ่ง


  วิเคราะห์
หะดีษการอ่านกุนูตจากการรายงานของท่านอบูญะอฺฟัรฺอัร-รอซีย์ข้างต้น  จะแบ่งออกเป็น 2 ประโยคคือ ...
ประโยคแรก  กล่าวว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านกุนูตเพื่อสาปแช่งชนกลุ่มนั้น เป็นเวลา 1 เดือน  หลังจากนั้นท่านก็ละทิ้งมัน ...
ประโยคที่สองกล่าวว่า  อนึ่งสำหรับการกุนูตในนมาซซุบห์นั้น  ท่านยังคงอ่านมันต่อไปจนท่านสิ้นชีวิต

สถานภาพของหะดีษบทนี้จากประโยคแรกที่กล่าวว่า .. “ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ่านกุนูตเพื่อสาปแช่งชนกลุ่มหนึ่งเป็นเวลา 1 เดือน,  หลังจากนั้นท่านก็ละทิ้งมัน” .. ถือเป็นรายงานที่ถูกต้อง (صَحِيْحٌ)   ทั้งนี้ เพราะมีหลักฐานสนับสนุนมาทั้งในลักษณะ شَاهِدٌ (พยานยืนยัน, คือหะดีษซึ่งรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์ท่านอื่นที่มีข้อความคล้ายคลึงกับหะดีษข้างต้น) .. และในลักษณะ مُتَابِعٌ (รายงานที่สอดคล้องกัน, คือหะดีษจากกระแสอื่นซึ่งรายงานมาจากเศาะหาบะฮ์ท่านเดียวกัน,  มีข้อความสอดคล้องหรือเหมือนกันกับหะดีษข้างต้น)  จากการบันทึกของท่านบุคอรีย์,  ท่านมุสลิม,  และนักวิชาการท่านอื่นอีกมาก

!!!!แต่ข้อความในประโยคที่สองหรือประโยคหลังที่ว่า .. “อนึ่ง สำหรับในนมาซซุบห์ ท่านนบีย์ฯ จะยังคงอ่านกุนูตต่อไปจนกระทั่งท่านสิ้นชีวิต” .. นั้น  นักวิชาการหะดีษจำนวนมากกล่าวว่า เป็นข้อความที่ถูกปฏิเสธความถูกต้อง .. หรือที่เรียกตามศัพท์วิชาการหะดีษว่า เป็นข้อความที่ “มุงกัรฺ” .


.คำว่า หะดีษมุงกัรฺ (مُنْكَرٌ) ซึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟ .. ตามทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ --โดยทั่วๆไป -- จะมีความหมาย 2 นัย คือ ...
1.  หมายถึงหะดีษซึ่ง .. ผู้รายงานที่ขาดความเชื่อถือเพราะมีความผิดพลาดอย่างน่าเกลียด (فَحُشَ غَلَطُهُ),  หรือหลงลืมบ่อยๆ (كَثُرَتْ غَفْلَتُهُ),  หรือปรากฏความชั่ว(ฟาซิก)ชัดเจน (ظَهَرَفِسْقُهُ)  ได้รายงานหะดีษนั้นมาเพียงคนเดียว .. ไม่ว่าจะมีการรายงานที่ขัดแย้งมาจากผู้อื่นหรือไม่ก็ตาม ...
2.  หมายถึง “หะดีษ” ซึ่งผู้รายงานที่ขาดความเชื่อถือ ได้รายงานมาให้ขัดแย้งกับผู้รายงานท่านอื่นที่เชื่อถือได้,..หรือ “ข้อความ” ซึ่งผู้รายงานที่ขาดความเชื่อถือ ได้รายงานมาให้เป็น “ส่วนเกิน” ..  ซึ่งข้อความดังกล่าวนั้น ไม่มีปรากฏในการรายงานของผู้รายงานอื่นที่เชื่อถือได้ ...


