อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

การกล่าวคำเนียตมีหลักฐานจริงหรือ ?


ได้มีผู้อ้างว่า
การกล่าวอุซ่อลลีก่อนจะตักบิรนั้นสุนัต โดยอ้างหลักฐาน *จากหะดิษ
انما الاعمال بالنيات
*เมื่อท่านนาบีได้อ่านหะดิษนี้ ท่านและซอหาบัตก็อ่านไม่ดังแต่ก้ไม่เบาเกินไป
……………….
ชี้แจง
การกล่าวอ้างหะดิษข้างต้นนั้น เป็นการบิดเบือนหะดิษ เพราะหะดิษข้างต้น เป็นการกล่าวถึงเจตนาในการกระทำ ว่า มนุษย์จะได้รับผลตอบแทน ตามที่เขาเจตนา อันหมายถึง ถ้าเจตนาดี เพื่ออัลลอฮเขาก็ได้ผลบุญ หากมีเจตนาไม่ดีก็ได้บาปเป็นผลตอบแทน
หะดิษเต็มๆมีอยู่ว่า
عَنْ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ، قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ : إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيبُهَا أَوِ امْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى مَا هَاجَرَ إِلَيْهِ . رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

รายงานจากท่านอุมัร อิบนุลคอตตอบ รอดิยั้ลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงกิจการงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาและแท้จริงสำหรับทุกคนนั้น เขาก็จะได้รับในสิ่งที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดที่การอพยพของเขา(มีเจตนา)เพื่ออัลลอฮ์และศาสนทูต(รอซูล)ของพระองค์ ก็ถือว่าการอพยพของเขานั้นมีขึ้นเพื่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์(เพื่อแสวงความพอพระทัยจากอัลลอฮ์) และผู้ใดที่การอพยพของเขาเพื่อโลกนี้( ทรัพย์สินเงินทอง หรือเพื่อความสุขทางโลกเพียงอย่างเดียว ) หรือเพื่อสตรีที่เขาต้องการจะสมรสด้วย ดังนั้นการอพยพของเขานั้นจึงนำไปสู่สิ่งที่เขาตั้งเป้าหมายเอาไว้ – รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
>>>>>>>>
ความมุ่งหมายของหะดิษ คือ ให้ทำความดีโดยมีเจตนาเพื่ออัลลอฮ
มาดูคำอธิบายหะดิษ เรื่อง บิดอะฮ ของอิบนุเราะญับ (ร.ฮ) ดังนี้
مَنْ أَحْدَثَ فِي دِينِنَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ "
ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ (ไม่ถูกรับ)
. وَهَذَا الْحَدِيثُ أَصْلٌ عَظِيمٌ مِنْ أُصُولِ الْإِسْلَامِ ، وَهُوَ كَالْمِيزَانِ لِلْأَعْمَالِ فِي ظَاهِرِهَا كَمَا أَنَّ حَدِيثَ : الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ مِيزَانٌ لِلْأَعْمَالِ فِي بَاطِنِهَا ، فَكَمَا أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَا يُرَادُ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ تَعَالَى فَلَيْسَ لِعَامِلِهِ فِيهِ ثَوَابٌ ، فَكَذَلِكَ كُلُّ عَمَلٍ لَا يَكُونُ عَلَيْهِ أَمْرُ اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهُوَ مَرْدُودٌ عَلَى عَامِلِهِ ، وَكُلُّ مَنْ أَحْدَثَ فِي الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ، فَلَيْسَ مِنَ الدِّينِ فِي شَيْءٍ
และหะดิษนี้คือ รากฐานอันสำคัญ จากบรรดารากฐานอิสลาม และมันคือ ตราชู สำหรับ(ชั่ง)บรรดาการงาน ที่แสดงออกมาภายนอก และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น
และในทำนองเดียวกัน ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกตี กลับไปหาผู้กระทำมัน (คือไม่ถูกรับ) และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย - ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176
..........
สรุปจากคำอธิบายของอิบนุเราะญับคือ
หนึ่ง- หะดิษที่ว่า “ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ
เป็นหลักการที่เป็นเครืองวัด การกระทำที่แสดงออกทางกาย ว่า ตรงกับสิ่งที่อัลอฮหรือนบีสั่งหรือไม่
สอง – หะดิษที่ว่า
إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
“แท้จริงบรรดาการงานขึ้นอยู่กับการเจตนา
เป็นหลักการที่ใช้วัดการกระทำทางใจ คือ การเนียต หรือเจตนา ว่า เพื่ออัลลอฮหรือไม่
อิบนุเราะญับ กล่าวว่า
كَمَا أَنَّ حَدِيثَ : الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ مِيزَانٌ لِلْأَعْمَالِ فِي بَاطِنِهَا ، فَكَمَا أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَا يُرَادُ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ تَعَالَى فَلَيْسَ لِعَامِلِهِ فِيهِ ثَوَابٌ
และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น- ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176

