الفتوى
الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد:
فالصحيح عند أهل العلم -إن شاء الله - جواز أكل السلحفاة بحرية كانت أو برية لأن الله جل وعلا يقول : (كلوا مما في الأرض حلالاً طيباً ).[ البقرة: 168]. مع قوله : (وقد فصل لكم ما حرم عليكم ). [الأنعام: 119]. ولم يفصل لنا تحريم السلحفاة فهي حلال كلها، وهذا مذهب فقهاء المدينة وكثير من أهل العلم، ومنهم من أجاز أكل البحرية دون البرية، ومن العلماء من منع أكلها مطلقاً. وأما الضبع فالصحيح عند أهل العلم أنها مباحة الأكل وهو الصحيح من مذهب الشافعية والحنابلة، وكره المالكية أكلها ولم يحرموه ، وقال الحنفية بالتحريم. ودليل الإباحة: ما رواه أحمد وأبو داود والنسائي وابن ماجه والترمذي من حديث جابر بن عبد الله أنه سئل عن الضبع فأمر بأكلها فقيل له : أصيد هي؟ فقال : نعم، فقيل له : أسمعته من رسول الله صلى الله عليه وسلم ؟ قال: نعم .[ وقال الترمذي حسن صحيح] . والله تعالى أعلم
มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ และขอให้พรและควาสันติสุขจงประสบแด่รซูลุลลอฮ และดังนั้น
ที่ถูกต้องในทัศนะของนักวิชาการ – อินชาอัลลอฮ
อนุญาตให้รับประทานเต่า ไม่ว่าจะเป็นเต่าทะเลหรือเต่าบก เพราะอัลลอฮ ผู้ทรงเกรียงไกร ผู้ทรงสูงส่ง ตรัสว่า
(พวกเจ้าจงจงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี ๆ จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน) – อัลบะเกาะฮเราะ/168 ,พร้อมกับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่งที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า) และพระองค์ไม่ได้ทรงแจกแจงแก่เราว่าเตาเป็นที่ต้องห้าม เพราะฉะนั้น มันเป็นสิ่งที่หะลาล ทั้งหมด และนี้คือ มัซฮับฟุเกาะฮาอฺ(นักนิติศาสตร์อิสลาม)แห่งมะดีนะฮ และบรรดานักวิชาการส่วนมาก และส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือ ผู้ที่อนุญาตให้บริโภคเต่าทะเลได้แต่ไม่อนุญาตเต่าบก และส่วนหนึ่งจากอุลามาอฺ ห้ามบริโภคมันทั้งหมดโดยไม่มีข้อแม้ และสำหรับสุนัขทะเลทรายนั้น ที่ถูกต้อง(เศาะเฮียะ)ในทัศนะของนักวิชาการ นั้นอนุญาตให้บริโภคได้ และมันเป็นทัศนะที่ถูกต้องจากมัซฮับของนักวิชาการสายชาฟิอียะฮและหะนาบะฮละฮ และนักวิชาการสายมาลิกียะฮ กล่าวว่าเป็นมักรูฮ และพวกเขาไม่ได้ถือว่ามันเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)และนักวิชาการสายหะนะฟียะฮ กล่าวว่า หะรอม(ห้ามบริโภค) และหลักฐานที่แสดงว่า อนุญาต(ให้บริโภคเนื้อสุนัขทะเลทรายได้)คือ
หะดิษรายงานโดย อิหม่ามอะหมัด,อบูดาวูด,นะสาอีย์อิบนุมาญะฮและอัตติรมิซีย์ จากญาบีร บิน อับดุลลอฮว่า “เขาถูกถามเกี่ยวกับสุนัขทะเลทราย แล้วเขาใช้ให้บริโภคมัน และมีผู้ถามเขาว่า “ท่านได้ล่ามันเองหรือ ? เขา(ญาบีร)ตอบว่า “ครับ”และมีผู้ถามเขาว่า “ท่านได้ยินมันจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมหรือ? เขา(ญาบีร บิน อับดุลลอฮ) กล่าวตอบว่า “ครับ”
(อิหม่ามอัตติรมิซีย์กล่าวว่า เป็นหะดิษหะซัน อีกทั้งเศาะเฮียะ) -
السلحفاة نوعان: بحرية، وبرية
فأما البحرية منها، فيجوز أكلها لعموم قوله تعالى: (أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ) المائدة:96 .
