อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บิดอะฮใครบอกว่าดี




นักวิชาการบางส่วน กล่าวว่า บิดอะฮนั้น มีทั้งที่ดี และไม่ดี นั้นหมายถึงบิดอะฮที่เกี่ยวกับกิจการทางโลก(บิดอะฮดุนยะวียะฮ)หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงบิดอะฮในทางภาษา (บิดอะฮลุฆวียะฮ์) ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา(บิดอะฮชัรอียะฮ)

1. อิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وأمَّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع، فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر - رضي الله عنه - لما جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلون كذلك، فقال: نعمت البدعة هذه
“ สำหรับสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของสะลัฟ จากการที่เห็นว่าบางส่วนของบิดอะฮเป็นสิ่งที่ดีนั้น ความจริง ดังกล่าวนั้น เกี่ยวกับบิดอะฮในเชิงภาษา ไม่ใช่ ในด้านศาสนา แล้วส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ คำพูดของอุมัร (ร.ฎ)เมื่อได้รวมผู้คนให้มาละหมาดกิยามุเราะมะฏอน(ตะรอเวียะ) ภายใต้การนำของอิหม่ามคนเดียวกัน ในมัสญิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขา กำลังละหมาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่า “ นี่คือ บิดอะฮที่ดี – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม 1/129

2. อิบนุกะษีร(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้กล่าวไว้ในตัฟสีรของท่าน ว่า

وأما أهل السنة والجماعة فيقولون في كلِّ فعلٍ وقولٍ لم يثبت عن الصحابة رضي الله عنهم: هو بـدعة؛ لأنه لو كان خيراً لسبقونا إليه؛ لأنَّهم لم يتركوا خصلة من خصال الخير إلا بادروا إليها

“สำหรับชาวสุนนะฮและอัล-ญะมาอะฮนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุกการกระทำ และคำพูด ที่ไม่ได้มีรายงานยืนยันมาจากเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ) มันคือ บิดอะฮ เพราะว่า หากปรากฏว่ามันดี แน่นอน พวกเขาย่อม เอามันมา(ปฏิบัติ)ก่อนพวกเราแล้ว เพราะว่า พวกเขาจะไม่ละทิ้งประการหนึ่ง ประการใดจากสิ่งที่ดี นอกจากพวกเขารีบเร่งไปหามัน (คือ รีบเอามันมาปฏิบัติ) - ตัฟสีรอิบนิกะษีร 4/157

3. อัศศอนอานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ว่า

وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة

สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”(บิดอะฮที่ดี)นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10
คือ มีผู้อ้างคำพูดของท่านอุมัร บุตร อัลกอ็ฏฏอ็บมาทำบิดอะฮ โดยอ้างว่ามีบิดอะฮที่ดี ในกรณีที่ท่านอุมัรรวบรวมผู้คนให้มาละหมาดตะรอเวียะ ภายใต้การนำอิหม่ามคนเดียวกัน หลังจากที่ได้พบเห็นผู้คนต่างคนต่างทำ หรือทำกันหลายกลุ่มในมัสญิดเดียวกัน แล้วต่อมาท่านได้ออกมาเห็นผู้คนกำลังละหมาดภายใต้อิหม่ามคนเดียวกันตามที่ท่านได้แนะนำ ท่านจึงกล่าวขึ้นว่า “نعمت البدعة هذه “ (มันช่างเป็นการริเริ่มที่ดี)

ขอชี้แจงว่าการที่ทำอุมัรจึงกล่าวว่า มันเป็น"บิดอะฮ์ที่ดี" นั้น เป็นบิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา เพราะ การละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮของท่านนบี ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้เคยนำละหมาดเหล่าสาวกและท่านส่งเสริมให้เหล่าสาวกปฏิบัติ

وروى الترمذي (806) عَنْ أَبِي ذَرٍّ رضي الله عنه قَالَ : قال رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( مَنْ قَامَ مَعَ الإِمَامِ –يعني في صلاة التراويح- حَتَّى يَنْصَرِفَ كُتِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَةٍ ) .
และรายงานโดย อัตติรมิซีย์ (806)จาก อบีซัรริน (ร.ฏ)กล่าวว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดละหมาดพร้อมกับอิหม่าม – หมายถึง ละหมาดตะรอเวียะ – จนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการบันทึก เท่ากับการละหมาดทั้งคืน

