อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

เมื่อมีการกล่าวเท็จแก่อิบนุตัยมียะฮว่าห้ามเยี่ยมกุบูรนบี




ท่านบาบอผู้ทรงคุณวุฒิผู้นำทางวิญญานอาชาอิเราะฮบางกลุ่มกล่าวหาอิบนุตัยมียะฮว่า
ท่านชัยค์อิบนุตัยมียะฮ์ ผู้นำจิตวิญญาณของกลุ่มคณะใหม่วะฮ์ฮาบี เสียชีวิตในปีที่ 728 ฮ. ช่วงบั่นปลายชีวิตของท่าน ท่านได้ถูกกักขังจำนวน 7 ครั้งด้วยกันในเรื่องมัสอะละฮ์ทางด้านหลักความเชื่อและทางด้านฟิกฮ์และครั้งสุดท้ายท่านได้ถูกกักขังที่กรุงอามัสกัส(อัดดิมัชกี้ย์)ในประเทศซีเรียและเสียชีวิตในที่กักขังนั้นจากมัสอะละฮ์ที่ท่านได้ดูหมิ่นเกียรติของท่านนะบีย์มุฮัมหมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซซัล จากหนังสือ “ มัจมั๊วอ์ ฟะตาวา ” ของท่านในยุซฺ หน้า 520 ว่า
“ การตั้งใจออกเดินทางเพื่อไปเยี่ยมเยียนสุสานจากบรรดาสุสานต่างๆ(ไม่ว่าจะเป็น)สุสานของท่านนะบีย์ หรืออื่นจากนี้(เช่นบรรดาสุสานของศ่อฮาบะฮ์และคนศอลิห์)นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกห้ามตามมติของบรรดาปรวงปราชญ์ จนกระทั้งบรรดาปราชญ์เหล่านั้นไม่อนุญาตให้ทำการย่อละหมาดในการเดินทางเนื่องจากเรื่องนี้ เพราะถือว่า เป็นการเดินทางที่เป็นความชั่ว ”
โดยท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้ตัดสินหะดีษตามความเข้าใจของเขาเองค้านกับบรรดาอุลามาอฺอะลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์จากหะดีษที่ว่า
“ ไม่มีการตั้งใจที่จะออกเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง คือมัสยิดอัลหะรอม มัสยิดอัลอักศอ และมัสยิดของฉัน (คือมัสยิดอันนะบาวีย์)


>>>>>>>>>>>>>>
ขอชี้แจงดังนี้

มาดูความจริง ที่แสดงให้เห็นว่าข้างต้น คือความเท็จ
ไม่มีคนใดบอกว่า การเยี่ยมกุบูรนบี เป็นมะอศียะฮ หรือเป็นบาป แต่ที่เขาพูดคือ การเตรียมเสบียงเดินทางเพื่อเจาะจงเยี่ยมกุบูรนบี เป็นการเฉพาะ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ส่วนคนที่เดินทางไปทำหัจญ์ และเดินทางไปละหมาดที่มัสยิดอัลนะบะวีย์และถือโอการเยี่ยมกุบูรนบีนั้น เป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ
ดังที่ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
قَدْ ذَكَرْت فِيمَا كَتَبْته مِنْ الْمَنَاسِكِ أَنَّ السَّفَرَ إلَى مَسْجِدِهِ وَزِيَارَةَ قَبْرِهِ - كَمَا يَذْكُرُهُ أَئِمَّةُ الْمُسْلِمِينَ فِي مَنَاسِكِ الْحَجِّ - عَمَلٌ صَالِحٌ مُسْتَحَبٌّ .
แท้จริงข้าพเจ้าได้ระบุในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนมัน จากพิธีการทำหัจญ์ ว่า แท้จริงการเดินทาง ไปยังมัสยิดของท่านนบี และเยี่ยมกุบูรของท่านนบี ดังที่บรรดาอิหม่ามแห่งมุสลิมได้ระบุเอาไว้ในเรื่องการบำเพ็ญหัจญ์นั้น คือ การงานที่ดี ส่งเสริมให้กระทำ(มุสตะหับบะฮ) – ดู มัจญมัวะฟาตาวา เล่ม ๒๗ หน้า ๓๓๐