ولقوله صلى الله عليه وسلم: "هو الطهور ماؤه، الحل ميتته" رواه أصحاب السنن .
قال البخاري في كتاب الذبائح والصيد: باب قول الله تعالى: (أُحِلَّ لَكُمْ صَيْدُ الْبَحْرِ)، ثم قال رحمه الله: ولم ير الحسن بالسلحفاة بأساً. والأحوط أن تذبح خروجا من الخلاف
وأما السلحفاة البرية، فلا يجوز أكلها، إلا بعد ذبحها .
قال ابن قدامة: كل ما يعيش في البر من دواب لا يحل بغير ذكاة، كطير الماء، والسلحفاة... وقال أحمد: كلب الماء يذبح، ولا أرى بأساً بالسلحفاة إذا ذبح ، والرق يذبح. (والرق: السلحفاة العظيمة، كما جاء في فقه اللغة للثعالبي
والله أعلم
ดร. อับดุลลอฮ อัลฟะกีฮ มุชัรรอฟ แห่งเว็บ อัลฟัตวาอัลฟิกฮียะฮ กล่าวว่า
เตานั้น แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ เต่าทะเล และเต่าบก สำหรับ เต่าทะเลนั้น อนุญาตให้บริโภคมันได้ เพราะคำตรัสของอัลลอฮ ที่ตรัสเอาไว้แบบกว้างๆว่า (ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล) – อัลมาอิดะฮ/96
และเพราะท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (น้ำทะเลนั้นสะอาด,สัตว์ทะเลที่ตายนั้นหะลาล” –รายงานโดย บรรดาเจ้าของสุนัน
อัลบุคอรีย์ ได้กล่าวเอาไว้ใน เรื่อง อัซซะบาเอียะหฺวัศศอ็ยดุ บทว่า ด้วยคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า(ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้า ซึ่งสัตว์ล่าในทะเล) หลังจากนั้นท่านอิหม่ามบุคอรีกล่าวว่า “ อัลหะซัน(อัลบัศรีย์) ไม่เห็นว่าเต่านั้น เป็นสิ่งเลวร้าย (หมายถึงเป็นสิ่งต้องห้าม) และที่ปลอดภัยที่สุด ควรเชือดเสียก่อน เพื่อให้ออกจากกรณีการขัดแย้งของนักวิชาการ(คิลาฟ) และสำหรับ เต่าที่อยู่บนบกนั้น ไม่อนุญาตให้บริโภคมัน นอกจากหลังจากเชือดมันเท่านั้น
อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า “ ทุกสิ่งที่ดำรงชีวิตอยู่บนบก จากบรรดาสัตว์ ไม่อนุญาต(ให้บริโภค)โดยปราศจากการเชือด เช่น นกน้ำ และเต่า....
อิหม่ามอะหมัด กล่าวว่า “หมาน้ำ นั้น ต้องเชือดเสียก่อน และข้าพเจ้าไม่เห็นว่าเต่านั้น เลวร้าย(ต้องห้าม) เมื่อมันได้ถูกเชือดแล้ว และ อัรรอ็ก นั้น ต้องเชือดเสียก่อน (อัรรอ็ก คือ เต่าทะเลขนาดใหญ่)(1) ดังปรากฏใน หนังสือฟิกฮุลลุเฆาะฮ ของ อัษษะอาละบีย์ –
วัลลอฮุอะอฺลัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น