อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

ทัศนะนักวิชาการที่ว่า การละหมาดที่กุบูรฺเป็นเรื่องหะรอม


ก. ท่านมุบาร็อกปูรีย์ กล่าวว่า
وَأَمَّاالْمَقْبُرَةُ فَذَهَبَ أَحْمَدُ إِلَى تَحْرِيْمِ الصَّلاَةِ فِى الْمَقْبُرَةِ ............. وَإِلَى ذَلِكَ ذَهَبَتِ الظَّاهِرِيَّةُ وَلمَ ْيُفَرِّقُوْابَيْنَ مَقَابِرِالْمُسْلِمِيْنَ وَالْكُفَّارِ
“อนึ่งเรื่องของสุสาน(กุบูรฺ) นั้น ท่านอิหม่ามอะห์มัดถือว่า การละหมาดในสุสานเป็นเรื่องหะรอม และบรรดาอะฮ์ลุศซอฮิรฺ(นักวิชาการที่ยึดถือตามข้อความตรงของตัวบท) ก็มีทัศนะอย่างเดียวกันนี้ (คือหะรอมละหมาดในกุบูรฺ) โดยพวกเขาไม่แบ่งแยกในระหว่างสุสานของมุสลิมหรือกาฟิรฺ ...
(จากหนังสือ “ตั๊วะห์ฟะต้ลอะห์วะซีย์” เล่มที่ 2 หน้า 259-26)
ซึ่งในหนังสือ “อัล-มันฮัลฯ” เล่มที่ 4 หน้า 114 ก็มีข้อความที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยอ้างว่าเป็นทัศนะของท่านอิหม่ามอะห์มัดและสานุศิษย์ของท่าน
และหลังจากได้ตีแผ่ “ความขัดแย้ง” ของนักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ท่านมุบาร็อกปูรีย์ก็กล่าวสรุปว่า ...
وَالظَّاهِرُ مَا ذَهَبَ إِلَيْهِ أَهْلُ الظَاهِرِيَّةِ وَاللهُ تَعَالَى أَعْلَمُ
“ตามรูปการณ์(ของหะดีษบทข้างต้น)นั้น .. (ทัศนะที่ถูกต้อง)ก็คือ ทัศนะของอะฮ์ลุศซอฮิรฺ วัลลอฮุอะอฺลัม”
นั่นคือ การละหมาดในกุบูรฺเป็นเรื่องหะรอม (ห้ามขาด) ...
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิหม่ามอะห์มัดยังได้กล่าวอีกว่า ...
مَنْ صَلَّى فِىْ مَقْبُرَةٍ أَوْ إِلَى قَبْرٍ أَعَادَ أَبَدًا
“ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดในสุสาน หรือ(ละหมาดโดย)หันไปยังหลุมศพ เขาจะต้องละหมาดใหม่ตลอดไป”
(จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่านอิบนุหัสม์ เล่มที่ 2 ส่วนที่ 4 หน้า 32) ...
หมายความว่า การละหมาดในลักษณะดังกล่าวนั้น ใช้ไม่ได้(ไม่เศาะฮ์)
หมายเหตุ
ท่านอาบาดีย์ได้กล่าวในหนังสือ “เอานุ้ลมะอฺบูด” เล่มที่ 2 หน้า 158 ว่า ...
وَكَانَ أَحْمَدُ وَإِسْحَاقُ يَكْرَهَانِ ذَلِكَ، وَرُوِيَتِ الْكَرَاهَةُ عَنْ جَمَاعَةٍ مِنَ السَّلَفِ
“ท่านอิหม่ามอะห์มัดและท่านอิสหากต่างก็รังเกียจ (كَرَاهَةٌ) ในเรื่องนี้ (การละหมาดในสุสาน) .. และมีรายงานเรื่องความรังเกียจ (كَرَاهَةٌ) นี้มาจากชาวสะลัฟกลุ่มหนึ่งด้วย ...