อิบนุตัยมียะฮกล่าวต่อไปว่า
وَالصَّلَاةُ تُقْصَرُ فِي هَذَا السَّفَرِ الْمُسْتَحَبِّ بِاتِّفَاقِ أَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ لَمْ يَقُلْ أَحَدٌ مِنْ أَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ إنَّ هَذَا السَّفَرَ لَا تُقْصَرُ فِيهِ الصَّلَاةُ . وَلَا نَهَى أَحَدٌ عَنْ السَّفَرِ إلَى مَسْجِدِهِ وَإِنْ كَانَ الْمُسَافِرُ إلَى مَسْجِدِهِ يَزُورُ قَبْرَهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَلْ هَذَا مِنْ أَفْضَلِ الْأَعْمَالِ الصَّالِحَةِ وَلَا فِي شَيْءٍ مِنْ كَلَامِي وَكَلَامِ غَيْرِي نَهْيٌ عَنْ ذَلِكَ وَلَا نَهْيٌ عَنْ الْمَشْرُوعِ فِي زِيَارَةِ قُبُورِ الْأَنْبِيَاءِ وَالصَّالِحِينَ وَلَا عَنْ الْمَشْرُوعِ فِي زِيَارَةِ سَائِرِ الْقُبُورِ ; بَلْ قَدْ ذَكَرْت فِي غَيْرِ مَوْضِعٍ اسْتِحْبَابَ زِيَارَةِ الْقُبُورِ
การละหมาด จะถูกย่อในการเดินทางที่ชอบให้กระทำนี้ ด้วยมติเห็นฟ้องของบบรรดาอิหม่ามแห่งมุสลิม และไม่มีคนใดจากบรรดาอิหม่ามมุสลิม พูดว่า การเดินทางนี้ การละหมาดจะไม่ถูกย่อ และไม่มีคนใดห้ามไม่ให้เดินทางไปยังมัสยิดนบี และแม้การเดินทางไปยังมัสยิดนบี นั้น เขาได้เยี่ยมกุบูรนบี ศอ็ลฯ ด้วยก็ตาม แต่ทว่า นี้คือ ส่วนหนึ่งจาก บรรดาการงานดีที่ประเสริฐ กว่า และไม่มีในสิ่งใดจากคำพูดของข้าพเจ้า และคำพูดของคนอื่นอื่นจากข้าพเจ้า ที่ห้ามจากดังกล่าวนั้น และไม่มีการห้ามใดๆ จากสิ่งที่ถูกบัญญัติ ในเรื่องการเยี่ยมบรรดากุบูรนบีและบรรดาคนดีๆ และไม่มีการห้ามจากสิ่งที่ถูกบัญญัติในการเยียมบรรดากุบูรอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ข้าพเจ้าได้ระบุไว้หลายแห่ง ว่า ส่งเสริมให้กระทำ(มุสตะหับ)ให้เยี่ยมบรรดากุบูร.................ดู มัจญมัวะฟาตาวา เล่ม ๒๗ หน้า ๓๓๐

.....................
สรุปว่า ข้อความของท่านโต๊ะครูข้างต้นทีกล่าวหาว่าอิบนุตัยมียะฮห้ามเยี่ยมกุบูรนบี และห้ามย่อละหมาด เป็นการกล่าวเท็จตัดตอนคำพูดมาใส่ร้ายอิบนุตัยมียะ
บรรดาปราชญ์ยุคสะลัฟ ได้ห้ามการเดินทางเพื่อจุดประสงค์เพียงการเยี่ยมกุบูรนบี ศอ็ลฯเป็นการเฉพาะ โดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะละหมาด ณ มัสยิดนะบะวีย์ โดยอาศัยหลักฐานต่อไปนี้
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
لَا تُشَدُّ الرِّحَالُ إِلَّا إِلَى ثَلَاثَةِ مَسَاجِدَ المَسْجِدِ الحَرَامِ، وَمَسْجِدِ الرَّسُولِ صلى الله عليه وسلم، وَمَسْجِدِ الْأَقْصَى
ความว่า “ไม่มีการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง มัสยิดอัล-หะรอม มัสยิดเราะสูล และมัสยิดอัล-อักศอ” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ : อัล-อัล-บุคอรีย์ย์ 1189 และมุสลิม 1397)
อัลมะนาวีย์ กล่าวว่า
من زار قبري) أي من زارني في قبري فقصد البقعة نفسها ليس بقربة كذا ذكره السبكي في الشفاء وحمل عليه ما نقل عن مالك من منع شد الرحل لمجرد زيارة القبر من غير إرادة إتيان المسجد للصلاة فيه
ผู้ใดเยี่ยมกุบูรของฉัน) หมายถึง ผู้ใดเยี่ยมฉัน ที่กูบูรของฉัน แล้วเขามุ่งหมายเฉพาะสถานที่ไม่ได้เพื่อการแสดงการใกล้ชิด(ไม่ใช่เพื่อแสดงการอิบาดะฮต่อหลุมศพ) ,ในทำนองเดียวกันนั้น อัสสุบกีย์ ได้ระบุมัน ในหนังสือ อัชชิฟาอฺ และเขาได้ถือมันตาม สิ่งที่รายงานจากมาลิก จากการห้าม ตั้งใจเดินทางเพียงเพื่อการเยี่ยมกุบูรนั้น โดยไม่มีความประสงค์ที่จะไปมัสยิดนั้น(มัสยิดอันนะบะวีย์) เพื่อละหมาดในนั้น – ดู ฟัยฎุลเกาะดีร ชัรหุญามิอุศเศาะฆีร ของอัลมะนาวีย์ เล่ม 6 หน้า 140

