อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

คำกล่าวของอิมามชาฟีอีย์เกี่ยวกับบุตรีกับพ่อที่ทำซินา


คำฟัตวาของท่านอิมามชาฟีอีย์ที่ระบุว่า บุตรสตรีซินา สามารถแต่งงานกับบิดาของตนเองได้

ท่านอิมามชาฟีอีย์ ร่อหิมาฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
เป็นที่น่ารังเกียรติสำหรับผู้เป็นพ่อ ถ้ามองกันในด้านศิลธรรมด้านศาสนา ที่จะแต่งงานกับลูกสาวที่เกิดมาจากเขาอันเนื่องมาจากซินา” (หนังสือกิตาบอัลอุม เบรุต:ดารฺอัลมะอฺริฟะฮฺ)

จากคำฟัตวาข้างต้น ท่านอิมาชาฟีอีย์ ท่านเพียงพูดถึงในแง่หุก่ม หรือข้อตัดสินในทางฟิกฮฺเท่านั้น ว่า สตรีที่เกิดจากการซินานั้น ท่านไม่ถือว่าบุตรจากการซินาจะต้องนับเป็นบุตรของบิดาของนางที่ได้ทำซินากับมารดาของนางไว้ เป็นบทลงโทษผู้เป็นบิดา ไม่ใช่เป็นการลงโทษบุตรสตรีที่เกิดจากการทำซินา อย่างที่เข้าใจของมุสลิมบ้านเราที่ตามทัศนะของอิมามชาฟีอีย์ เมื่อท่านอิมามชาฟีอีย์ถือว่าไม่ใช่บุตรของบิดาที่ทำซินา วิชาทางฟิกฮฺ จึงเกิดขึ้นมาในอีกด้านหนึ่ง ว่าบุตรที่เกิดจากการทำวินากับบิดาของนาง ไม่มีสิทธิในการเป็นวะลีย์ และมะรอมต่อกัน เมื่อพูดในทางฟิกฮฺแล้วทั้งคู่จึงแต่งงานกันได้ แม้ว่าตามความเป็นจริงไม่อาจเป็นไปได้ และไม่มีใครชื่นชอบการแต่งงานกับบุตรของตัวเอง
เช่นเดียวกับฟัตวาของอิมามมาลิก ร่อหอมาฮุลลอฮฺ ต่อไปนี้

อิมามมาลิก ร่อหิมาฮุลลอฮฺ กล่าวว่า

“แท้จริงการซีนากับสตรีมิได้ส่งผลต่อผู้ที่ทำซินากับนางว่าเขาจะถูกห้าม แต่งงานกับบุตรี หรือมารดาของหญิงที่เขาได้ลอบทำซินาด้วย หากว่าผู้ชายทำซินากับมารดาของภรรยาของเขา ภรรยาของเขาก็ไม่ได้เป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขา แต่ยิ่งไปกว่านั้นเขาควรจะถูกฆ่า!!! แท้จริงแล้วการซินาไม่ได้ทำให้บางสิ่งมีผลเป็นที่ต้องห้ามติดตามมาซึ่งการแต่งงานที่ถูกอนุญาตได้ทำให้เป็นที่ต้องห้ามไว้”
(อัลอิซติสการอัลญามิอฺลิมะสาฮิบฟุกอฮาอฺอัลอัมศ๊อรฺ” ดิมัชกฺ: เล่ม 16 หน้าที่ 197 หมายเลข 24012)
จากคำฟัตวาของอิมามมาลิกเข้าใจได้ว่า ท่านเพียงแต่กล่าวในเชิงหุก่มทางฟิกฮฺ ว่าการซินาอันเป็นความสัมพันธ์ทางเพศที่ผิดศาสนาไม่อาจนำข้อบัญญัติประการอื่นๆติดตามมาด้วย คือ การแต่งงานซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ถูกต้อง จะนำมาซึ่งข้อบัญญัติประการอื่นตามมา กล่าวคือ การแต่งงานนำพามาซึ่งการต้องห้ามที่จะแต่งงานกับญาติฝ่ายหญิง เช่นมารดา พีสาวน้องสาวของนาง หรือลูกสามีเก่าของนาง แต่ถ้าหากชายคนหนึ่งลักลอบผิดประเวณีกับหญิงหนึ่ง ความผิดทางบทบัญญัติศาสนาย่อมไม่สามารถนำมาใช้ในประการอื่นที่เป็นมิติที่ถูกต้อง มาบังคับใช้ ดังนั้นในแง่ทางฟิกฮฺ แล้วท่านอิมามมาลีกพิจารณาว่าการซินาของชายคนหนึ่งกับหญิงคนหนึ่ง ไม่อาจทำให้มีการต้องห้ามต่อมารดา พี่สาวน้องสาว หรือลูกสาวที่ติดมากับหญิงที่ตนทำซินาได้
ดังนั้นในหลักทางฟิกฮฺที่ต้องแสวงหาเอาหุกุ่มแล้ว

