จากรายงานหะดิษต่อไปนี้
รายงานท่านอิบนุ อุมัรฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดที่มาทันหนึ่งร็อกอะฮฺของละหมาดวันศุกร์ หรือละหมาดอื่นจากวันศุกร์ เช่นนั้นถือว่าเขาทันละหมาดนั้นแล้ว”(หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 1113 และอบูดาวูด หะดษที่ 946)
รายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“บุคคลใดที่ทันหนึ่งร็อกอะฮฺจากการละหมาด แน่นอนยิ่งเขาได้ทันในการละหมาดนั้น” (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 546 และมุสลิม หะดีษที่ 954)
จากหะดิษข้างต้น ถือว่าบุคคลใดที่มาทันละหมาดวันศุกร์เพียงหนึ่งร็อกอะฮฺ ถือว่าเขาทันละหมาดวันศุกร์ เมื่ออิมามให้สลามก็ให้เขายืนขึ้นละหมาดร็อกอะฮฺต่อไปจนครบ แต่ถ้าไปทัน อิมามกำลังสุญูดในร็อกอะฮฺที่สอง หรืออิมามกำลังนั่งตะชะฮฺฮุดขณะละหมาดวันศุกร์ เช่นนี้ถือว่าเขาผู้นั้นไม่ทันละหมาดวันศุกร์ เช่นนี้ก็ให้เขาละหมาดซุฮฺริ หรือละหมาดสี่ร็อกะฮฺโดยไม่ต้องละหมาดวันศุกร์
ดังนั้นคำพูด หรือทัศนะที่ว่า คุฏบะฮฺนั้นเสมือนกับ 2 ร็อกอะฮฺของละหมาด ถ้าผู้ใดมาไม่ทันที่อิมามคุฏบะฮฺ การละหมาดวันศุกร์ของเขาก็ใช้ไม่ได้นั้น เป็นทัศนะที่ค้านกับหลักฐานข้างต้นว่าผู้ใดมาทันละหมาดวันศุกร์เพียง 1 ร็อกอะฮฺถือว่าเขาทันละหมาดวันศุกร์ ถือว่าแนวความคิดข้างต้นขัดแย้งกับหลักฐานและตัวบทที่ยึดถือได้อย่างชัดเจน
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น