رواه الترمذي (806) وأبو داود (1375) والنسائي (1605) وابن ماجه (1327) . والحديث : صححه الترمذي وابن خزيمة (3/337) وابن حبان (3/340) والألباني في "إرواء الغليل" (447)
وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْت أَبَا حَنِيفَةَ عَنْ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ , فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ , وَلَمْ يَتَخَرَّصْ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ , وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا , وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إلا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ مِنْ الْمُهَاجِرِينَ وَالأَنْصَارِ وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمْ , بَلْ سَاعَدُوهُ وَوَافَقُوهُ وَأَمَرُوا بِذَلِكَ "
الموسوعة الفقهية (27/138)

และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว
- อัลเมาสูอะฮอัลฟิกฮียะฮ เล่ม 27 หน้า 138

และท่านอัชชาฏิบีย์ ได้คัดค้านผู้ที่กล่าวว่ามีบิดอะฮหะสะนะฮ โดย อ้างคำพูดของอุมัร โดยกล่าวว่า

إنما سماها بدعة باعتبار ظاهر الحال من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم ، واتفق أن لم تقع في زمان أبي بكر رضي الله عنه ، لأنها بدعة في المعنى

ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันเป็นบิดอะฮในด้านของความหมาย - อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195

ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

السنة هي ما قام الدليل الشرعي عليه بأنه طاعة لله ورسوله ، سواء فعله رسول الله صلى الله عليه وسلم أو فعل على زمانه ، أو لم يفعله ولم يفعل على زمانه ، لعدم المقتضي حينئذ لفعله أو وجود المانع منه ، ...... فما سنه الخلفاء الراشدون ليس بدعة شرعية ينهى عنها ، وإن كان يسمى في اللغة بدعة فكونه ابتدئ ) مجموع الفتاوى21/317ـ 319
อัสสุนนะฮ คือ สิ่งที่ปรากฏหลักฐานทางศาสนายืนยัน ว่า แท้จริงมัน(สิ่งนั้น)เป็นการภักดีต่ออัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์ ไม่ว่าท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กระทำมัน หรือ มีการกระทำในสมัยของท่าน ก็ตาม หรือว่าท่านไม่ได้กระทำมัน และไม่ได้มีการกระทำในสมัยของท่าน เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะกระทำในเวลานั้น หรือ เพราะมีอุปสรรค ... ดังนั้น สิ่งที่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ได้ทำแบบอย่างเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา (บิดอะฮชัรอียะฮ)ที่มีการห้ามจากมัน แม้ปรากฏว่าในทางภาษา เรียกว่า"บิดอะฮ"ก็ตาม เพราะมีความหมายว่า "ริเริ่ม"
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 317-319

แล้วท่านอิบนิตัยมียะฮกล่าวอีกว่า

ومعلوم أنّ كل ما لم يسنه ولا استحبه رسول الله صلى الله عليه وسلم ولا أحد من هؤلاء الذين يقتدي بهم المسلمون في دينهم فإنه يكون من البدع المنكرات، ولا يقول أحد في مثل هذا أنّه بدعة حسنة"
مجموع الفتاوى (27/152)

และเป็นที่รู้กันว่า ทุกสิ่งที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้ทำแบบอย่างเอาไว้และไม่ได้ส่งเสริมมัน และไม่มีคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา (หมายถึงเหล่าเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน)ที่บรรดามวลมุสลิมปฏิบัติตามพวกเขา ในเรื่องศาสนาของพวกเขา (ได้ทำแบบอย่างและส่งเสริมให้กระทำ) ดังนั้นแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮที่ต้องห้าม และไม่มีคนใดกล่าว ในกรณีแบบนี้ว่า เป็น “บิดอะฮหะสะนะฮ” (บิดอะฮที่ดี)
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 27 หน้า 152

...............
والله أعلم

.....................
อะสัน หมัดอะดั้ม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น