อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ปัญหาการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู



สำหรับการขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูนั้นมีรูปแบบจากท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม แต่สำหรับการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฏูนั้นมีความขัดแย้งกันอยู่

-ฝ่ายหนึ่งมีทัศนะให้ยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดได้

-อีกฝ่ายหนึ่งมีทัศนะว่าไม่ต้องทำการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เศาะเฮียะฮฺเฉพาะเจาะจงว่าให้ยกมือขณะขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู

ทัศนะของฝ่ายที่ให้ยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดได้

ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่เฉพาะเจาะจงว่าให้ยกมือขณะขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู เพราะลักษณะเด่นชัดเจนของการขอดุอาอ์คือการยกมือขอดุอาอ์ และเป็นมารยาทชนิดหนึ่งจากบรรดามารยาทอันดีงาม และการที่ไม่ได้มีรายงานการยกมือในขณะขอดุอาอ์หลังละหมาดนั้น ไม่ทำให้เสียหายแก่การมีมารยาทนี้แต่อย่างใด

ท่านอิมามอัลกอสฏ่อลานีย์ ได้กล่าวไว้ใน “อิรฺชาดิซซารีย์ ชัรฮุซอฮีฮิ้ลบุคอรีย์” ว่า “ที่ถูกต้องนั้นคือ ชอบให้ยกมือในดุอาอ์ทั่วๆไป” (บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และท่านอิมามมุสลิม และท่านอื่นๆ)

ท่านมุนซิรีย์ได้เขียนตำราเล่มหนึ่งเกี่ยวกับการยกมือขอดุอาอ์ และผลสรุป คือ ชอบให้ยกมือในทุกๆการขอดุอาอฺ นอกจากดุอาอ์ซึ่งในสภาพที่ถูกจำกัดไว้กับสิ่งที่จำเป็นจะต้องไม่ยกมือ เช่น ดุอาอ์ในรุกัวะอฺ และสุญูด เป็นต้น”

เชคอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับดิรเราะหฺมาน อัลญับรีน นักปราชญ์อาวุโส แห่งประเทศซาอุดิอารเบีย กล่าวว่า “แต่ทว่า การปฏิบัติเช่นนี้ (หมายถึงการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาด) มีปรากฏในแบบฉบับของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม โดยรายงานที่เศาะเฮียะฮฺ”

ท่านอัลอัลลามะฮฺ มุฮัมมัด ซิดดี๊ก คาน (นักปราชญ์ชาวอินเดีย มีชีวิตระหว่าง ฮ.ศ.1248-1307) กล่าวว่า
“การกล่าวของท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ก็อยยิม ร่อหิมาฮุลลอฮฺ ได้ปฏิเสธการยกมือทั้งสองในการขอดุอาอ์หลังละหมาดเป็นเป็นการเข้าใจผิด”

และนักวิชาการที่เห็นว่าให้ยกมือหลังละหมาดฟัรฎู ได้ยกหะดิษที่กล่าวถึงการยกมือขอดุอาอ์ ได้แก่
รายงานจากท่านมุฮัมมัด อบนุ ยะฮฺยา อัลอัสละมีย์ เล่าว่า

ما رواه الطبراني عن محمد بن أبي يحيى قال : رأيت عبدالله بن الزبير ورأى رجلا رافعا يديه يدعو فبل أن يفرغ من صلاته ، فلما فرغ منها قال له : إن رسول الله لم يكن يرفع يديه حتى يفرغ من صلاته ، قال الحافظ الهيثمي : رجاله ثقات : محمع الزوائد 1/169 وعزاه الطبراني
“ฉันเห็นท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุซซุบัยรฺ พร้อมกันนั้นท่านอับดุลลอฮฺก็ได้เห็นชายคนหนึ่งยกมือทั้งสองขอดุอาอ์ก่อนที่จะละหมาดเสร็จ และเมื่อชายคนนั้นละหมาดเสร็จแล้ว ท่านอับดุลลอฮฺจึงได้กล่าวแก่ชายคนนั้นว่า แท่จริงท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ไม่เคยยกมือทั้งสองของท่าน จนกว่าท่านจะละหมาดเสร็จเสียก่อน”
(บันทึกหะดิษโดยอิมามอัฏฏ็อบรอนีย์ ในหนังสือ “อัลกะบี๊ร” สายสืบหะดิษน่าเชื่อถือ)