หะดีษของหะดีษข้างต้นที่ชื่ออบู ญะอฺฟัรฺ อัรรอซีย์ เป็นบุคคลที่เฎาะอีฟ (ขาดคุณสมบัติหนึ่งของผู้ที่รายงานหะดีษที่เศาะหี้หฺ) ซึ่งท่านอิมามอะหฺมัดก็กล่าวไว้เช่นนั้น

อีกทั้งท่านอบู ซัรอะฮฺแสดงทัศนะว่า “ เขาเป็นบุคคลที่สับสนมากเหลือเกิน “ (ดูหนังสือ ซาดุลมะอาด เล่ม 1 หน้า 275-276)

เมื่อหะดีษข้างต้นเฎาะอีฟ นั่นหมายรวมหะดีษข้างต้นไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการอ้างอิงได้แม้แต่น้อย อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าด้วยท่านรสูลุลลอฮฺ และบรรดาเศาะหาบะฮฺในอดีตนั้นอ่านดุอาอฺกุนูตในละหมาดศุบหฺเป็นประจำ แต่พบหลักฐานว่าไม่มีการอ่านดุอาอฺกุนูต ดั่งหลักฐาน

*****จากท่านอบู มาลิก อัลอัชญะอีย์ เล่าว่า “ ท่านอุบัยย์เคยนมาซเป็นมะอฺมูมตามท่านรสูลุลลอฮฺขณะเขาอายุได้ประมาณ 16 ปี และเขายังเคยนมาซเป็นมะอฺมูมตามท่านอบูบักร์, ท่านอุมัร และท่านอุษมานอีกด้วย ฉันจึงกล่าวถามท่านอุบัยย์ว่า พวกเขาเหล่านั้นเคยอ่านดุอาอฺกุนูต (ในนมาซศุบหฺ) หรือไม่ ? เขาตอบว่า ไม่เคยเลย โอ้ลูกรัก (ดุอาอฺกุนูตในนมาซศุบหฺนั้น) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ (คืออุตริกรรมในศาสนา) 
ได้มีรายงานจากท่านอิบนุ หิบบาน อัลเคาะฏีบ และอิบนุ คุซัยมะฮฺ โดยถือว่าหะดีษข้างต้นเศาะหี้หฺ (ถูกต้อง) ซึ่งยังมีรายงานอีกว่า

ท่านอนัสกล่าวว่า “ แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺไม่เคยอ่านดุอาอฺกุนูตในเวลานมาซศุบหฺเลย นอกจากท่านรสูลได้ขอดุอาอฺที่ให้ประโยชน์แก่กลุ่มชนหนึ่ง หรือไม่ก็ขอดุอาอฺให้ลงโทษแก่กลุ่มชนหนึ่ง “ (ดูหนังสือ หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ # 1 หน้า 8)



>>>><<<<สำหรับดุอาอ์กุนูตที่อ่านในร็อกอะฮ์สุดท้ายของละหมาดศุบฮ์ ที่มุสลิมบางท่านอ่านนั้น ก็เป็นดุอาอ์กุนูตที่ท่านนบีอ่านในกุนูตละหมาดวิตรฺนั้นเอง


สรุป ดุอาอ์กุนูตนั้นมีกรณีให้กระทำ ในกรณี(1)เกิดวิกฤตการณ์เพื่อขอดุอาอฺให้อัลลอฮฺช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมและลงโทษผู้อธรรม ซึ่งเรียกว่าดุอาอ์กุนูต"นาซิละฮฺ" 
(2)ในละหมาดวิตรฺ


!!!สำหรับกรณี หะดิษที่รายงานว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะวัลลัม  อ่านการกุนูตในละหมาดศุบฮ์นั้น ท่านยังคงอ่านต่อไปจนท่าน(ตาย)จากโลกนี้ไป ซึ่งรายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. จากการรายงานของท่านอบูญะอฺฟัรฺ อัรฺ-รอซีย์ .. ตามหลักวิชาการจึงถือว่าเป็นหะดีษมุงกัรฺ ซึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟ .. จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานเรื่องให้อ่านกุนูตในนมาซซุบห์เป็นประจำทุกเช้าไม่ได้ 


 والله أعلم

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น