อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

การวินิฉัย ในเรื่อง การชดเชยละหมาดที่ขาดไป


ในความเห็นของอุลามะจากทัศนะทั้ง4 กล่าวเป็นอิจมาฮ์อุลามะว่า ดังนี้
وقالت طائفة من السلف والخلف من تعمد تأخير الصلاة عن وقتها من غير عذر يجوز له التأخير فهذا لا سبيل له إلى استدراكها ولايقدر على قضائها ابدا ولا يقبل منه
อบูหะนีฟะฮ อัชชาฟิอี อะหมัดและ มาลิก กล่าวว่า
จำเป็นต้องละหมาดชดใช้ และการชดใช้จากมัน ไม่ได้ทำให้พ้นจากความผิดฐานที่ปล่อยเวลา(ละหมาด)ให้ผ่านไป แต่ทว่า เขาสมควรที่จะได้รับการลงโทษ
จนกว่าอัลลอฮจะอภัยให้แก่เขา

- และในส่วนมากของนักปราชญ์ ต่างเห็นพ้องกันว่า คำกล่าวนี้ถือว่า เป็นมติที่ถูกต้อง ว่าไม่ใครขาดนมาชนั้น เขาจำเป็นต้องชดเชย
กรณีที่เจตนาไม่ละหมาด อุลามะมีทัศนะคติที่แตกต่าง สรุปได้ดังนี้
- ญุมฮูร ให้ทัศนะว่า จำเป็นต้องชดใช้
- อิบนิตัยมิยะฮฺ อิบนุฮัซมี และชนกลุ่มหนึ่งในมัซฮับ ชาฟีอี ให้ทำการเตาบะฮ และไม่จำเป็นต้องชดใช้
1.กรณีที่ไมได้ทำการละหมาดเนื่องจากการหลงลืมหรือหลับ เป็น อิญมาอฺ คับที่ต้องชดใช้
2.กรณีที่เจตนาไม่ละหมาด อุลามะมีทัศนะคติที่แตกต่าง สรุปได้ดังนี้
- ญุมฮูร ให้ทัศนะว่า จำเป็นต้องชดใช้
- อิบนิตัยมิยะฮฺ อิบนุฮัซมี และชนกลุ่มหนึ่งในมัซฮับ ชาฟีอี ให้ทำการเตาบะฮ และไม่จำเป็นต้องชดใช้
ในกรณี นี้ นั้น ความเห็นของนักวิชาการล้วนต่างมีทัศนะ แตกต่างกัน นักวิชากรสลัฟส่วนมาก กล่าวว่า การขาดละหมาด จะเจตนาหรือไม่ ก็ต้องชดใช้
นักวิชาการสลัฟที่เห็นว่า การชดใช้นั้นจำเป็นต้องกระทำแม้จะเจตนหรือไม่ เขาเหล่านั้นได้แก่
ท่านอบูหะนีฟะฮ ท่านอัชชาฟิอี ท่านมาลิกี ท่านอิม่ามอะหมัด (จากทัศนะทั้ง 4) กล่าวว่า
จำเป็นต้องละหมาดชดใช้ และการชดใช้จากมัน ไม่ได้ทำให้พ้นจากความผิดฐานที่ปล่อยเวลา(ละหมาด)ในเวลาผ่านไป
แต่ทว่า เขาสมควรที่จะได้รับการลงโทษจนกว่าอัลลอฮจะอภัยให้แก่เขา
แต่สำหรับทัศนะของนักวิชาการใหม่หรือรุ่นหลัง สลัฟ ที่มีความเห็นตรงกันคือ
(1.อิบนุหัซมิน (2. อิบนุตัยมียะฮ (3. เช็ค บินบาซ (4. เช็คอุษัยมีน
...................................
หตุที่อุละมาอ์เหล่านี้บอกว่าไม่จำเป็นต้องชดใช้ เพราะท่านเห็นว่าคนที่ทิ้งละหมาด(ด้วยการปฏิเสธ ไม่ใช่เพราะขี้เกียจ)เป็นกาฟิร เพราะฉะนั้นวิธีการเตาบะฮฺของเขาก็คือต้องกล่าวปฏิญาณใหม่ ประมาณว่าเขารับอิสลามใหม่อีกครั้ง คนที่เพิ่งรับอิสลามจึงไม่จำเป็นต้องชดใช้อะมัลต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิต .. วัลลอฮฺอะอฺลัม
1. ทิ้งละหมาด พร้อมทั้งปฏิเสธว่าการละหมาดเป็นวาญิบ
2. ทิ้งละหมาด เพราะความเกียจคร้าน หรือไม่ให้ความสำคัญ แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าการละหมาดนั้นเป็นวาญิบ