َالَ الْفَضْلُ بْنُ زِيَادٍ : سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ - يَعْنِي أَحْمَدَ - عَنِ النِّيَّةِ فِي الْعَمَلِ ، قُلْتُ كَيْفَ النِّيَّةُ ؟ قَالَ : يُعَالِجُ نَفْسَهُ ، إِذَا أَرَادَ عَمَلًا لَا يُرِيدُ بِهِ النَّاسَ
อัลฟาฎีล บิน ซียาดกล่าวว่า “ขาพเจ้าถามอบูอับดุลลอฮ – หมายถึงอิหม่ามอะหมัด- เกี่ยวกับการเนียตในการประกอบอะมั้ล ,ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ เนียตนั้นเป็นอย่างไร? เขา(อิหม่ามอะหมัด)กล่าวว่า “ เขาลงมือปฏิบัติแก่ตัวเขา เมื่อเขาต้องการกระทำ โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อมนุษย์ด้วยมัน – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม หน้า 63
وقال ابن عجلان : لا يصلح العمل إلا بثلاث : التقوى لله ، والنية الحسنة ، والإصابة
อิบนุอัจญลาน กล่าวว่า “ การงาน(อะมั้ล)นั้น จะดีไม่ได้ นอกจาก(ต้องประกอบ)ด้วยสามประการ คือ
(1) การยำเกรงต่ออัลลอฮ
(2) การเจตนาที่ดี
(3) ความถูกต้อง -
– ดูญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ของ อิบนุเราะญับ หน้า 63
>>>>>>
จึงสรุปว่า การอ้างว่าหะดิษที่ว่า
إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
คือ หลักฐานสุนัตให้กล่าวอุศอ็ลลี ก่อนการตักบีรนั้น เป็นการเจตนาบิดเบือน ความมุ่งหมายของหะดิษ


.........................

