อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อิสลามกับไฟแนนซ์




                 ไฟแนนซ์คือธุรกิจที่แสวงหากำไรจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยที่ผ่อนชำระปกติพร้อมเงินต้นหรือดอกเบี้ยปรับล่าช้า จากการผิดนัดชำระตามวันและเวลาที่กำหนดกันไว้ ฉะนั้นการทำนิติกรรมใดๆ กับไฟแนนซ์ก็คือการเอาตัวเข้าไปผูกพันกับดอกเบี้ยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                พระองค์อัลลอฮ์ ได้ทรงกล่าวว่า

 وَأَحَلَّ اللهُ البَيْعَ وَحَرَّمَ الرَبَا

“และพระองค์อัลลอฮ์นั้นทรงอนุมัติการค้าขาย แต่ห้ามเรื่องดอกเบี้ย” ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 275

                 ซึ่งการชำระปกตินี้มีดอกเบี้ยที่ควบรวมกับเงินต้นไว้แล้ว ตัวอย่างเช่น

                นาย ก ซื้อรถยนต์คันหนึ่งราคา 300,000.- บาท โดยชำรำเงินสดให้กับบริษัทรถยนต์เป็นเงิน 50,000 บาทและยังคงเหลือยอดค้างชำระที่นาย ก ต้องจ่ายให้แก่บริษัทรถยนต์อีก 250,000.- บาท (นี่คือยอดเงินต้นของกรณีนี้) ดังนั้นบริษัทรถยนต์จึงให้ทำการจดนิติกรรมกับบริษัทไฟแนนซ์ หรือพูดง่ายๆว่า กู้เงินไฟแนนซ์ 250,000.- บาทเพื่อชำระให้แก่บริษัทรถยนต์ ด้วยวิธีการเช่าซื้อและถูกบังคับประกัน

                การเช่าซื้อ หมายถึง รถยนต์คันดังกล่าวนี้จะถูกจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อบริษัทไฟแนนซ์  (คือไฟแนนซ์เป็นเจ้าของ) ส่วนนาย ก ผู้เช่าซื้อนั้นได้รับสิทธิ์ครอบครอง จนกว่านาย ก จะผ่อนชำระให้แก่ไฟแนนซ์จนครบถ้วนเสียก่อน จึงจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของ นาย ก อย่างถูกต้อง

                เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของไฟแนนซ์ แน่นอนว่า เขาต้องบังคับให้ผู้เช่าซื้อทำประกันภัย ในระหว่างการผ่อนชำระ โดยผู้เอาประกันก็คือไฟแนนซ์ ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์นั่นเอง

                วิธีการคิดคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยจากการเช่าซื้อในครั้งนี้คือ เงินต้นคูณด้วยดอกเบี้ย คูณด้วยจำนวนปีที่ต้องการผ่อนชำระ หารด้วยจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระดังนี้

                เงินต้น 250,000.- บาท คูณด้วย ดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี (โดยประมาณ)  เท่ากับปีละ 20,000 บาท ระยะเวลาผ่อน 3 ปีเท่ากับดอกเบี้ยทั้งหมด 60,000.-บาท รวมเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดเป็นเงิน 310,000.- บาท หลังจากนั้น หารด้วยจำนวนเดือนที่ผ่อนชำระคือ 36 เดือน จะได้ยอดผ่อนชำระเดือนละ 8,612.- บาท

               ในยอดผ่อนชำระรายเดือนจำนวน 8,612.- บาทนี้ มีเงินต้นอยู่ 6,945.- บาท และดอกเบี้ย 1,667.- บาท จะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยนี้ เป็นอัตราคงที่ตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายที่ผ่อนชำระ แม้จะผ่อนชำระไปแล้ว 10 เดือนก็ไม่ทำให้อัตราดอกบี้ยลดลงแต่ประการใด เนื่องจากว่าได้นำเอาดอกเบี้ยทั้งหมดไปควบรวมกับเงินต้นไว้ก่อนหน้านี้แล้ว หรือกล่าวได้ว่า ต้นลดแต่ดอกไม่ลด โหดกว่าดอกเบี้ยธนาคารหลายเท่านัก

                ที่กล่าวมานี้คืออัตราการผ่อนชำระปกติโดยไม่ได้ผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่เข้าใจว่าถ้าไม่ผิดสัญญาก็ไม่เป็นไร แต่ที่จริงแล้วการไม่ผิดสัญญานี้มันมีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องฮารอม แน่นอน

                แต่หากผิดสัญญาเช่าซื้อ ก็ต้องเจอเบี้ยปรับล่าช้าอีก อย่างนี้คือ ฮารอม ซ้ำซ้อน !!!!!


 
والله أعلم بالصواب



โดย  อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้


✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿


2 ความคิดเห็น:

  1. ญาซากัลลอฮุค๊อยรอนค่ะ..

    ตอบลบ
  2. อยากทราบเรื่องของการรีไฟแนนซ์ด้วยครับว่า..ศาสนาอณุญาติหรือไม่อย่างไร

    ตอบลบ