 จะทำได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หรือแม้ว่าตามความเป็นจริงผู้ชายไม่อาจทำเช่นนั้นได้ ดั่งที่ท่านอิมามมาลิกได้เสนอว่า หากชายใดกระทำเช่นนั้น คือจะแต่งงานกับบุตรสตรีที่เกิดมาจากที่ตนได้ทำซินากับแม่ของนาง ก็ให้ประหารชีวิตชายคนนั้นเสีย ซึ่งบ่งบอกว่าการแต่งงานเช่นนี้คงไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง เพราะฝ่ายชายคงต้องถูกประหารตายไปก่อนแล้ว

ทั้งการฟัตวาของอิมามทั้งสอง (อิมามมาลิกและชาฟีอีย์) ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องของการเหยียดหยามและดูแคลนสตรีเพศ และเป็นมติเอกฉันท์ของผู้รู้จากแม่บทศาสนา ว่าลูกที่เกิดขึ้นมาจากการผิดประเวณีนั้น ไม่มีความผิด หรือด่างพล้อยมลทินใดๆทั้งสิ้น ศาสนาไม่เคยเอาผิด และประณามเหยียดหยามต่อเด็กเหล่านั้น

รายงานจากท่นหญิงอะอีฉะฮ เราะฏิยัลลอฮุอันฮูว่า
عن النبي -صلى الله عليه وسلم ليس على ولد الزنى من وزر أبويه شيء "ولا تزر وازرة وزر أخرى" [الأنعام:164
จากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “ลูกซีนานั้น จะไม่ต้องรับภาระความผิดของบิดามารดของเขาแม้แต่น้อย (เพราะอัลลอฮตรัสว่า)
“وَلاَ تَزِرُ وَازِرَةٌ وِزْرَ أُخْرَى
และไม่มีผู้แบกภาระคนใดจะแบกภาระความผิดของผู้อื่นได้
– อัลอันอาม/164
- ดู อัลมุสตัดรอ็ก ของ อิหม่ามอัลหากิม เล่ม 4 หน้า 112
จากหะดิษอิสลามไม่ได้พิจารณาว่าบุตรนอกสมรสนั้น คือบุตรชั่ว หรือบุตรที่มีตำหนิจนถือเป็นปมด้อยทางสังคม เขามีสิทธิทางสังคมและเกียรติทางศาสนา เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปทุกประการ
สำหรับกรณีที่ท่านอิมามชาฟีอีย์ได้วินิจฉัยไปข้างต้นที่ว่า บิดาสามารถแต่งงานกับบุตรของตนเอง(ทั้งที่ความเป็นจริงไม่อาจเป็นไปได้) ท่านคงทำการอนุมานเทียบเคียงว่า เมื่อบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี ข้อบัญญัติทางศาสนาได้ตัดสิทธิ์ในการรับมรดกจากบิดา เพราะไม่พิจารณาว่าเขาเป็นบุตรตามบทบัญญัติทางศาสนา ดังนั้นการเป็นมะฮฺรอม ที่บิดามีต่อบุตรก็จะถูกตัดทิ้งไปด้วยเช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่าทัศนะการวิเคราะห์ของอิมามชาฟิอีย์นั้น ท่านพิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรที่เกิดจากที่ตนได้ทำการซินา โดยในความเป็นจริงแล้วฟัตวานี้ ก็มีเป้าหมายทางจิตวิทยา ในการลงโทษบิดา มิใช่ถือโทษต่อบุตร ด้วยการตัดสิทธิ์ของความเป็นพ่อออกจากบุตรีของตนที่เขาไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดมา คล้ายกับกฎหมายสมัยใหม่ที่ตัดการเลี้ยงดูของผู้ชายจากบุตร และมอบให้บุตรอยู่ในอาณัติของมารดาแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อความเป็นพ่อ ได้ถูกตัดสิทธิ์ออกไปจากบิดาที่ประพฤติผิดประเวณี ในเรื่องชายผู้เป็นบิดาสามารถแต่งงานกับเชื่อสายของตนเอง แต่ท่านอิมามชาฟีอีย์ ได้มีความเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจมากสำหรับผู้ศรัทธาที่จะกระทำเช่นนั้น สำหรับผู้ไร้สรัทธาต่อพระเจ้าอย่างใจจริงที่จะกระทำเช่นนั้น แต่มันก็ไม่ถึงกับต้องห้ามสำหรับคนชั่วหากเขาจะทำเช่นนั้น

والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น