อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

ตอบโต้ผู้อยากทำบิดอะฮ์

โต๊ะครูอะชาอิเราะฮฺท่านหนึ่งกล่าวว่า

การโตะครูวะฮาบีย์กล่าวว่า..ข้างต้น โดยกล่าวหาว่า ผมเข้าใจผิดและเป็นการบิดเบือน โดยอ้างว่า ชาวสะลัฟทำบิดอะฮ สิ่งที่นบีไม่เคยทำ เพื่อยืนยันว่า คนเหล่านี้ทำบิดอะฮที่ดี ความจริง
การกระทำข้างต้น เป็นการทำละหมาด สุนัตมุฏลัก ในการทำละหมาดสุนัตมุฏลักนั้น ...
...........................
ชี้แจง:นี้คือความมุสาของโตะครูท่านนี้..ที่ไม่เข้าใจนิยามในคำว่าบิดอะฮ์..จากนิยามของบรรดาปราชญ์มัสหับสลัฟ..ที่พวกเขาให้ความหมายว่า..บิดอะคือ..สิ่งที่เกิดขึ้นและไม่มีในสมัยท่านนบี(ซล)..นีคือนิยามที่บรรดาอุลามะเขารู้กัน..จะมีก็เฉพาะบังอะลุลและคณะใหม่บางคนเท่านั้นที่ไม่รู้คำนิยามนี้...

ดังนั้น สิ่งที่ผมยกตัวอย่างจากตำราว่าการกระทำของสลัฟซอลิห์ที่กล่าวมานั้น.. คือการกระทำของบรรดาสลัฟเหล่านั้นเกิดขึ้นหลังจากท่านนบี(ซล)ได้จากไปแล้วโดยที่ไม่มีรูปแบบหรือคำสั่งใช้จากท่านนบี(ซล)จากที่ตัวอย่างที่ผมยกมาทั้งหมดนั้น....
ฉนั้น.อยากถามว่า..สิ่งเหล่านี้ตรงกับนิยามคำว่าบิดอะหรือไม่และสิ่งเหล่านี้ท่านนบี(ซล)เคยใช้กระทำหรือมีปรากฎในสมัยท่านนบีหรือไม่...คำตอบคือไม่เคยใช้และไม่มี.

..ดังนั้นนี้.คือ นิยามคำว่า..บิดอะก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นและไม่เคยปรากฎในสมัยท่านนบี(ซล)นั้นเอง......แต่โตะครูท่านนี้ไม่มีจุดยืนและความเข้าใจ..แต่แดกดันหัวชนฝาลูกเดียว..นีคือการไร้ความรู้จากปวงปราชญ์ที่มีคุณธรรม..นั้นเอง...

ประเด็นต่อมาการอ้างคำกล่าว..ที่ไม่มีความเข้าใจโดยอ้างว่า..

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
( الصلاة خير موضوع ، فمن استطاع أن يستكثر فليستكثر )
การละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ที่ดี ดังนั้น ผู้ใดสามารถเพิ่มให้มากได้ ก็จงเพิ่มให้มากเถิด – รายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ และอัลบานีย์ ระบุไว้ใน เศาะเหียะญามุอัศเศาะฆัยร หะดิษหมายเลข 3870 ว่า เป็นหะดิษหะซัน..
................................

การยกหะดิษนี้นั้น มันไม่เกี่ยวกับกับการกระทำของสลัฟที่อยู่ในหลักการครอบคุลุม..แต่การกระทำของสลัฟซอลิห์ที่กล่าวมานั้นเป็นการเจาะจง..ที่ไม่มีปรากฎแบบอย่างของท่านนบี(ซล)เลยในการที่สลัฟเหล่านั้นเขานำมาปฎิบัติ..

ฉนั้น..ปัญหานี้มันเกิดจากความไมเข้าใจของโตะครูวะฮาบีย์ท่านนี้นั้นเองแล้วให้ผู้อื่นที่ไม่มีความรู้คล้อยตาม..ด้วยการ
พยายามหาความชอบธรรมในการที่จะสร้างบิดอะดอลาละที่ไม่ยอมรับการแบ่งบิดอะออกเป็น2ประเภท โดยอ้างว่า.ไม่มีในสิ่งเหล่านี้ที่ดี..โดยการไม่ยอมรับหลักฐานการกระทำของสะลัฟและบรรดานักปราชญ์โดนการหลอกให้คนอาวามเข้าใจว่าผิด..โดยอ้างว่าทุกๆบิดอะคือ..การหลงผิดและต้องตกนรกทั้งๆที่ปราชญ์มัสหับสลัฟเหล่านั้นเขาไม่มีความเข้าใจอย่างโตะครูท่านนี้เลย-นะอูซุบิลละฮ..

