อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ชายจะแต่งงานกับหญิงคนที่2ภริยาคนแรกต้องยินยอมหรือไม่


การมีภรรยา คนที่ 2 คนที่ 3 หรือ คนที่ 4 ตามบทบัญญัติอิสลามนั้น มีเงื่อนไขว่า ต้องให้ความยุติธรรมแก่ภรรยาทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็น หรือนาฟาเกาะฮฺ ได้แก่ ค่าอาหาร,ค่าเสี้อผ้า, ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของภรรยา เป็นต้น การพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปอยู่กับภริยาแต่ละคนในจำนวนวันที่เท่ากัน รวมถึงการให้เกียติและยกย่องเชิดชูภริยาแต่ละคนในฐานะสามีภริยาโดยเท่าเทียมกัน อย่าได้ทุ่มเทความรักให้แก่คนใดคนหนึ่งจนหมดหัวใจ หรือหลงจนขาดสติ แล้วทอดทิ้งอีกคนหนึ่งไว้โดยไม่เอาใจใส่ดูแล


พระองค์อัลลอฮฺ์ทรงตรัสว่า

وَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تُقْسِطُوا فِي الْيَتَامَىٰ فَانكِحُوا مَا طَابَ لَكُم مِّنَ النِّسَاءِ مَثْنَىٰ وَثُلَاثَ وَرُبَاعَ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تَعْدِلُوا فَوَاحِدَةً أَوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ ذَٰلِكَ أَدْنَىٰ أَلَّا تَعُولُوا ( 3 ) 

"และหากพวกเจ้าเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความยุติธรรมในบรรดาเด็กกำพร้าได้ ก็จงแต่งงานกับผู้ที่ดีแก่พวกเจ้า ในหมู่สตรี สองคน หรือสามคน หรือสี่คน แต่ถ้าพวกเจ้าเกรงว่าพวกเจ้าจะให้ความยุติธรรมไม่ได้ ก็จงมีแต่หญิงเดียว หรือไม่ก็หญิงที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครองอยู่ นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ยิ่งกว่าในการที่พวกเจ้าจะไม่ลำเอียง"(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ 4:3)

จากหลักฐานอัลกุรอาน
การแต่งงานกับหญิงคนที่ 2 มีเงื่อนไขว่าต้องให้ความยุติธรรมแก่ภรรยาทั้งสอง หากให้ความยุติธรรมไม่ได้แล้ว อิสลามให้มีภริยาได้เพียง 1 คนเท่านั้น  ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้วเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ชายผู้เป็นสามีจะให้ความยุติธรรมแก่ภริยาแต่ละคนโดยเท่าเทียมกัน แม้ว่าผู้ศรัทธาชายบางคนจะพยายามสุดความสามารถแล้วก็ตาม

พระองค์อัลลอฮฺ์ทรงตรัสว่า

وَلَن تَسْتَطِيعُوا أَن تَعْدِلُوا بَيْنَ النِّسَاءِ وَلَوْ حَرَصْتُمْ فَلَا تَمِيلُوا كُلَّ الْمَيْلِ فَتَذَرُوهَا كَالْمُعَلَّقَةِ وَإِن تُصْلِحُوا وَتَتَّقُوا فَإِنَّ اللَّهَ كَانَ غَفُورًا رَّحِيمًا ( 129 ) 
"และพวกเจ้าไม่สามารถที่จะให้ความยุติธรรมในระหว่างบรรดาหญิง ได้เลย และแม้ว่าพวกเจ้าจะมีความปรารถนาอันแรงกล้าก็ตาม ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าเอียงไปหมด แล้วพวกเจ้าก็จะปล่อยให้บรรดานาง (ที่ถูกทอดทิ้ง) นั้นประหนึ่งผุ้ที่ถูกแขวนไว้ และหากพวกเจ้าประนีประนอมกัน และมีความยำเกรงแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัน-นิสาอ์ 4:129)


จะเห็นได้ว่า การที่อิสลามมีเงื่อนไขว่าการที่ชายจะมีภริยาตั้งแต่ 2 คน ถึง 4 คนได้นั้น ต้องมีความยุติธรรมต่อภริยาโดยเท่าเทียมกัน ทั้งที่ความจริงแล้ว เป็นไปได้ยากมากที่ชายผู้เป็นสามีจะให้ความยุติธรรมกับภริยาของตนโดยเท่าเทียมกันได้ อิสลามจึงไม่ได้สงเสริมให้ชายมีภริยาได้หลายคน แต่อิสลามสนับสนุนให้มีภริยาเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่อิสลามต้องการแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ เพื่อป้องกันวิกฤตในสังคมอันอาจะเกิดขึ้น เช่น ชายมีจำนวนมากเสียชีวิตในยามสงครามทำให้เด็กและสตรีจำนวนมากขาดผู้ดูแล ในภาวะการณ์เช่นนี้อนุญาตให้ผู้ชายแต่งงานกับสตรีที่สามีเสียชีวิตในสมรภูมิได้หลายคน เพื่อเป็นการดูแลและปกป้องสตรีเหล่านั้นไม่ให้หันเหไปในทางที่ผิดๆ หรือกรณีที่ภรรยาเจ็บป่วยเรื้อรัง และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ฉันท์สามีภรรยาได้ หรือไม่สามารถให้กำเนิดบุตรสืบสกุลได้ เป็นต้น

ซึ่งเงื่อนไขที่ว่าการจะมีภริยาตั้งแต่ 2 คน ถึง 4 คนได้นั้น ชายต้องมีความยุติธรรมต่อภริยาทุกคนโดยเท่าเทียมกันนั้น เป็นบทบัญญัติศาสนาที่เป็นคำสั่งของพระองค์อัลลอฮฺ หากเป็นไปตามเงื่อนไข การแต่งงานกับภริยาคนที่สองก็สมบูรณ์ตามบทบัญญัติศาสนาแล้ว  ศาสนามิได้กำหนดให้ภริยาคนแรกต้องยินยอมด้วยแต่อย่างใด ดังนั้นการที่สามีที่มีความประสงค์จะมีภริยาคนที่ 2 ซึ่งเขามีความพร้อม ที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติศาสนา นั้นคือการมีความยุติธรรมต่อภริยาคนแรกกับภริยาคนใหม่โดยเท่าเทียมกันแล้วนั้น ชายผู้นั้นก็สามารถแต่งงานกับหญิงคนใหม่ได้ โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากภริยาคนแรกแต่อย่างใด...

والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น