แอลกอฮอล์ เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล
แอลกอฮอล์จะมีส่วนประกอบเป็นไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH group) สำหรับเอทิลแอลกอฮอล์มีสูตรโมเลกุลเป็น C2H5OH น้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 46 มีจุดเดือด ที่อุณหภูมิ 78.3 oC มีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 0.79 ที่อุณหภูมิ 20 oC เป็นสารมีขั้วและละลายน้ำได้ดี มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยได้ง่ายและติดไฟ ให้พลังงานประมาณ 7.1 แคลอรีต่อกรัม
เอทิลแอลกอฮอล์เมื่อรวมตัวกับสารโมเลกุลขนาดใหญ่ (Macromolecule) เช่น โปรตีนหรือโพลีแซคคาไรด์ จะทำให้สารโมเลกุลขนาดใหญ่ตกตะกอน แข็งตัวหรือเสียสภาพธรรมชาติ เพราะเกิดการดึงน้ำมาไว้ในตัวแอลกอฮอล์อย่างมากมาย ขบวนการขจัดน้ำ (dehydration) นี้ทำให้แอลกอฮอล์ถูกนำมาใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ (antiseptic)
แอลกอฮอล์ ชนิดที่อยู่ในอาหาร หรือเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ชนิดนี้จะเป็นตัวการให้อาหาร หรือเครื่องดื่มมึนเมา สิ่งมึนเมาอันเกิดจากแอลกอฮอล์ อิสลามจึงห้ามดื่มหรือรับประทานโดยเด็ดขาด
สำหรับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวต่างๆ น้ำหอม โคโลญจน์ แอลกอฮอล์ที่ใช้ทำความอาดแผล หรือแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำสะอาดมือเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่ผลอันตรายต่อร่างกายหากนำมาทาหรือล้างมือ คือเอทิลแอลกอฮอล์
ส่วนแอลกอฮอล์ที่เป็นพิษต่อร่างกายหากสัมผัส หรือสูดดม ไช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทสีทาบ้าน สีผสม หรือเป็นตัวทำละลาย คือ เมทิลแอลกอฮอล์
มติส่วนใหญ่ของนักวิชาการระบุว่า โดยหลักแล้
ว แอลกอฮอล์ไม่ใช่นะญิส หรือสิ่งสกปรกในตัวของมันเอง ดังนั้น น้ำหอม หรือโคโลญน์ที่ผสม แอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล หรือล้างทำความสะอาดมือ มุสลิมสามารถนำมาใช้ได้ไม่ว่าจะใส่ขณะละหมาดหรือไม่ก็ตาม อิสลามห้ามดื่มสิ่งที่มึนเมา ไม่ใช่ห้ามสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ ถึงแม้ว่าสิ่งมึนเมานั้นไม่มีแอลกอฮอล์ ศาสนาก็ห้ามดื่มโดยเด็ดขาด การที่น้ำหอมหรือโคโลญจน์ผสมแอลกอฮอล์ แล้วนำมาทาตัว ไม่ก่อให้เกิดการมึนเมาแต่อย่างใด และไม่ก่อให้เป็นนะญิสแต่ประการใดเช่นเดียวกัน
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น