การที่บุคคลใดไปหาหมอดูแล้วถามหมอดูเกี่ยวกับบางสิ่ง
ถือว่าเขานั้นเป็นกุฟฺรฺหรือไม่ ?
ตอบคำถามโดย ชัยคฺ มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล มุนัจญิด
Ummah Islam แปลและเรียบเรียง
คำถาม: เราสามารถทำให้สองหะดีษนี้สอดคล้องกันได้อย่างไร?
من أتى عرافاً فسأله عن شيء فصدقه لم تقبل له صلاة أربعين يوماً
"บุคคลใดที่ไปหาหมอดูเพื่อถามบางสิ่งบางอย่างและเชื่อหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลา 40 วัน"
من أتى كاهناً فصدقه بما يقول فقد كفر بما أنزل على محمد
"บุคคลใดที่ไปหาหมอดู และเขาเชื่อในสิ่งที่หมอดูพูด เช่นนั้นเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานให้แก่มุฮัมมัด"
ในหะดีษแรกไม่ได้บ่งชี้ลงไปว่าเป็นกุฟรฺแต่หะดีษที่สองนั้นชี้เฉพาะลงไป
คำตอบ: การสรรเสริญทั้งมวลนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
ไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างสองหะดีษนี้ อะไรคือความหมายจากหะดีษที่ว่า
من أتى كاهناً فصدقه بما يقول فقد كفر بما أنزل على محمد
"บุคคลใดที่ไปหมอดู และเขาเชื่อในสิ่งที่หมอดูพูด เช่นนั้นเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานให้แก่มุฮัมมัด"
คือ บุคคลใดที่ไปถามหมอดู และ “เชื่อ” ว่าคำทำนายของหมอดูนั้นเป็นเรื่องจริง เชื่อว่าหมอดูรอบรู้ในสิ่งเร้นลับ ถือว่าเป็นการกระทำของกุฟรฺ เพราะเขามีความขัดแย้งกับอัลกุรอานซึ่งอัลลอฮฺตรัสว่า
قُلْ لَا يَعْلَمُ مَنْ فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ الْغَيْبَ إِلَّا اللَّهُ
"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ไม่มีผู้ใดในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินจะรู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัย นอกจากอัลลอฮฺและพวกเขาจะไม่รู้ว่า เมื่อใดพวกเขาจะถูกให้ฟื้นคืนชีพ” (อัน นัมลฺ : 65)
สำหรับหะดีษที่สอง
من أتى عرافاً فسأله عن شيء لم تقبل له صلاة أربعين ليلة
"บุคคลใดที่ไปหาหมอดูเพื่อถามบางสิ่งบางอย่าง การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลา 40 วัน" (รายงานโดย มุสลิม)
หะดีษนี้ไม่มีคำว่า "และเชื่อหมอดู"
เหตุนี้เองที่ทำให้เราเรียนรู้ว่า หากบุคคลใดไปหาหมอดูแล้วเขาถามบางสิ่งบางอย่างกับหมอดู การละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับเป็นเวลา 40 วัน และหากเขาเชื่อหมอดู เมื่อนั้นเขาได้กระทำเช่นเดียวกับการกระทำของกุฟรฺ
วะบิลลาฮิตเตาฟิก วะศ็อลลัลลอฮุอะลานะบียินามุฮัมมัด วะอาลิฮี วะ เศาะหฺบิฮี วะสัลลัม
...............................................................................
บทบรรณาธิการ : อ้างจาก คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยทางวิชาการ การฟัตวา ชัยคฺ อับดุลอะซีซ บิน บาซ, ชัยคฺ อัลดุรฺเราะซัก อะฟีย์ฟีย์, ชัยคฺ อับดุลลอฮฺ บิน ฆ็อดยาน (ฟัตวาอัล-ลัจญนะฮฺ อัด-ดานิมะฮฺ)
http://www.fityah.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น