อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

กุโบรไม่ใช่ที่ละหมาดและอ่านอัลกุรอาน


โดยอาจารย์มะห์มูด (ปราโมทย์) ศรีอุทัย วิภาษคำบรรยายของ อาจารย์กอเซ็ม มุหัมมัดอะลีย์ เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานให้ผู้ตาย
<-·´¯`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·`·.¸¸.·´¯`·._.·´¯`·.¸>
                                          

(1). อ.กอเซ็มกล่าวว่า ผู้ที่ไม่สนับสนุนให้อ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูร ได้อ้างหะดีษบทหนึ่งว่า .. إِقْرَؤُاالْقُرْآنَ فِىْ بُيُوْتِكُمْ وَلاَ تَجْعَلُوْهَا قُبُوْرًا  ..
ซึ่งมีความหมายว่า .. พวกท่านจงอ่าน อัล-กุรฺอ่าน ในบ้านของพวกท่าน  และจงอย่าทำให้มัน (บ้านของพวกท่าน) เป็นกุบูรฺ .. แล้ว อ.กอเซ็มก็โต้แย้งว่า หะดีษบทนี้ไม่ใช่หลักฐานห้ามอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบว่า  อย่าทำให้บ้านเงียบเหมือนกุบูรฺ ... 
            วิภาษ   
            1.1 หะดีษสำนวนที่ว่า .. พวกท่านจงอ่าน อัล-กุรฺอ่าน ในบ้านของพวกท่าน และจงอย่าทำให้มัน(บ้าน)เป็นกุบูรฺ .. ดังการอ้างของ อ.กอเซ็ม ผมไม่เคยเจอว่ามีบันทึกอยู่ในตำราหะดีษเล่มใดทั้งสิ้น ...
            ที่เคยอ่านเจอก็คือ หะดีษด้วยสำนวนที่กล่าวถึงเรื่อง การอ่านซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์โดยเฉพาะ (ไม่ใช่อัล-กุรฺอ่านทั้งหมด) .. ดังการบันทึกของท่านมุสลิม หะดีษที่ 780/212,   ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 2877,   ท่านอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 284, 337, 378, 388  ..โดยรายงานมาจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ ร.ฎ.มีข้อความว่า ...
      لاَ تَجْعَلُوْا بُيُوْتَكُمْ مَقَابِرَ،  إِنَّ الشَّيْطَانَ يَنْفِرُ مِنَ الْبَيْتِ الَّذِىْ تُقْرَأُ فِيْهِ سُوْرَةُ الْبَقَرَةِ
พวกท่านจงอย่าทำให้บ้านของพวกท่านเป็น (เสมือน) สุสาน,  แท้จริงชัยฏอนจะวิ่งหนีจากบ้านที่มีการอ่านซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ ...
และมีหะดีษที่ คล้ายๆกัน อีกบทหนึ่งซึ่ง เป็นเรื่องของการนมาซ .. ดังการบันทึกของท่านมุสลิมหะดีษที่ 209/777 ..โดยรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. มีข้อความว่า ...
                         صَلُّوْا فِىْ بُيُوْتِكُمْ ،  وَلاَ تَتَّخِذُوْهَا قُبُوْرًا
พวกท่านจงนมาซ (สุนัต) ในบ้านของพวกท่าน,  และจงอย่าทำมัน (บ้านของพวกท่าน) ให้เป็นกุบูรฺ ...
ในบันทึกของท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 432  ก็มีข้อความที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ. เช่นเดียวกัน  ...
            จึงขอถาม อ.กอเซ็มว่า สำนวนหะดีษ ดังข้ออ้างของท่านข้างต้นนั้น ถูกบันทึกอยู่ในตำราหะดีษเล่มใด ? ...
ถ้าหาให้ไม่ได้ ก็ระวังจะโดนข้อหา กุหะดีษเก๊ นะครับ อาจารย์ ...
1.2  คำกล่าวของ อ.กอเซ็มที่ว่า หะดีษบทนี้เป็นการกล่าวในลักษณะเปรียบเทียบว่าอย่าทำให้บ้านเงียบเหมือนกุบูรฺ,  ไม่ใช่เป็นหะดีษห้ามอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ ...