รายงานจากท่านซัลมาน อัลฟาริซีย์ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าวว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า

“แท้จริง พระเจ้าของพวกท่านนั้นทรงเปี่ยมด้วยความละอาย ทรงเปี่ยมด้วยความใจบุญ เมื่อบ่าวของพระองค์ยกมือขึ้นขอสิ่งใดจากพระงอค์ พระองค์ทรงละอายที่จะเข้าให้เขา ลดมือลงมาเปล่าๆ โดยไม่ได้รับสิ่งใดเป็นการตอบแทน”

 (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด อบุดาวูด อิบนิมาญะฮฺ และอัลฮากิม)
รายงานจากท่านอบู อุมามะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่า

“ดุอาอ์ใดที่(อัลลอฮฺ)จะทรงรีบตอบรับ? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า ดุอาอ์ในยามดึก ในช่วงสุดท้ายของค่ำคืน และหลังละหมาดฟัรฎู”

 (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 3421)
ทัศนะของฝ่ายที่เห็นว่าไม่ต้องยกมือขณะขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู

เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานที่เศาะเฮียะฮฺได้เฉพาะเจาะจงให้ยกมือขณะขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎู ก็ไม่จำเป็นต้องยกมือขณะขอดุอาอ์ เนื่องจากท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ร่วมละหมาดฟัรฎูกับบรรดาศอหาบะฮฺทุกวัน วันละ 5 เวลา แต่ไม่พบว่าบรรดาศอหาบะฮฺรายงานหะดิษที่เศาะเฮียะฮฺว่าด้วยการยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูเลย ทั้งที่บรรดาศอหาบะฮฺเก็บรายละเอียดและจดจำสำนวนของการขอดุอาอ์หลังละหมาดไว้อย่างมากมายหลายบท แต่กลับปรากฏการยกมือขอดุอาอ์ของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กระทำในวาระอื่น อย่างเช่น การยกมือขอดุอาอ์ขณะขอฝน การยกมือภายหลังการขว้างเสาหินต้นแรกและต้นที่สอง การยกมือขอดุอาอ์กุนูต การยกมือมือขอดุอาอ์ขณะอยู่บนภูเขาเศาะฟาและมัรวะฮฺ เป็นต้น และในบางวาระท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ก็ไม่ได้ยกมือขณะขอดุอาอ์ เช่น ขณะขอดุอาอ์ เข้า-ออกมัสยิด ขอดุอาอ์เข้า-ออกจากห้องส้วม เป็นต้น หากการยกมือขอดุอาอฺหลังละหมาดฟัรฎูมีความสำคัญจริงๆ ทำไมท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จึงไม่กระทำให้เป็นแบบอย่างให้ชัดเจนและกระทำบ่อยๆ เพื่อให้บรรดาศอหาบะฮฺนำมาปฏิบัติและบันทึกเป็นหะดิษ มุสลิมรุ่นหลังจะได้ปฏิบัติต่อไป แต่ในทางกลับกันยังไม่พบหลักฐานที่เศาะเฮียะฮฺว่าท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กระทำเช่นนั้น

เชคอับดุลอะซีซ บุตรของอับดุลลอฮฺ บุตรของบาซ กล่าวว่า

“ไม่พบ(ตัวบทหลักฐาน) ที่ถูกต้องจากท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่าด้วยการยกมือในการขอดุอาอฺหลังละหมาดฟัรฎู และไม่พบ (ตัวบทหลักฐาน) ที่ถูกต้องจากจากบรรดาศอหาบะฮฺ เช่นกันในสิ่งที่รับรู้มา ส่วนกรณีที่มีผู้คนบางส่วนกระทำเช่นนั้นด้วยการยกมือขอดุอาอ์ของพวกเขาหลังละหมาดฟัรฎูถือเป็นบิดอะฮฺ ทั้งที่ไม่มีมูลฐานให้กระทำเช่นนั้น”

(หนังสืออัลบิดอุวัลมุหฺดาต หน้าที่ 499-500)

