“ความหมายของคำว่า مَكْرُوْهَةٌ (น่ารังเกียจ) หมายถึง كَرَاهَةٌ تَحْرِيْمِيَّةٌ .. คือเป็นเรื่องต้องห้ามหรือหะรอม อันเป็นสำนวนของนักวิชาการในยุคแรก”
เป็นคำอธิบายและความเข้าใจของนักวิชาการหลายท่าน ซึ่งนอกจากท่านอัล-มุนาวีย์และท่านอัล-ค็อฏฏอบีย์ดังข้างต้นแล้ว ท่านอัลลามะฮ์ อัล-บัรฺกูวีย์ ก็ได้กล่าวในหนังสือ “جلاء القلوب” อันเป็นการอธิบายความหมายจากคำพูดของนักวิชาการ (ทั้ง 4 มัษฮับ) ที่กล่าวพ้องกันว่า การที่บ้านผู้ตายจัดเลี้ยงอาหารนั้น เป็น “บิดอะฮ์ที่มักรูฮ์” .. ซึ่งท่านอัลลามะฮ์ อัล-บัรฺกูวีย์อธิบายว่า ...
ثُمَّ إِنَّ الظَّاهِرَ أَنَّ الْكَرَاهَةَ تَحْرِيْمِيَّةٌ! إِذِ اْلأَصْلُ فِىْ هَذَاالْبَابِ خَبَرُجَرِيْرٍ رَضِىَ اللهُ عَنْهُ، وَالنِّيَاحَةُ حَرَامٌ، وَالْمَعْدُوْدُ مِنَ الْحَرَامِ حَرَامٌ، وَأَيْضًا إِذَا أُطْلِقَ الْكَرَاهَةُ يُرَادُ مِنْهَا التَّحْرِيْمِيَّةُ
“ประการต่อมา โดยรูปการณ์แล้ว คำว่า مَكْرُوْهَةٌ (น่ารังเกียจ) จากคำกล่าวของนักวิชาการข้างต้นนั้น หมายถึง “เป็นเรื่องหะรอม” (ต้องห้าม) .. ทั้งนี้เพราะพื้นฐานของเรื่องนี้ (การไปชุมนุมกินกันที่บ้านผู้ตายเป็น مَكْرُوْهَةٌ) ได้แก่หะดีษของท่านญะรีรฺ ร.ฎ.(ที่ว่า .. “พวกเรา(เศาะหาบะฮ์) นับว่า การไปชุมนุมกันที่บ้านผู้ตายและมีการปรุงอาหารเลี้ยงกันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของนิยาหะฮ์”) .. และการนิยาหะฮ์นั้นเป็นเรื่องหะรอม, ดังนั้นสิ่งที่ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิยาหะฮ์ ก็ต้องหะรอมเช่นเดียวกัน .. และอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำว่า مَكْرُوْهَةٌ นี้เมื่อถูกกล่าวโดยปราศจากข้อแม้ใดๆแล้ว ความหมายของมันก็คือ หะรอม” ...
(จากหนังสือ “กัชฟุช ชุบฮาต” ของท่านมะห์มูด หะซันรอเบียะอฺหน้า 193) ...
ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม อัล-ญูซียะฮ์ ได้อธิบายคำกล่าวของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์จากหนังสือ “อัล-อุมม์” ที่ว่า .. เป็นเรื่องมักรูฮ์ที่บิดาจะนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง .. โดยท่านอิบนุ้ลก้อยยิมอธิบายว่า ...