มีผู้อ้างหลักฐานต่อไปนี้ เป็นหลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียต โดยอ้างว่า
*และเมื่อท่านนาบีจะทำอุมเราะท่านนาบีก็พูดดังว่า
لبيك عمرة وحج
..............
ชี้แจง
ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต แต่อย่างใด มาดูฟัตวาของอิบนุอุษัยมีนในเรื่องนี้
الحمد لله
"إذا قال في النسك : لبيك حجاً ، لبيك عمرة ، ليس هذا من باب ابتداء النية ، لأنه قد نوى من قبل ، ولهذا لا يشرع أن نقول : اللهم إني أريد العمرة ، اللهم إني أريد الحج ، بل انو بقلبك ولب بلسانك ، وأما التكلم بالنية في غير الحج والعمرة فهذا أمر معلوم أنه ليس بمشروع ، فلا يسن للإنسان إذا أراد أن يتوضأ أن يقول : اللهم إني أريد أن أتوضأ ، اللهم إني نويت أن أتوضأ أو بالصلاة : اللهم إني أريد أن أصلى ، اللهم إني نويت أن أصلى . كل هذا غير مشروع ، وخير الهدي هدي محمد صلى الله عليه وسلم" انتهى .
อัลหัมดุลิลละฮ
เมื่อเขากล่าว ในการประกอบพิธีหัจญ์ว่า “ลับบัยกะหัจญัน,ลับบัยกะอุมเราะตัน” กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องการเริ่มต้นการเนียต เพราะเขาได้เนียตมาก่อนแล้ว และเพราะเหตุนี้ ไม่มีบัญญัติให้เรากล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำหัจญ์,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำอุมเราะฮ แต่ทว่า จงเนียตด้วยใจของท่าน และจงกล่าวตัลบียะฮด้วยวาจาของท่าน และสำหรับการกล่าวคำเนียต ในอื่นจากหัจญและอุมเราะฮนั้น นี้เป็นสิ่งที่รู้กันว่าไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ ดังนั้นจึงไม่สุนัตให้ผู้คน กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะเอาเอาน้ำละหมาด, โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะเอาน้ำละหมาด เมื่อเขาต้องการอาบน้ำละหมาด หรือ กล่าวเกี่ยวกับละหมาดว่า โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะละหมาด ,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะละหมาด ทั้งหมดนี้ ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ และ ทางนำที่ดีนั้น คือ ทางนำของมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม –มัจญมัวะฟะตาวาอิบนุอุษัยมีน เล่ม 22 หน้า 20
มีรายงานว่า
وَصَحَّ عَنِ ابْنِ عُمَرَ أَنَّهُ سَمِعَ رَجُلًا عِنْدَ إِحْرَامِهِ يَقُولُ : اللَّهُمَّ إِنِّي أُرِيدُ الْحَجَّ أَوِ الْعُمْرَةَ ، فَقَالَ لَهُ : أَتُعْلِمُ النَّاسَ ؟ أَوَ لَيْسَ اللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ
และ มีรายงานเศาะเฮียะ จากอิบนุอุมัร (ร.ฎ) ว่าเขาได้ยิน ชายคนหนึ่ง กล่าวขณะครองเอียะรอมว่า "โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ ต้องการที่จะทำฮัจญ หรืออุมะเราะฮ ,เขา(อิบนุอุมัร)จึงได้กล่าวแก่เขาว่า "ท่านจะบอก บรรดาผู้คนให้รู้หรือ?หรือว่า อัลลอฮไม่รู้สิ่งที่อยู่ในใจของท่าน? -ดู ญามิอุลอุลูม วัลฮิกัม ของอิบนุเราะญับ เล่ม 1 หน้า 59
وَقَالَ أَبُو دَاوُدَ : قُلْتُ لِأَحْمَدَ : أَتَقُولُ قَبْلَ التَّكْبِيرِ - يَعْنِي فِي الصَّلَاةِ - شَيْئًا ؟ قَالَ : لَا . وَهَذَا قَدْ يَدْخُلُ فِيهِ أَنَّهُ لَا يَتَلَفَّظُ بِالنِّيَّةِ . وَاللَّهُ أَعْلَمُ .
และอบูดาวูด กล่าวว่า "ข้าพเจ้า กล่าวแก่อะหมัดว่า ท่านกล่าวสิ่งใดบ้างก่อน การตักบีร หมายถึงในละหมาด เขา(อิหม่ามอะหมัด)ตอบว่า "ไม่" และนี้ บางที่อยู่ในความหมายที่ว่า ไม่มีการกล่าวคำเนียตเป็นถ้อยคำ -วัลลอฮุอะลัม
ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ) ได้กล่าวอีกว่า - ที่มาอ้างแล้ว
محل النية القلب دون اللسان باتفاق أئمة المسلمين في جميع العبادات : الصلاة والطهارة والزكاة والحج والصيام والعتق والجهاد وغير ذلك . ولو تكلم بلسانه بخلاف ما نوى في قلبه كان الاعتبار بما نوى بقلبه لا باللفظ ولو تكلم بلسانه ولم تحصل النية في قلبه لم يجزئ ذلك باتفاق أئمة المسلمين
“ที่ของการเนียตคือ หัวใจ ไม่ใช่ลิ้น ด้วยมติของบรรดาผู้นำมุสลิม ในเรื่องทั้งหมดของอิบาดะฮ เช่น การละหมาด,การทำความสะอาด,การจ่ายซะกาต,การทำหัจญ์,การถือศีลอด,การปลดปล่อยทาส,การญิฮาด และอื่นจากนั้น และถ้าหากว่า เขาพูดด้วยวาจาของเขา ขัดแย้ง(ไม่ตรง) กับสิ่งที่ได้เนียต ในหัวใจของเขา การพิจารณา ก็เป็นไปตามสิ่งที่เขาได้เนียต ด้วยใจของเขา ไม่ใช่ด้วย คำกล่าว และแม้เขาจะกล่าวโดยวาจาของเขา โดยที่ไม่เกิดการเนียตในใจของเขา ดังกล่าวนั้น ย่อมใช้ไม่ได้ โดยมติของบรรดาอิหม่ามของบรรดามุสลิม – ดูมัจญมัวะอัลฟะตาวา 1/ 218
.........
เพราะฉะนั้น การเอาคำที่ใช้ในการกล่าวตัลบีฮ เวลาทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ มาเป็นหลักฐาน ให้กล่าวคำเนียต เช่นกล่าวคำว่าอุศอ็ลลี.......ก่อนตักบีรนั้น เป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้อง