อัลมะนาวีย์ ได้ระบุว่า อิหม่ามาลิก ก็ห้ามเรื่องการเจตนาตั้งใจเดินทางเพียงเพื่อเยี่ยมกุบูรนบี ศอ็ลฯ โดยไม่ประสงค์จะไปละหมาดที่มัสยิดอันนะบะวีย์ ชี้เห็นว่า การห้ามดังกล่าวมีมาก่อนหน้าอิบนุตัยมียะฮด้วยซ้ำ
อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า
فإن سافر لزيارة القبور والمشاهد، فقال ابن عقيل: لا يباح له الترخص لأنه منهي عن السفر إليها قال النبي صلى الله عليه وسلم: ((لا تشد الرحال إلا إلى ثلاثة مساجد)) متفق عليه
ดังนั้น หากเขาเดินทางไปเยี่ยมกุบูร และการเยี่ยมชม อิบนุอะกีลกล่าวว่า “ไม่อนุญาต ผ่อนปรนแก่เขา เพราะ แท้จริงมันถูกห้ามจากการเดินทางไปยังมัน ,นบี ศอ็ลฯกล่าวว่า ( ไม่มีการจงใจเดินทาง ยกเว้น ไปยังสามมัสยิด – ดูอัลมุฆนีย์ เล่ม 2 หน้า 200
............
แม้แต่ปราชญมัซฮับชาฟิอีเองบางท่านก็ได้ยึดตามความหมายที่ปรากฏในหะดิษ ข้างต้น เช่น
อัลหาฟีซอิบนุหะญัร กล่าวว่า
قال الشيخ أبو محمد الجويني يحرم شد الرحال إلى غيرها عملاً بظاهر هذا الحديث وأشار القاضي حسين إلى اختياره وبه قال عياض وطائفة
เช็ค อบูมุหัมหมัด อัลญุวัยนีย์ ได้ห้ามการจงใจเดินทาง ไปยังที่อื่นจากมัน (อื่นจากสามมัสยิด) โดยปฏิบัติตามความหมายที่ปรากฏของหะดิษนี้ และ อัลกอฏีย์หุสัยนฺ ได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้เลือกมัน(เลือกทัศนะนี้) และ อิยาฎ และนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ได้กล่าวด้วยมัน (ด้วยทัศนะนี้) - ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 3 หน้า 65
..............
จะเห็นได้ว่า อุลามาอฺมัซฮับชาฟิอี บางท่านก็ถือตามหะดิษที่ห้ามจงใจเตรียมสัมภาระเดินทาง ยกเว้นสามมัสยิด ดังที่กล่าวข้างต้น ท่านครูผู้สร้างฟิตนะฮ น่าจะแนบเนียนมากกว่านี้
อัศศอ็นอานีย์ กล่าวว่า
والحديث دليلٌ على فضيلة المساجد هذه ودلَّ بمفهوم الحصر أنه يحرم شد الرحال لقصد غير الثلاثة كزيارة الصالحين أحياءً وأمواتاً لقصد التقرب ولقصد المواضع الفاضلة لقصد التبرك بها والصلاة فيها
และหะดิษนี้ เป็นหลักฐาน แสดงถึง ความประเสริฐของ บรรด่มัสยิดเหล่านี้ และด้วยความหมายสรุป แสดงว่า ห้ามไม่ให้ตั้งใจเดินทาง เพื่อจุดมุ่งหมายอื่นจากมัสยิดทั้งสาม เช่น การเยี่ยมคนดีๆ ที่มีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้ว เพื่อจุดประสงค์การแสดงตนเพื่อความใกล้ชิด(อิบาดะฮ) และตั้งใจไปยังสถานที่ที่ประเสริฐ เพื่อจุดประสงค์เอาบะเราะกัตด้วยมัน และละหมาดในนั้น – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 3 หน้า 394
อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
وسئل مالك عن رجل نذر أن يأتي قبر النبي، فقال مالك: إن كان أراد القبر فلا يأته وان أراد المسجد فليأته ثم ذكر الحديث: ((لا تشد الرحال إلا إلى ثلاثة مساجد)) ذكره القاضي إسماعيل في مبسوطه
มาลิก ถูกถามเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง ได้บนบานว่าจะไปที่หลุมศพนบี แล้ว มาลิก กล่าวว่า “ หากเขาประสงค์จะไปยังกุบูร (เป็นการเฉพาะ) เขาจงอย่าไป และหากเขาประสงค์จะไปมัสยิดนั้น ก็จงไป หลังจากนั้นเขาได้ระบุหะดิษที่ว่า
لا تشد الرحال إلا إلى ثلاثة مساجد
ไม่มีการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง
อัลกอฎีย์อิสมาอีล ได้กล่าวไว้ใน มับสูฏของเขา – ดูมัจญมัวฟะตาวา เล่ม 1 หน้า 304
.............
อิบนุตัยมียะฮ มีทัศนะเรื่องนี้เช่นเดียว กับอิหม่ามมาลิก และนักวิชาการคนอื่นๆหลายท่าน รวมถึงอุลามาอฺมัซฮับชาฟิอีด้วย แต่ แปลก ที่ ท่านครู เจาะจงใส่ร้ายอิบนุตัยมียะฮ แสดงให้เห็นถึงความอคติ ไร้อามานะฮทางวิชาการ ใช้ อารมณ์ และความเคียดแค้นตัดสินคน


والله أعلم بالصواب

.....................
อะสัน หมัดอะดั้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น