" نَصَّ الشَّافِعِىُّ عَلَىكَرَاهَةِ تَزَوُّجِ الرَّجُلِ بِنْتَهُ مِنْ مَاءِ الزِّنَى، وَلَمْ يَقُلْ قَطُّ إنَّهُ مُبَاحٌ وَلاَ جَائِزٌ، وَالَّذِىْ يَلِيْقُ بِجَلاَلَتِهِ وَإِمَامَتِهِ وَمَنْصَبِهِ الَّذِىْ أَحَلَّ اللهُ بِهِ مِنَ الدِّيْنِ أَنَّ هَذِهِ الْكَرَاهَةَ مِنْهُ عَلَى وَجْهِ التَّحْرِيْمِ! وَأَطْلَقَ لَفْظَ الْكَرَاهَةِ ِلأَنَّ الْحَرَامَ يَكْرَهُهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ... فَالسَّلَفُ كَانُوْا يَسْتَعْمِلُوْنَ الْكَرَاهَةَ فِىْ مَعْنَاهَا الَّتىِ أسْتُعْمِلَتْ فِيْهِ فِىْ كَلاَمِ اللهِ وَرَسُوْلِهِ، وَلَكِنَّ الْمُتَأَخِّرِيْنَ إصْطَلَحُوْا عَلَى تَخْصِيْصِ الْكَرَاهَةِ بِمَا لَيْسَ بِمُحَرَّمٍ وَتَرْكُهُ أَرْجَحُ مِنْ فِعْلِهِ"
“ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า มักรูฮ์ที่ผู้ชายจะนิกาห์กับบุตรสาวที่เกิดจากการซินาของตนเอง .. ท่านไม่ได้กล่าวเลยว่า มัน(การนิกาห์ระหว่างพ่อลูกคู่นั้น) เป็นสิ่งถูกผ่อนผันให้และเป็นที่อนุญาต, .. ซึ่งสิ่งที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่และความเป็นอิหม่ามของท่าน และตำแหน่งที่พระองค์อัลลอฮ์มอบให้แก่ท่านในเรื่องศาสนาก็คือ ความน่ารังเกียจ (มักรูฮ์ .. จากคำกล่าวของท่าน)นี้ หมายถึงหะรอม, และท่านได้ใช้คำว่า “มักรูฮ์”(น่ารังเกียจ) โดยไม่มีเงื่อนไข ก็เพราะสิ่งที่หะรอมก็คือสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์และรอซู้ลของพระองค์รังเกียจ .......... บรรดาชาวสะลัฟนั้น พวกเขาจะใช้คำว่ามักรูฮ์ (น่ารังเกียจ) กับความหมายซึ่งมีใช้ในคำพูดของอัลลอฮ์(ในอัล-กุรฺอ่าน) และรอซู้ล (ในหะดีษ ซึ่งมีความหมายว่าหะรอม) .. แต่บรรดานักวิชาการยุคหลังได้กำหนดศัพท์เทคนิคเป็นการเฉพาะขึ้นมาใหม่ว่า คำว่ามักรูฮ์ หมายถึงสิ่งที่มิใช่ของหะรอม, และการละทิ้ง (คือไม่ทำ)มันจะดีกว่าการทำมัน” .. (ดังที่ผมแปลว่า “เป็นสิ่งน่ารังเกียจ” .. และ อ.อัชอะรีย์แปลว่า “สิ่งที่ห้ามไม่ขาด” นั่นเอง ...
(จากหนังสือ “إعلام الموقعين” ของท่านอิบนุ้ลก็อยยิม เล่มที่ 1 หน้า 47-48) ...
นี่คือคำอธิบายของท่านอิบนุ้ลก็อยยิมต่อคำว่า “มักรูฮ์” ที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ใช้ว่า หมายถึง مَكْرُوْهَةٌ تَحْرِيْمِيَّةٌ (เป็นเรื่องหะรอม)
หลักการที่ว่า “พื้นฐานของการห้ามคือ หะรอม” นี้ ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ก็ได้กล่าวไว้เช่นกันในหนังสือ “อัรฺ-ริซาละฮ์” หน้า 343 ว่า (หมายเลข 929) ว่า ...
فَإِذَا نَهَى رَسُوْلُ اللهِ عَنِ الشَّىْءِ مِنْ هَذَا فَالنَّهْىُ مُحَرَّمٌ! لاَ وَجْهَ لَهُ غَيْرُ التَّحْرِيْمِ، إِلاَّ أَنْ يَكُوْنَ عَلَى مَعْنًى كَمَا وَصَفْتُ ...
“เมื่อท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ “ห้าม” สิ่งใดจากสิ่งนี้ การห้ามนั้นก็คือ “หะรอม” .. ไม่มีแนวทางสำหรับมัน(การห้าม)ที่จะอื่นจากหะรอมอีก, นอกจากมันจะอยู่บนความหมาย ดังที่ฉันได้แจ้งลักษณะไว้แล้ว”
คำว่า “นอกจากมันจะอยู่บนความหมายที่ฉันได้แจ้งลักษณะไว้” หมายถึงการมีหลักฐานอื่นมาแปรเปลี่ยนความหมายการห้ามจาก “หะรอม” ไปเป็น “มักรูฮ์”
والله أعلم بالصواب
อาจารย์ปราโมทย์ (มะหมุด)ศรีอุทัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น