ข้อมูลจากคำพูดของท่านอิหม่ามอะห์มัดจากหนังสือตั๊วะห์ฟะตุ้ลอะห์วะซีย์และหนังสืออัล-มันฮัลฯ ข้างต้นจึงเป็นเครื่องยืนยันว่า คำว่าكَرَاهَةٌ (น่ารังเกียจ) ตามทัศนะของท่านอิหม่ามอะห์มัดและชาวสะลัฟตามคำกล่าวของท่านอาบาดีย์นั้น มิได้หมายถึงมักรูฮ์ตันซิฮ์ (สิ่งที่ไม่สมควรปฏิบัติ) .. แต่มีความหมายว่า “หะรอม” (คือห้ามปฏิบัติ)
ข. ท่านซูฟยาน อัษ-เษารีย์ ได้รายงานจากท่านหะบีบ อิบนุอบีย์ษาบิต, จากท่านอบูศ็อบยาน, จากท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. ซึ่งกล่าวว่า ...
لاَ تُصَّلِيَّنَ إِلَى حَشٍّ، وَلاَ فِىْ حَمَّامٍ، وَلاَ فِىْ مَقْبُرَةٍ!
“ท่านอย่าละหมาดโดยหันไปทางห้องส้วม, ในห้องน้ำ และในสุสานเป็นอันขาด”
(จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มที่ 2 ส่วนที่ 4 หน้า 30)
พื้นฐานของการห้ามสิ่งใด ตามหลักวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ถือว่าสิ่งนั้นคือของหะรอม ยิ่งเมื่อท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ.ได้กล่าวห้ามอย่างเน้นๆว่า لاَ تُصَلِّيَنَّ (ท่านอย่าละหมาด .. เป็นอันขาด) จึงย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ทัศนะของท่านก็คือ ห้าม(หะรอม)ละหมาดในสุสาน
ค. ท่านอะลีย์ อิบนุอบีย์ฏอลิบกล่าวว่า ...
مِنْ شِرَارِالنَّاسِ مَنْ يَتَّخِذُ الْقُبُوْرَ مَسَاجِدَ
“หนึ่งจากมนุษย์ที่ชั่วช้ายิ่งก็คือ ผู้ซึ่งยึดเอากุบูรฺเป็นมัสญิด (คือเป็นที่ละหมาด)
(จากหนังสือเล่มและหน้าเดียวกัน)
นอกจากท่านอิบนุอับบาสและท่านอะลีย์แล้ว ท่านอิบนุหัสม์ยังได้รายงานจากเศาะหาบะฮ์อื่นอีก 3 ท่าน คือท่านอุมัรฺ, ท่านอบูฮุร็ฮยเราะฮ์ และท่านอนัส, .. และจากตาบิอีน กลุ่มหนึ่ง คือท่านอิบรอฮีม อัน-นะคออีย์, ท่านนาฟิอฺ บินญุบัยร์, ท่านฏอวูซ, ท่านอัมร์ บินดีนารฺ, ท่านค็อยษะมะฮ์ ที่กล่าวสอดคล้องตรงกันว่า การละหมาดในสุสานหรือกุบูรฺเป็นที่ต้องห้าม
(จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” ของท่านอิบนุหัสม์ เล่มที่ 2 ส่วนที่ 4 หน้า 30-32)
สำหรับนักวิชาการยุคต่อมา นอกจากท่านอิบนุหัสม์ที่กล่าวว่าการละหมาดที่กุบูรฺเป็นเรื่องต้องห้าม (จากหนังสือ “อัล-มุหั้ลลา” เล่มดังกล่าว หน้า 27) แล้ว ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีทัศนะอย่างเดียวกัน