ขอตอบว่า คำกล่าวของ อ.กอเซ็มข้างต้นเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องในแง่มุมหนึ่ง ...
แต่ อ.กอเซ็มไม่ได้เฉลียวใจบ้างหรือว่า เพราะเหตุใดท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวเปรียบเทียบบ้านที่ไม่มีการอ่านซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ว่า  เหมือนกุบูรฺ ?? ...
และ .. อ. กอเซ็ม ไม่เฉลียวใจบ้างหรือว่า ความหมายหะดีษบทแรกที่ท่านนบีย์กล่าวเปรียบเทียบว่า บ้านที่ไม่มีการอ่านซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ จะเป็นเหมือนกุบูรฺ,  กับความหมายหะดีษบทหลังที่ว่า บ้านที่ไม่มีการนมาซสุนัตในบ้าน จะเป็นเหมือนกุบูรฺ .. นั้น เป็นการกล่าวเปรียบเทียบในลักษณะเดียวกันและไม่มีข้อแตกต่างกัน ? ...
ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ได้กล่าวอธิบายหะดีษบทหลังที่ท่านนบีย์กล่าวว่า .. พวกท่านจงนมาซในบ้านของพวกท่าน  และพวกท่านจงอย่าทำมัน(บ้าน)ให้เป็นกุบูรฺ  ว่า ...
   إِسْتَنْبَطَ مِنْ قَوْلِهِ "وَلاَ تَتَّخِذُوْهَا قُبُوْرًا"  أَنَّ الْقُبُوْرَ لَيْسَتْ بِمَحَلٍّ لِلْعِبَادَةِ! فَتَكُوْنُ الصَّلاَةُ فِيْهَا مَكْرُوْهَةً
            ท่านบุคอรีย์ได้วิเคราะห์จากข้อความของหะดีษที่ว่า .. และพวกท่านจงอย่าทำมัน (บ้าน) ให้เป็นกุบูรฺ .. ว่า  แท้จริงกุบูรฺนั้น มิใช่เป็นสถานที่สำหรับทำอิบาดะฮ์!  ดังนั้น การนมาซในกุบูร จึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ...
   (จากหนังสือ ฟัตหุ้ลบารีย์  เล่มที่ 1  หน้า 529) ...
คำว่า อิบาดะฮ์ ในที่นี้หมายถึง อิบาดะฮ์ บะดะนียะฮ์ หรืออิบาดะฮ์ที่ปฏิบัติด้วยร่างกายโดยเฉพาะ จึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างๆ มิใช่จำกัดเฉพาะเรื่องนมาซเพียงอย่างเดียว  แต่ยังรวมถึง การอ่านอัล-กุรฺอ่าน ดังข้อความที่มีระบุในหะดีษบทแรกด้วย
เพราะฉะนั้น เราจึงสามารถกล่าวอธิบายในลักษณะเดียวกันนี้ จากหะดีษบทแรกว่า .. แท้จริง กุบูรฺนั้นมิใช่เป็นสถานที่สำหรับทำอิบาดะฮ์ ดังนั้น การอ่านอัล-กุรฺอ่านในกุบูรฺจึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ .. ได้เช่นเดียวกัน ...  
และความหมายของคำว่า مَكْرُوْهَةً (น่ารังเกียจ) ตามคำกล่าวข้างต้น หมายถึง  كَرَاهَةً تَحْرِيْمِيَّةً .. คือ เป็นเรื่องต้องห้ามหรือหะรอม ..  อันเป็นสำนวนของนักวิชาการยุคแรกดังเป็นที่ทราบกันดี ...
ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจที่ว่า  การนมาซที่กุบูรฺและการอ่านอัล-กุรฺอ่านที่กุบูรฺ เป็นเรื่อง ต้องห้าม ตามนัยของหะดีษ 2 บทข้างต้น จึงมิใช่เป็นเพียงทัศนะของ บุคคลบางคนในปัจจุบัน ดังการกล่าวหาของ อ.กอเซ็ม ... 
แต่ถือได้ว่า เป็นทัศนะของนักวิชาการยุคแรกมาก่อนแล้ว  ซึ่งหนึ่งจากนักวิชาการยุคแรกเหล่านั้นก็คือท่านบุคอรีย์ .. ดังข้อมูลที่ได้นำเสนอไปนั้น

والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
อาจารย์กอเซ็ม มุหัมมัดอะลีย์ (คนแรก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น