وسئلت اللجنة عن : رفع اليدين بالدعاء بعد الصلوات الخمس هل ثبت رفعها عن النبي صلى الله عليه وسلم أم لا ، وإذا لم يثبت هل يجوز رفعهما بعد الصلوات الخمس أم لا؟
فأجابت : ( لم يثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم فيما نعلم أنه رفع يديه بعد السلام من الفريضة في الدعاء ، ورفعهما بعد السلام من صلاة الفريضة مخالف للسنة
فتاوى اللجنة 7/104

และมีผู้ถามคณะกรรมการถาวร ฯ เกี่ยวกับการยกมือขอดุอาหลังละหมาดฟัรดูห้าเวลา ว่ามีรายงานยืนยันว่าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมยกมือหรือไม่? และเมื่อไม่มีรายงานยืนยัน จะอนุญาตให้ยกมือทั้งสองหลังละหมาดฟัรดูห้าเวลาหรือไม่ ?

คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยวิชาการและตอบปัญหาศาสนาแห่งซะอุดีอะระเบีย ตอบว่า
ตามที่เรารู้มา ไม่มีรายงานยืนยันจากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านยกมือทั้งสองของท่านขอดุอา หลังจากกล่าวสลาม จากละหมาดฟัรดู และการยกมือทั้งสองหลังกล่าวสล่าม จากละหมาดฟัรดูนั้น ขัดแย้งกับอัสสุนนะฮ- ฟะตะวาลุจญนะฮ เล่ม 7 หน้า 104


م ولاعن أصحابه رضي الله عنهم، أما الدعاء بدون ذلك فلا بأس به لورود بعض الأحاديث في ذلك" انتهى.
"فتاوى اللجنة الدائمة" (7/103)

ดุอาหลังจากละหมาดฟัรดูไม่มีสุนนะฮให้ยกมือ ไม่ว่าจะเป็นอิหม่ามทำคนเดียวหรือมะมูมทำคนเดียว หรือ ทำรวมกันทั้งอิหม่ามและมะอมูมก็ตาม ในทางกลับกัน การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นบิดอะฮ เพราะ ไม่ได้มีรายงานจากท่านนบี และจากบรรดาสาวกของท่าน แต่อย่างใด สำหรับการดุอานอกเหนือจากดังกล่าวนั้น ไม่เป็นไร (หมายถึงยกมือได้) หากปรากฏบางส่วนของบรรดาหะดิษ ในเรื่องดังกล่าว - ฟะตาวาอัลลุจญนะฮอัดดาอิมะฮ( เล่ม 7 หน้า 103)

สำหรับหะดิษ รายงานจากท่านอบู อุมามะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่า

ดุอาอ์ใดที่(อัลลอฮฺ)จะทรงรีบตอบรับ? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า ดุอาอ์ในยามดึก ในช่วงสุดท้ายของค่ำคืน และหลังละหมาดฟัรฎู” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่ 3421)
คำว่าช่วงท้ายของละหมาดฟัรฎู นั้น นักวิชาการได้อะบายว่าเป็นการขอดุอาอ์ในช่วงท้ายละหมาดก่อนให้สลาม ซึ่งการขอดุอาอ์ขณะอยู่ในละหมาดซึ่งเป็นช่วงท้ายก่อนให้สลามเป็นดุอาอ์ที่ถูกตอบรับมากที่สุด

ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม สั่งใช้ให้กล่าวดุอาอ์ตะชะฮุด(ขระนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย) ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวเสริมว่า

“จากนั้นให้เขาเลือกวิงวอน(ดุอาอ์)ตามที่เขาประสงค์”

(ฟะตาวานนาส กิตาบุฏเฏาะหาเราะฮ กิตาบุศเศาะลาฮฺ หน้า 384)
แต่มีนักวิชาการบางท่านเห็นด้วยว่าไม่จำต้องยกมือขณะขอดุอาอ์หลังละหมาด เพราะไม่มีแบบฉบับจากท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม แต่ไม่ถือว่าผู้ที่ยกมือขอดุอาอ์กระทำบิดอะฮฺ หากเขาผู้ยกมือขอดุอาอ์ไม่สักกัดเวลาเฉพาะว่าจำเป็นต้องยกมือขอดุอาอ์หลังละหมาดฟัรฎูเป็นประจำ แต่ถือว่าการยกมือขอดุอาอ์เป็นมารยาทของการขอดุอาอ์เท่านั้น ไม่ได้ยกมือเป็นกิจวัตร

والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น