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวในหนังสือ “อิกติฎออุศ-ศิรอฏิ้ลมุสตะกีมฯ” เล่มที่ 2 หน้า 194-195
وَقَدِاخْتَلَفَ الْعُلَمَاءُ فِى الصَّلاَةِ فِى الْمَقْبُرَةِ : هَلْ هِىَ مُحَرَّمَةٌ أَوْ مَكْرُوْهَةٌ ؟ .. وَإِذَا قِيْلَ : هِىَ مُحَرَّمَةٌ، فَهَلْ تَصِحُّ مَعَ التَّحْرِيْمِ أَمْ لاَ ؟ .. وَالْمَشْهُوْرُ عِنْدَنَا أَنَّهَا مُحَرَّمَةٌ لاَ تَصِحُّ، وَمَنْ تَأَمَّلَ النُّصُوْصَ الْمُتَقَدِّمَةَ تَبَيَّنَ لَهُ أَنَّهَا مُحَرَّمَةٌ بِلاَ شَكٍّ،
“นักวิชาการมีทัศนะขัดแย้งกันเกี่ยวกับการละหมาดในสุสาน(กุบูรฺ)ว่า จะเป็นเรื่องต้องห้าม(หะรอม) หรือน่ารังเกียจ(มักรูฮ์) .. หากกล่าวว่า เป็นเรื่องหะรอม (ปัญหาต่อมาก็คือ)ละหมาดนั้นจะใช้ได้ทั้งๆที่หะรอม หรือใช้ไม่ได้ ? .. ซึ่งสิ่งที่รู้กันแพร่หลายสำหรับพวกเรา (นักวิชาการมัษฮับหัมบะลีย์)ก็คือ มันเป็นเรื่องหะรอมและละหมาดนั้นใช้ไม่ได้(ไม่เศ๊าะฮ์) ซึ่งผู้ใดก็ตามที่พิจารณาหลักฐานอันชัดเจนที่ผ่านมาแล้ว ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เขาว่า การละหมาดในสุสานนั้น เป็นเรื่องหะรอมโดยปราศจากข้อสงสัย”
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ นักวิชาการฟิกฮ์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์กล่าวว่า การถือเอากุบูรฺเป็นที่ละหมาด และการละหมาดโดยหันไปทางกุบูรฺ เป็นบาปใหญ่
(ดูหนังสือ “อัซ-ซะวาญิรฺฯ” ของอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ เล่มที่ 1 หน้า 244 )
สรุปแล้ว การละหมาดที่กุบูรฺตามทัศนะนักวิชาการสะลัฟส่วนใหญ่ ถือเป็นเรื่องห้ามขาด (หะรอม) .. นอกจากนักวิชาการส่วนน้อยที่มองว่า ข้อห้ามดังกล่าวไม่ใช่เป็นการห้ามขาด (คือเป็นมักรูฮ์) เท่านั้น
ในทัศนะที่มีความเห็นสอดดคล้องกับทัศนะของท่านอิบนุอับบาสร.ฎ., ท่านอะลีย์ ร.ฎ., ท่านอิหม่ามอะห์มัด, ท่านอิบนุหัสม์, ท่านอิบนุตัยมียะฮ์และนักวิชาการส่วนใหญ่ที่กล่าวว่า การละหมาดที่กุบูรฺเป็นเรื่องหะรอม(ห้ามขาด) เพราะมีหลักฐานจากหะดีษที่ถูกต้องหลายบทยืนยันไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. ท่านอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลฺ? ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ...
الأَرْضُ كُلُّهَا مَسْجِدٌ إِلاَّ الْحَمَّامَ وَالْمَقْبُرَةَ
“พื้นดินทั้งหมด เป็นที่ละหมาดได้ ยกเว้นห้องน้ำและสุสาน” ...
