อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ถ้าจบที่สุนนะฮ บิดอะฮย่อมไม่เกิด



มีข้ออ้างกันมากมาย เพื่อจะให้สิ่งที่ไม่มีในอัสสุนนะฮ กลายเป็นสิ่งที่อนุญาต เป็นสิ่งที่ดี เพราะฉะนั้น ใช้สติปัญญา ที่อัลลอฮให้มา คิดพิจาณากันว่า สิ่งที่อัลลอฮ บอกว่าดี ,สิ่งที่นบี ศอ็ลฯบอกว่าดี กับสิ่งที่มนุษย์ยุคหลังจากศาสนาสมบูรณ์แล้วบอกว่าดี เราจะให้น้ำหนักสิ่งใดมากกว่า จะปฏิบัติสิ่งที่หวังผลในวันอาคีเราะฮแบบมั่่นใจ หรือ แบบลองผิดลองถูก คนฉลาดน่าจะตัดสินใจไม่ยาก
คำว่า บิดอะฮ คือ

التعبد لله بما لم يشرعه
การอิบาดะฮต่ออัลลอฮ ด้วยสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้

وقوله صلى الله عليه وسلم : ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد) . وفي رواية : (من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد) فدل الحديث على أن كل محدث في الدين فهو بدعة . وكل بدعة ضلالة مردودة . فكل البدع في العبادات والاعتقادات محرمة ، ولكن التحريم يتفاوت بحسب نوعية البدعة
และคำพูดของนบี ศอ็ลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า (ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่ง ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากมัน มันถูกปฏิเสธ) และในรายงานหนึ่ง มีใจความว่า “ผู้ใดประกอบการงานหนึ่งการงานใด ที่ไม่ใช่กิจการของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ) หะดิษนี้ แสดงบอกว่า ทุกสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ในศาสนา มันคือ บิดอะฮ และทุกบิดอะฮ เป็นการหลงผิด ที่ถูกปฏิเสธ ดังนั้น ทุกบิดอะฮ ในเรื่องอิบาดะฮ และ เรื่อง อะกีดะฮ เป็นสิ่งต้องห้าม แต่ว่า การห้ามนั้นแตกต่างกันไป ตามชนิดของบิดอะฮ – ดู อัลเอียะศอม เล่ม 2 หน้า 37

ในเมื่อไม่มีหลักฐาน แล้วไปอิจญติฮาดขึ้นมาเพื่อให้เกิดบัญญัติหรือหุกุมขึ้นมาใหม่ ว่า เป็น ฟัรดู หรือ เป็นสุนัต อย่างนี้ ใครเป็นให้อำนาจ ใครรับรอง

เพราะเหตุนี้ ท่านอิบนุมัสอูด (ร.ฎ) กล่าวว่า
الاِقْتِصَادُ فِي السُّنَّةِ خَيْرٌ مِنَ الاِجْتِهَادِ فِي الْبِدْعَةِ
“ความพอเพียงในสุนนะฮฺเป็นการประเสริฐกว่าความพยายาม(อิจญติฮาด)ในบิดอะฮฺ (สร้างสิ่งอุตริกรรม)”- อัดดาริมีย์
قال بعض الصحابة : اقتصاد في سبيل وسنة ، خير من اجتهاد في خلاف سبيل وسنة ، فاحرصوا أن تكون أعمالكم على منهاج الأنبياء عليهم السلام وسنتهم
เศาะหาบะฮบางคน กล่าวว่า “พอเพียงในแนวทางและสุนนะฮ ดีกว่า อิจญติฮาดในสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวทางและสุนนะฮ ดังนั้น จงพยายาม ให้การงาน(อะมั้ล)ของพวกท่าน อยู่บนแนวทางของบรรดานบี (อะลัยฮิมุสสลาม)และสุนนะฮของพวกเขา” – ดู มะดาริญุสสาลิกีน เล่ม 2 หน้า 108
..............

เพราะฉะนั้น การอิจญติฮาด ในสิ่งที่ไม่มีบัญญัติ มันก็คือ บิดอะฮ อยู่ดี จะอ้างชื่อให้สวยหรูอย่างไรก็ตาม

والله أعلم بالصواب



อะสัน หมัดอะดั้ม_


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น