กรณีที่ 1 : ทิ้งละหมาด พร้อมทั้งปฏิเสธว่าการละหมาดเป็นวาญิบ
ผู้ใดทิ้งละหมาด โดยที่เขาปฏิเสธว่ามันเป็นวาญิบ หรือ ทำละหมาด แต่ในใจปฏิเสธว่ามันเป็นวาญิบ เช่นนี้ ถือว่าเขาเป็นกาเฟร มุรตัด ออกจากศาสนาด้วยความเห็นเป็นเอกฉันท์
ซึ่งเมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ ผู้นำมุสลิม จะต้องขอให้เขาทำการเตาบะฮฺกลับตัว หากเขาไม่ยอมเตาบะฮฺ มีโทษประหารชีวิต และให้ปฏิบัติต่อเขาเยี่ยงผู้ตกมุรตัดทั่วไปทุกประการ..ทั้งนี้ หากว่าเขานั้น เติบโตใช้ชีวิตอยู่ในสังคมมุสลิม และรู้ดีว่าละหมาดเป็นวาญิบ..
แต่ถ้าเขา เป็นผู้ที่เพิ่งรับอิสลาม หรือเติบโตใช้ชีวิตในที่ๆห่างไกลจากสังคมมุสลิม ทำให้อาจจะไม่รู้ว่าละหมาดเป็นวาญิบ.. เช่นนี้จำเป็นจะต้องให้ความรู้แก่เขาเสียก่อน หากว่าเขารู้แล้ว แต่ยังคงปฏิเสธ เช่นนั้นจึงถือว่าเขาตกมุรตัด..

กรณีที่ 2 : ทิ้งละหมาดเพราะความเกียจคร้าน หรือไม่ให้ความสำคัญ แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าการละหมาดนั้นเป็นวาญิบ
ไม่มีผู้ใดโต้แย้งว่า การเจตนาทิ้งละหมาด โดยที่ไม่มีเหตุผลจำเป็น (ที่เป็นที่ยอมรับทางศาสนา) นั้น ถือเป็นบาปใหญ่มากประการหนึ่ง และเป็นการนำพาตัวสู่ความหายนะ และการลงโทษที่เจ็บแสบ ในดุนยา และอาคิเราะฮฺ..
แต่ทั้งนี้ อุละมาอ์ผู้รู้ก็มีทัศนะที่แตกต่างกัน ว่าหุก่มของผู้ที่ทิ้งละหมาดในกรณีนี้นั้นเป็นเช่นไร? โดยแบ่งได้เป็น 2 ทัศนะ ดังนี้ :

- ทัศนะที่ 1 : ถือว่าเขาได้กระทำบาปใหญ่ และเป็นผู้ที่ฝ่าฝืน แต่ไม่ถึงขั้นตกมุรตัดเป็นกาเฟร
ทัศนะนี้เป็นของอุละมาอ์ส่วนใหญ่ และเป็นทัศนะของ อัษเษารีย์, อบูหะนีฟะฮฺ และมัซฮับหะนะฟีย์, มาลิก, และเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่าของชาฟิอีย์, และรายงานหนึ่งจากอะหฺมัด(จากสองรายงาน)
[ดู หาชิยะฮฺ อิบนิ อาบิดีน 1/235, อัลฟะตาวา อัลฮินดิยะฮฺ 1/50, หาชิยะฮฺ อัดดะสูกีย์ 1/189, มะวาฮิบุล ญะลีล 1/420, มุฆนิล มุหตาจญ์ 1/327, อัลมัจญ์มูอฺ 3/16]

- ทัศนะที่ 2 : ถือว่าเขาตกมุรตัด เป็นกาเฟร ออกจากศาสนา
ทัศนะนี้ เป็นของ สะอีด บิน ญุเบร, อัชชะอฺบีย์, อันนะเคาะอีย์, อัลเอาซาอีย์, อิบนุล มุบาร็อก, อิสหาก, และสายรายงานที่ถูกต้องมากกว่าจากอะหฺมัด, และทัศนะหนึ่งในมัซฮับชาฟิอีย์โดย อิบนุ หัซมฺ ได้รายงานว่า เป็นทัศนะของ ท่านอุมัร บิน ค็อฏฏอบ, มุอาซ บิน ญะบัล, อับดุรเราะหฺมาน บิน เอาฟฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
[ดู มุก็อดดิมาต อิบนิ รุชด์ 1/64, อัลมุกนิอฺ 1/307, อัลอินศอฟ 1/402, มัจญมูอฺ อัลฟะตาวา 22/48]

ซึ่งประเด็นที่ว่า บุคคลที่ทิ้งละหมาดในกรณีที่ 2 (เกียจคร้าน แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าละหมาดเป็นวาญิบ) จำเป็นต้องละหมาดใช้หรือไม่นั้น ก็วางอยู่บนพื้นฐานของการมีความเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นที่ว่า เมื่อเขาทิ้งละหมาดนั้น ถือว่าเขาเป็นกาเฟรหรือไม่?
ซึ่งประ้เด็นนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องของ "นักวิชาการสลัฟ" กับ "นักวิชาการใหม่ หรือ รุ่นหลังสลัฟ" อย่างที่บางท่านพยายามนำเสนอหรอก ก็อย่างที่เราได้เห็นไปแล้ว (โปรดสังเกตว่า ในการนำเสนอทัศนะนั้น ไม่ได้กล่าวถึงนักวิชาการ 'ใหม่' เลยแม้แต่คนเดียว ล้วนแล้วแต่เป็นอุละมาอ์สลัฟทั้งสิ้น)

والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น