อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

อิสลามกับการเลี้ยงดูบุตร




  



การเลี้ยงดูบุตร คือ การดูแลผู้เยาว์หรือผู้ไร้เดียงสาและปกป้องให้พ้นจากภัยอันตรายรวมทั้งอบรมบ่มนิสัย และให้ความอุปถัมภ์ค้ำจุน เพื่อให้ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง

สิทธิในการปกครองเด็กมี  2 ประเภท
ประเภทที่ 1 พ่อมีสิทธิเหนือกว่าแม่ คือ สิทธิปกครองเรื่องทรัพย์สินและการแต่งงาน
ประเภทที่ 2  แม่มีสิทธิเหนือกว่าพ่อ คือ สิทธิปกครองเรื่องการเลี้ยงดูและการให้นม

ผู้ที่สมควรให้การเลี้ยงดูบุตร
การเลี้ยงดูบุตรเป็นหนึ่งในความดีงามของอิสลาม และอิสลามให้ความสำคัญกับผู้เยาว์ เมื่อพ่อแม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทและเกิดเรื่องหย่ากัน ในขณะที่ทั้งสองมีบุตรที่ต้องให้การเลี้ยงดู ผู้ที่สมควรให้การเลี้ยงดูระหว่างพ่อกับแม่ คือ แม่ เนื่องจากแม่มีความเมตตาสงสาร นุ่มนวลดีกว่าใครๆ และเป็นผู้ที่มีความอดทน สามารถให้การอบรมบ่มนิสัยดีกว่า  เมื่อผู้เป็นแม่มีอุปสรรคไม่สามารถให้การเลี้ยงดูได้ ก็เป็นหน้าที่ของยายหรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป  ถ้าหากยายมีอุปสรรคทำการเลี้ยงดูไม่ได้  ก็เป็นหน้าที่ของพี่สาวหรือน้องสาวของแม่(น้าหรือป้า) ถ้ามีอุปสรรค์อีกก็เปลี่ยนมาเป็นหน้าที่ของพ่อ หลังจากนั้นย่าหรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป   หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของปู่ หลังจากนั้นแม่ของปู่ หรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป   หลังจากนั้นเปลี่ยนมาเป็นหน้าที่ของพี่น้องสาวพ่อแม่เดียวกัน  พี่น้องสาวแม่เดียวกัน  พี่น้องสาวพ่อเดียวกัน ตามลำดับ  หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อหรือผู้ที่อยู่ลำดับใกล้ชิดหลังจากเขา

การเลิกภาระการเลี้ยงดู
ในเมื่อผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดปฏิเสธให้การเลี้ยงดูหรือไม่มีความสามารถหรือไม่สมควรให้การเลี้ยงดู หน้าที่การเลี้ยงดูจะถูกเลื่อนไปทางผู้เหมาะสมหลังจากเขา  และเมื่อแม่ได้แต่งงานใหม่สิทธิการเลี้ยงดูของนางจะสิ้นสุดลง และการเลี้ยงดูก็เลื่อนไปทางผู้ที่เหมาะสมหลังจากนางนอกจากสามีใหม่ของนางได้ยินยอมให้นางเลี้ยงดู

ผู้เยาว์จะอยู่กับใครเมื่อบรรลุศาสนภาวะ?
1. เมื่อเด็กอายุครบเจ็ดขวบและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ให้เขาเลือกว่าจะอยู่กับพ่อหรือกับแม่ และไม่อนุญาตให้เด็กอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ที่ไม่สามารถจะปกป้องเด็กให้พ้นจากความชั่วร้าย และคนกาฟิรไม่อนุญาตให้การเลี้ยงดูแก่เด็กมุสลิม
2. เด็กหญิงเมื่ออายุครบเจ็ดขวบควรจะอยู่กับพ่อหากได้รับการอุปการะเลี้ยงดูอย่างดี และไม่ได้รับผลกระทบที่เสียหายจากแม่เลี้ยง ถ้าไม่แล้วควรจะกลับไปอยู่กับแม่
3. เด็กชายเมื่อบรรลุศาสนภาวะจะไปอยู่กับใครก็ได้ ส่วนเด็กหญิงนั้นต้องอยู่กับพ่อจนกว่าจะแต่งงานและสามีรับไปอยู่ด้วยกับเขา และพ่อไม่มีสิทธิที่จะหักห้ามเธอหากเธอจะไปเยี่ยมแม่ของเธอหรือแม่ของเธอจะมาเยี่ยมเธอ


.......................................
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري
  
แปลโดยริซัลย์ สะอะ
ترجمة: ريزال أحمد
ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี
مراجعة: فيصل عبدالهادي
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
  
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض
1429 – 2008



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น