ในตำบลบางตำบล อาจมีผู้นับถือศาสนาอิสลาม และนับถือพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นๆปะปนกันไป ในพื้นที่ตำบลนั้นอาจมีประเพณีวัฒนธรรมตามศาสนาของตนสืบต่อกันมา มีการพบปะสมาคมกันอย่างปกติสุข และในอดีตมุสลิมในตำบลนั้นอาจเคยเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา และได้เลื่อมใสศรัทธาเข้ารับนับถืออิสลาม ซึ่งอาจได้นำขนธรรมเนียมประเพณีของพุทธศาสนามาปะปนกับพิธีกรรมอิสลาม ด้วยเหตุนี้จะมีประเพณีดังเดิมของไทยพุทธได้มาปะปนกับพิธีกรรมอิสลาม ไม่ว่าด้วยเหตุที่ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธได้พบปะแลกเปลี่ยนกัน หรือเพราะบรรพบุรุษของกลุ่มชนมุสลิมในตำบลนั้นเคยนับถือพุทธศาสนาก็ตาม จึงทำให้การทำอิบาดะฮฺบางอย่างได้มาปะปนกับความเชื่อพุทธศาสนา หรือมีพิธีกรรมเกิดขึ้นใหม่อันไม่มีปรากฏมาก่อนตามบทบัญญัติอิสลาม อันได้แก่ การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำพิธียกเสาเอก เป็นต้น พิธีกรรมดังกล่าวจึงได้สืบต่อกันมาจากปู่ย่าตายาย จนมาถึงลูกหลานปัจจุบัน ซึ่งพวกเขาเข้าใจว่ามันเป็นพิธีกรรมที่ถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม
สำหรับปัจจุบันในแต่ละตำบลจะมีหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ทุกตำบล ซึ่งมีผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในตำบลนั้นๆ อันได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือนายกเทศมนตรี ซึ่งในตำบลนั้น ผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นอาจเป็นมุสลิม ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในพื่นที่ ซึ่งมีทั้งชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธปะปนกันไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นจึงกระทำทุกวิธีการ เพื่อที่รักษาฐานเสียงของตน ทั้งเอาใจชาวบ้านที่เป็นมุสลิม และชาวบ้านที่เป็นพุทธศาสนา จนบางครั้งผู้บริหารส่วนท้องถิ่นได้ปฏิบัตตนที่ขัดต่อบทบัญญัติอิสลาม
ขอชี้แจงในที่นี้ว่า ในเรื่องที่จะพบปะสมาคมกันระหว่างมุสลิมกับคนต่างศาสนิกในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องศาสนา คือไม่ใช่เรื่อง เกี่ยวกับความเชื่ออากีดะฮฺ การอิบาดะฮฺ พิธีกรรมต่างๆ อิสลามนั้นเปิดกว้าง ไม่ว่า การพบปะพูดคุย ยิ้มแย้ม เยี่ยมเยือนไปมาหาสู่กัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การช่วยเหลือ บริจาค เมตตา โอบอ้อมอารี เอื่อเฝื่อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน การมีความสมัครคีปรองดองกันในเรื่องสังคม กราบใดที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติอิสลาม เป็นต้น สิงที่กล่าวมาข้างต้น มุสลิมสามารถปฏิบัติตนกับคนต่างศาสนิกได้อย่างเต็มที่ภายใต้กรอบอัล-อิสลาม
สำหรับในเรื่องศาสนานั้น อิสลามได้วางกรอบในหลักการปฏิบัติและหลักความเชื่อไว้สมบูรณ์แล้ว มุสลิมทุกคน ไม่ว่าเขามีตำแหน่งฐานะเช่นใด ก็ต้องปฏิบัติศาสนากิจและความเชื่อศรัทธาตามที่ศาสนาได้บัญญัติใช้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติห้าม มุสลิมจึงไม่อาจเพิ่มเติมเสริมแต่งปรับปรุงแก้ไข หรือคิดค้นขึ้นมาใหม่ให้เป็นไปตามสถานการณ์หรือตามความพึงพอใจของตนได้ นั้นร่วมถึงหลักความเชื่อปฏิบัติพิธีกรรมของต่างศาสนิกด้วย อิสลามกับต่างศาสนิกได้แบ่งแยกกันโดยเด็ดขาดแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่มีการสนับสนุนหรือกล่าวหาดุหมิ่นกัน หลักความเชื่อของเขา เขาก็ปฎิบัติกันไป มุสลิมห้ามเข้าเกี่ยวข้องในพิธีกรรมเหล่านั้นโดยเด็ดขาด หากมุสลิมคนใดได้เข้าร่วม หรือนำความเชื่อเหล่านั้นมาปนเปกับหลักความเชื่อในอิสลามก็ต้องมีการกล่าวตักเตือนกัน
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
“สำหรับศาสนาของพวกท่านก็คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันก็คือศาสนาของฉัน”.(สูเราะฮฺ อัล-กาฟิรูน : 6)
สำหรับผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ซึงเป็นมุสลิม ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนในบางพื้นที่ซึ่งมีทั้งประชาชนที่เป็นมุสลิม และพุทธศาสนา เมื่อมีพิธีกรรมต่างๆ ของพุทธศาสนา ก็เป็นประธานในพิธี และร่วมพิธีกรรมกับผู้นับถือศาสนาพุทธด้วย เพื่อเป็นการขอบคุณและรักษาฐานเสี่ยงของตนไว้ จึงเป็นการสนับสนุนพิธีกรรมและหลักความเชื่อศาสนาอื่นอย่างประจักชัด
ในที่นี้ขอกล่าวกรณีที่ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นซึงเป็นมุสลิมได้เข้าร่วมพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ในงานวันผู้สูงอายุที่หน่วยงานส่วนท้องถิ่นได้จัดขึ้น ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นก็ได้เข้าร่วมพิธีรดน้ำดำหัว ด้วยการนำน้ำรดที่มือทั้งสองของผู้สูงอายุที่นั่งพนมมือเป็นแถวยาว และกระทำเช่นนี้จนเสร็จพิธี
การเข้าร่วมพิธีรดน้ำดำหัวของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นมุสลิมเช่นนี้ ถือว่าเป็นการสนับสนุนและเจตนาเข้าร่วมพิธีกรรมของต่างศาสนิก ซึ่งพิธีกรรมรดน้ำดำหัวของชาวไทยพุทธ มีหลักความเชื่อที่ว่า “เป็นการชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไปด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระ” ซึงขัดกับหลักความเชื่อของอิสลามที่ว่าทุกสิ่งมาจากพระองค์อัลลอฮฺและจะต้องกลับสู่พระองค์ พระองค์เท่านั้นที่จะลบล้างความผิด หรือขจัดสิ่งต่างๆได้ สิ่งที่พระองค์สร้างไม่มีอำนาจใดๆ แก่มนุษย์ นอกจากอำนาจเดชานุภาพของพระองค์เท่านั้น
การที่ผู้บริหารได้ร่วมพิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุดังกล่าว เท่ากับยอมรับ หลักความเชื่อของชาวไทยพุทธที่ว่า การรดน้ำดำหัวดังกล่าว น้ำเหล่านั้นช่วยชำระสิ่งที่เป็นอัปมงคลออกจากชีวิตของเขา เป็นการปฏิเสธอำนาจเดชานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺ และนำสิ่งอื่นมาเทียบเคียงเดชานุภาพของพระองค์ สิ่งเหล่านี้จะไม่ถูกตอบรับจากพระองค์อย่างแน่นอน
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
“และบุคคลใดที่แสวงหาอื่นจากอิสลามเป็นศาสนา ดังนั้นจะไม่ถูกรับจากพระองค์อัลลอฮฺ และในวันปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน”(สูเราะฮฺ อาลิ-อิมรอน : 85)
ท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า
“บุคคลใดก็ตามที่เลียนแบบชนกลุ่มหนึ่ง เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มนั้น”(บันทึกโดยอบู ดาวูดฺ)
ดังนั้น ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นมุสลิม ที่ได้กระทำการเช่นนี้ ให้รีบกลับตัว และหลีกเลี่ยงออกห่างจากพิธีกรรมนั้นโดยเด็ดขาด
เรื่องพิธีกรรมของต่างศาสนิก เขาก็ทำไป เราอย่าไปยุ่งเกี่ยว อย่าหมกมุ่นอยู่กับฐานเสียงของตน อย่ายึดติดกับตำแหน่งและอำนาจเหล่านั้น ซึ่งมันไม่ได้จีรัง และไม่คุ่มกับการแลกเปลี่ยนหลักศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮฺ เพียงเพื่อให้ประชาชนในตำบลไว้วางใจ และรักษาฐานเสียงของตนไว้ และจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาบริหารอีกครั้งในคราวต่อไป แต่กลับกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเสียแล้ว
เรายังมีทางเลือกอีกมากมายที่จะทำให้ประชาชนไว้วางใจ และยอมรับในการบริ
หารของเรา ไม่ว่า ด้วยการสร้างผลงาน การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในตำบล การสนับสนุนงบประมาณ การสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
สำหรับเรื่องใดที่ขัดกับหลักปฏิบัติและความเชื่ออิสลาม ผู้บริหารท้องถิ่น ต้องทำการชี้แจงและทำความเข้าใจให้ประชาชนที่เป็นคนต่างศาสนิกให้รับทราบ เพราะบางครั้งเขาไม่เข้าใจแก่นแท้ของอิสลาม หากได้ชี้แจงเหตุผลดังกล่าวแล้ว พวกเขาคงเข้าใจ และยอมรับได้ไม่ยาก
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น