อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

การละหมาดญะมาอะฮฺซ้อนญะมาอะฮฺ


          การละหมาดญะมาอะฮฺซ้อนญะมาอะฮฺ หมายถึง เมื่อมีการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดเสร็จสิ้นไปแล้ว จากนั้นก็มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มาละหมาดญาะมาอะฮฺ ครั้งที่สอง ณ มัสยิดหลังเดียวกันนั้นอีก

การละหมาดญะมาอะฮฺซ้อนญะมาอะฮฺ นั้นมีความขัดแย้งในหมู่นักวิชาการ

-ฝ่ายหนึ่งมีทัศนะว่าให้ละหมาดญามาอะฮฺซ้อนญะมาอะฮฺได้ อธิเช่นบรรดาศหาบะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม กลุ่มหนึ่ง และกลุ่มหนึ่งจากตาบิอีน มีทัศนะว่า ถือว่าไม่เป็นไร หากกลุ่มหนึ่งจะละหมาดญะมาอะฮฺในมัสยิดแห่งหนึ่งซึ่งการละหมาดญะมาอะฮฺแรกเสร็จสิ้นไปแล้ว (หนังสือ ตุหฺฟะตุลอะหฺวะซีย์ เล่ม 2 หน้าที่ 8)
โดยอาศัยหลักฐาน ดังนี้
รายงานจากท่านอบูอุมามะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าวว่า
"แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะละยฮิ วะซัลลัม เห็นชายผู้หนึ่งละหมาด(เพียงลำพัง) ท่านรสูล จึงกล่าวว่าไม่มีผู้ใดจะเศาะดะเกาะด้วยการไปละหมาดพร้อมกับเขากระนั้นหรือ จากนั้นชายผู้หนึ่งก็ลุกขึ้นและยืนละหมาดพร้อมกับเขา ท่านรสูลจึงกล่าวขึ้นว่า สองคนนี้ คือ ญะมาอะฮฺ"
 (บันทึกหะดิษโดยอะหฺมัด หะดิษเลขที่ 21165)


-ฝ่ายหนึ่งมีทัศนะว่าไม่ชอบให้กระทำละหมาดญะมาอะฮฺซ้อนญะมาอะฮฺ เช่น ท่านสาลิม บุตรของอับดุลลอฮฺ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่านอุมัร บุตรของค็อฏฏ็อบ(เป็นตาบิอีน)

โดยให้เหตุผลว่า กลุ่มชนซึ่งมาทีหลังจะรวมกันละหมาดญะมาอะฮฺภายหลังการละหมาดญะมาอะฮฺแรกจบสิ้นไปแล้ว ไม่พบแบบฉบับของท่านรสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ หรือยอมรับก็ตาม และไม่พบการกระทำของบรรดาเศาะหาบะฮฺแต่อย่างใด

รายงานจากท่านสุหฺนูน จากท่านอิบนุล กอสิม จากท่านมาลิก จากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของอัลมุญับบิรฺ เล่าว่า
ฉันเข้ามัสยิดญุมุอะฮฺ(มัสยิดที่เตรียมไว้ละหมาดวันศุกร์) พร้อมกับท่านสาลิม บุตรของอับดุลลอฮฺ ซึ่งขณะนั้นผู้คน(ที่อยู่ในมัสยิด)ละหมาดเสร็จแล้ว พวกเขาก้กล่าวแก่ท่านสาลิมว่า ท่านไม่ละหมาดญะมาอะฮฺดอกหรือ ท่านสาลิมตอบว่า การละหมาด(ญะมาอะฮฺอีกครั้ง) หนึ่งจะไม่ถุกรวมเป็นครั้งที่สองในมัสยิดเดียวกัน (หนังสือ อัลเกาลุลมุบีน ฟีอัคฏออุลมุศ็อลลีน หน่าที่ 273)

ทัศนะที่ไม่มีการละหมาดญะมาอะฮฺซ้อนญะมาอธฮฺ หากไม่ทันญะมาครั้งแรก ซึ่งละหมาดพร้อมอิมามประจำมัสยิด ก็ให้เขากลับไปละหมาดญะมาอะฮฺที่บ้านของตนเอง

หรือหากผู้ละหมาดที่มาไม่ทันญะมาอะฮฺ ให้ต่างคนต่างละหมาด โดยไม่ต้องละหมาดญะมาอะฮฺ ณ มัสยิดแห่งนั้น

หรือให้ผู้ที่ละหมาดญะมาอะฮฺครั้งแรกซึงละหมาดเสร็จไปแล้วนั้นมาเป็นมะมูม หรืออิมามให้แก่เขา

รายงานจากท่านอิบรอฮีม เล่าว่า
แท้จริงท่านอัลเกาะฮฺ และท่านอัลอัสวัดมาพร้อมกับท่านอิบนุมัสอูดเพื่อไปยังมัสยิด ขณะนั้นผู้คน ซึ่งละหมาดเสร็จแล้วออกมายังพวกเขา เช่นนั้นท่านอิบนุมัสอูดกลับไปยังบ้านของพวกเขาพร้อมกับเขาทั้งสอง จากนั้นท่านก็ยืนด้านขวา และอีกคนหนึ่งยืนด้านซ้ายของเขา แล้วเขาก้เป็นอิมามนำละหมาดเขาทั้งสอง
 (บันทึกโดยอับดุรฺเราะซาก หะดิษที่ 9380)

 ท่านอมามชาฟอีย์กล่าวว่า
"เมื่อมัสยิดใดมีอิมามประจำมัสยิด และปรากฏว่าบุคคลที่มาไม่ทันละหมาด (ญะมาอะฮฺครั้งแรก) ซึ่งละหมาดเสร็จไปแล้ว เช่นนั้นให้พวกเขาต่างคนต่างละหมาด ฉันไม่ชอบให้พวกเขาละหมาดญะมาอะฮฺอีก(เป็นครั้งที่สอง) (แต่ถ้าพวกเขาจะละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ) การละหมาดญะมาอะฮฺของพวกเขาถือว่าใช้ได้ แต่ถือว่าน่ารังเกียจ สำหรับพวกเขา เพราะสิ่งดังกล่าว ไม่พบว่าชาวสลัฟกระทำเช่นนั้นก่อนหน้านี้ อีกทั้งบางคนในหมู่พวกเขายังตำหนิการกระทำเช่นนั้นอีกด้วย" 
 (หนังสืออัลเกาลุลมุบีน ฟีอัฏออุลมุศ็อลลีน หน้าที่ 271-272)


والله أعلم بالصواب                 
 ✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น