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 492, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 317 และผู้บันทึกท่านอื่นๆ)
2. ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุมัสอูด ร.ฎ. ได้อ้างรายงานจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่กล่าวว่า
إِنَّ مِنْ شِرَارِالنَّاسِ مَنْ تُدْرِكُهُ السَّاعَةُ وَهُمْ أَحْيَاءٌ، وَمَنْ يَتَّخِذُ الْقُبُوْرَ مَسَاجِدَ
“แท้จริง ส่วนหนึ่งจากประชาชนที่ชั่วช้าอย่างยิ่งก็คือ ผู้ซึ่งวันกิยามะฮ์มาถึงขณะพวกเขายังมีชีวิตอยู่ และผู้ซึ่งยึดเอากุบูรฺเป็นที่ละหมาด”
(บันทึกโดย ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ เล่มที่ 2 หน้า 6-7 ด้วยสายรายงานที่หะซัน)
3. ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
أَلاَ وَإِنَّ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ كَانُوْا يَتَّخِذُوْنَ قُبُوْرَ أَنْبِيَائِهِمْ وَصَالِحِيْهِمْ مَسَاجِدَ، أَلاَ فَلاَ تَتَّخِذُوْاالْقُبُوْرَ مَسَاجِدَ، إِنِّىْ أَنْهَاكُمْ عَنْ ذَلِكَ
“พึงระวัง! แท้จริงประชาชาติก่อนพวกท่านได้ยึดเอากุบูรฺนบีย์ของพวกเขาและคนดีของพวกเขาเป็นที่ละหมาด, พึงระวัง! ดังนั้นพวกท่านอย่ายึดเอากุบูรฺเป็นที่ละหมาด, แท้จริงฉันขอห้ามพวกท่านจากเรื่องนี้”
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่ 23/532 และท่านอิบนุ อบีย์ชัยบะฮ์ในหนังสือ “อัล-มุศ็อนนัฟ” เล่มที่ 2 หน้า 269 โดยรายงานจากท่านญุนดุบ บินอับดุลลอฮ์ อัล-บัจญลีย์ ร.ฎ.) ...
4. ท่านอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ ร.ฎ. กล่าวว่า ...
أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَّلَم نَهَى أَنْ يُبْنَى عَلَى الْقُبُوْرِ، أَوْ يُقْعَدَ عَلَى الْقُبُوْرِ، أَوْ يُصَلَّى عَلَى الْقُبُوْرِ
“ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามจากการก่อสร้างสิ่งใดบนกุบูรฺ, จากการนั่งบนกุบูรฺ, และจากการละหมาดบนกุบูรฺ” ...
(บันทึกโดย ท่านอบูยะอฺลา ใน “อัส-มุสนัด” ของท่าน ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
5. ท่านอบูมัรฺษัด อัล-ฆอนะวีย์ ร.ฎ. ได้รายงานมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมว่า ...
لاَ تُصَلُّوْا إِلَى الْقُبُوْرِ، وَلاَ تَجْلِسُوْا عَلَيْهَا
“พวกท่านอย่าละหมาดโดยหันไปทางกุบูรฺ (หลุมศพ) และพวกท่านอย่านั่งบนกุบูรฺ”
(บันทึกโดยท่านมุสลิม หะดีษที่ 98/972)
บรรดาหะดีษข้างต้นนี้คือหลักฐาน “ห้าม” จากการละหมาดในกุบูรฺ, บนกุบูรฺ หรือหันไปทางกุบูรฺ ซึ่งตามหลักการแล้วถือว่า ข้อห้ามดังกล่าวหมายถึง “หะรอม”
ท่านอัศ-ศ็อนอานีย์ ได้กล่าวในหนังสือ “สุบุลุส สลาม” เล่มที่ 1 หน้า 136 อันเป็นการอธิบายหะดีษที่ 5
“ในหะดีษนี้เป็นหลักฐานเรื่องห้ามละหมาดโดยหันไปทางกุบูรฺ เหมือนการห้ามละหมาดบนกุบูรฺ, และพื้นฐาน(ของการห้าม) ก็คือ หะรอม”
ส่วนคำกล่าวนักวิชาการบางท่านที่ว่า เหตุผลที่ห้ามละหมาดในกุบูรฺ ก็เฉพาะกุบูรฺที่ถูกขุดรื้อขึ้นมา เพราะเกรงว่าพื้นดินจะเป็นนะญิสจากน้ำเหลืองของมัยยิตก็ดี, หรือการห้ามละหมาดในสุสานในหะดีษดังกล่าว หมายถึงสุสานของกาฟิรฺ แต่ไม่ห้ามละหมาดในสุสานของมุสลิมก็ดี
เหล่านี้ล้วนเป็นเพียง “เหตุผล” ตามมุมมองของนักวิชาการเท่านั้น แต่ไม่ใช่ “หลักฐาน” ที่จะมาจำกัดข้อห้ามที่กล่าวไว้กว้างๆในหะดีษข้างต้นแต่ประการใด
والله أعلم بالصواب
.........................
อาจารย์ปราโมทย์(มะหมูด)ศรีอุทัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น