สถานที่ละหมาดวันศุกร์
ละหมาดวันศุกร์นั้น ละหมาดใช้ได้ ทั้งในเมือง ในตำบล ในอาคาร กลางทุ่งของเมืองนั้น เช่นเดียวกันที่จะใช้ได้ในหลายสถานที่
แท้จริงท่านอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้เขียนสารส่งไปยังชาวบาฮฺเรน ว่า
“ให้พวกท่านละหมาดร่วมกันในที่ใดก็ตามที่พวกท่านอาศัยอยู่” (บันทึกหะดิษโดย อิบนุอบีชัยบะฮฺ)
ท่านอิมามอะหฺมัด กล่าว่า
“สายรายงานหะดิษนี้ดี อันนี้คลุมไปถึงเมืองและตำบลต่างๆด้วย
ท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
“แท้จริงละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกที่ได้ทำขึ้นในศาสนาอิสลาม หลังจากละหมาดวันศุกร์ที่ได้ทำในมัสยิดรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ที่เมืองมะดีนะฮฺ แล้วก็คือ ละหมาดวันศุกร์ที่ได้ทำขึ้นที่(ญะวาอี) หมู่บ้านหนึ่ง จากบรรดาหมู่บ้านในในบาฮฺเรน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และอบูดาวูด)
รายงานจากลัยษ์ อบบนิสะอัด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“แท้จริงชาวอียิปต์ และชาวชายฝั่งทะเล พวกเขาได้ละหมาดวันศุกร์กันในสมัยอุมัร และอุษมาน โดยคำสั่งของทั้งสอง ซึ่งในการละหมาดนั้นมีสาวกร่วมอยู่ด้วยหลายคน”
รายงานจากท่านอิบนิอุมัร เล่าว่า
“เขาเคยเห็นเจ้าของบ่อน้ำที่อาศัยอยู่ระหว่างเมืองมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ ร่วมละหมาดวันศุกร์กัน โดยไม่มีใครวิจารณ์พวกเขาแต่ประการใด” (บันทึกหะดิษโดยอัรร็อซซาก ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
ละหมาดวันศุกร์ เป็นการละหมาดรวมกัน เป็นขอบเขตที่มีระบุไว้ในสุนนะฮฺ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พระองค์อัลลอฮฺทรงใช้ ส่วนที่นักนิติศาสตร์อิสลามบางท่านได้วางเงื่อนไขว่า สถานที่ละหมาดวันศุกร์ ต้องมีมัสยิดกลางอยู่ในเมือง หรือมัสยิดจะต้องเป็นมัสยิดรวมและต้องมีห้องน้ำ เงื่อนไขดังกล่าวไม่มีหลักฐานมาระบุไว้ ทัศนะดังกล่าวไม่มีพื้นฐานความรู้ และไม่พบในคัมภีร์กุรอานของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม แต่อย่างใด
والله أعلم بالصواب
ละหมาดวันศุกร์นั้น ละหมาดใช้ได้ ทั้งในเมือง ในตำบล ในอาคาร กลางทุ่งของเมืองนั้น เช่นเดียวกันที่จะใช้ได้ในหลายสถานที่
แท้จริงท่านอุมัร ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ ได้เขียนสารส่งไปยังชาวบาฮฺเรน ว่า
“ให้พวกท่านละหมาดร่วมกันในที่ใดก็ตามที่พวกท่านอาศัยอยู่” (บันทึกหะดิษโดย อิบนุอบีชัยบะฮฺ)
ท่านอิมามอะหฺมัด กล่าว่า
“สายรายงานหะดิษนี้ดี อันนี้คลุมไปถึงเมืองและตำบลต่างๆด้วย
ท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
“แท้จริงละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกที่ได้ทำขึ้นในศาสนาอิสลาม หลังจากละหมาดวันศุกร์ที่ได้ทำในมัสยิดรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ที่เมืองมะดีนะฮฺ แล้วก็คือ ละหมาดวันศุกร์ที่ได้ทำขึ้นที่(ญะวาอี) หมู่บ้านหนึ่ง จากบรรดาหมู่บ้านในในบาฮฺเรน” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และอบูดาวูด)
รายงานจากลัยษ์ อบบนิสะอัด ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“แท้จริงชาวอียิปต์ และชาวชายฝั่งทะเล พวกเขาได้ละหมาดวันศุกร์กันในสมัยอุมัร และอุษมาน โดยคำสั่งของทั้งสอง ซึ่งในการละหมาดนั้นมีสาวกร่วมอยู่ด้วยหลายคน”
รายงานจากท่านอิบนิอุมัร เล่าว่า
“เขาเคยเห็นเจ้าของบ่อน้ำที่อาศัยอยู่ระหว่างเมืองมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ ร่วมละหมาดวันศุกร์กัน โดยไม่มีใครวิจารณ์พวกเขาแต่ประการใด” (บันทึกหะดิษโดยอัรร็อซซาก ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง)
ละหมาดวันศุกร์ เป็นการละหมาดรวมกัน เป็นขอบเขตที่มีระบุไว้ในสุนนะฮฺ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พระองค์อัลลอฮฺทรงใช้ ส่วนที่นักนิติศาสตร์อิสลามบางท่านได้วางเงื่อนไขว่า สถานที่ละหมาดวันศุกร์ ต้องมีมัสยิดกลางอยู่ในเมือง หรือมัสยิดจะต้องเป็นมัสยิดรวมและต้องมีห้องน้ำ เงื่อนไขดังกล่าวไม่มีหลักฐานมาระบุไว้ ทัศนะดังกล่าวไม่มีพื้นฐานความรู้ และไม่พบในคัมภีร์กุรอานของอัลลอฮฺและสุนนะฮฺของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม แต่อย่างใด
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น