..........................................................

การตอบโต้ คำกล่าวของอะชาอิเราะฮ์

ท่านพยายามหาความชอบธรรมในการที่จะสร้างบิดอะดอลาละที่ไม่ยอมรับการแบ่งบิดอะออกเป็น2ประเภท โดยอ้างว่าไม่มีในสิ่งเหล่านี้ดี โดยการไม่ยอมรับหลักฐานการกระทำของสะลัฟและบรรดานักปราชญ์โดนการหลอกให้คนอาวามเข้าใจว่าผิด..โดยอ้างว่าทุกๆบิดอะคือการหลงผิดและต้องตกนรกทั้งๆที่ปราชญ์มัสหับสลัฟเหล่านั้นเขาไม่มีความเข้าใจอย่างโตะครูท่านนี้เลย-นะอูซุบิลละฮ..
>>>>>
พูดผิด พูดไหม่ได้ครับ ถ้าบิดอะฮ ในศาสนา เป็นสิ่งที่ดี คงไม่มีใครหาเรื่องให้มันเป็นเฎาะลาละฮ หรือสิ่งหลงผิดหรอกครับ เพราะบิดอะฮ หลายเรื่อง ที่สร้างประโยชน์ให้กับนักหากินกับศาสนา แต เพราะนบี ศอ็ลฯบอกว่า

وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأمُوْرِ فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ "
และพวกท่านจงพึงระวังต่ออุตริกรรมทั้งหลายในศาสนา เพราะทุกๆ อุตริกรรม (บิดอะฮฺ) นั้นคือความหลงผิด (หะดีษนี้บันทึกโดยอบูดาวูด และอัต-ติรมิซีย์ และท่านกล่าวว่า หะดีษอยู่ในระดับหะสันเศาะหี้หฺ)
ด้วยผลประโยชน์มากมาย จึงมีคนพยายามที่ให้บิดอะฮ เป็นสิ่ง ดี และอนุญาต พยายามชงหลักการที่เด็ดขาดให้เป็นสีเทา เพื่อสนองตอบความต้องการและความนิยมมวลชนคนอาวาม

.วิภาษข้อชี้แจงโตะครูแกนนำคณะใหม่วะฮาบีย์ที่ชอบเอา..
บทความผมแล้วไปแอบวิจารณ์และหากผมกระทำบ้างก็จะสาปแช่งด่าหรือว่า..ไม่ฮาล้าลให้ผมอย่างนั้นอย่างนี้....นี้คือนิสัยของใคร..
>>>>>>>
ที่ผมนำมาตอบโต้ เพราะมีการใส่ร้ายปราชญ์ และใส่ร้ายพี่น้องที่ท่านเรียกวะฮบีย์ ผมได้ตั้งกระทู้เพื่อให้ท่านมาเสวนาการด้วยหลัก วิชาการเพราะท่านกล่าวหาวะฮบีย์มากมาย และมีเงื่อนไขว่าให้สาบานกันก่อนเพื่อป้องกันการบิดเบือนและกล่าวเท็จ ตรงใหนที่ผมแช่งคุณ คุณโกหก


وعَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ: «مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى، كَانَ لَهُ مِنَ الْأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنِ اتَّبَعَهُ، لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا، وَمَنْ دَعَا إِلَى ضَلَالَةٍ، فَعَلَيْهِ مِنَ الْإِثْمِ مِثْلُ آثَامِ مَنِ اتَّبَعَهُ، لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ آثَامِهِمْ شَيْئًا»
“ผู้ใดเชิญชวนผู้อื่นไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง เขาก็จะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบุญของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด และผู้ใดที่เชิญชวนผู้อื่นสู่ทางหลงผิด เขาก็จะได้รับผลบาปเท่ากับผลบาปของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบุญของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด และผู้ใดที่เชิญชวนผู้อื่นสู่ทางหลงผิด เขาก็จะได้รับผลบาปเท่ากับผลบาปของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบาปของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด” (รายงานโดย มุสลิม / ๒๖๗๔)
จากหะดิษข้างต้น จึงถามบาบอญิฮาด อักซอ ว่า คำว่า "ฮุดัน (ทางนำ) หมายถึง บิดอะฮ ที่ท่านบอกว่าดี ด้วยใช่ไหมครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น