............................


มีคนอ้างว่า ที่นบี ศอ็ลฯกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียตคือ
فاني اذن صائم
ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด
........
ชี้แจง
ข้างต้น เป็นการบิดเบือนหะดิษ อ้างว่าเป็นหลักฐานการกล่าวคำเนียต
มาดูข้อเท็จจริงหะดิษข้างต้นที่ถูกนำมาอ้างว่านบี ศอ็ลฯกล่าวคำเนียตในการถือศีลอด
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ มารดาของศรัทธาชน ได้เล่าว่า:
دَخَلَ عَلَيَّ النَّبِيُّ ذَاتَ يَوْمٍ فَقَالَ هَلْ : عِنْدَكُمْ شَيْءٌ؟، فَقُلْنَا : لَا، قَالَ : فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ;، ثُمَّ أَتَانَا يَوْمًا آخَرَ، فَقُلْنَا : يَا رَسُولَ اللهِ أُهْدِيَ لَنَا حَيْسٌ، فَقَالَ : أَرِينِيهِ فَلَقَدْ أَصْبَحْتُ صَائِمًا فَأَكَلَ.
ความว่า: ในวันหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้ามาหาฉัน แล้วกล่าวว่า “พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ?”
พวกเราตอบว่า ไม่มี แล้วท่านก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”
หลังจากนั้นท่านก็ได้มาหาพวกเราอีกวันหนึ่ง พวกเราก็กล่าวแก่ท่านว่า โอ้เราะสูลุลลอฮฺ มีคนมอบอิทผาลัมกวนให้แก่พวกเรา ท่านกล่าวว่า “ไหนให้ฉันดูหน่อยซิ แท้จริง เช้านี้ฉันถือศีลอด” แล้วท่านก็กิน. (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 1154)
………….
คำว่า “فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”
เป็นประโยคสนทนาระหว่างท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กับท่านหญิงอาอีฉะฮ หลงจากท่านนบี ถามว่า “พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ?” ท่านหญิงอาอีฉะฮตอบว่า “ไม่มี” เลยท่านนบี ศอ็ล บอกกับท่านหญิงอาอีฉะฮว่า
“فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”
ข้อความข้างต้น ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต ไม่มีเศาะหาบะฮ หรืออิหม่ามมุจญตะฮิดคนใด เอาคำว่า
“فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ
มาเป็นหลักฐานว่า มีสุนัตให้กล่าวคำเนียตเวลาจะถือศีลอด การนำหะดิษนี้มาอ้าง เป็นการใช้หะดิษผิดที่ ส่อไปในทางบิดเบือนข้อเท็จจริงของหะดิษ
หะดิษบทนี้ ท่านอิหม่ามมุสลิม ได้จัดอยู่ในหัวเรื่องที่ว่า
بَاب جَوَازِ صَوْمِ النَّافِلَةِ بِنِيَّةٍ مِنَ النَّهَارِ
บทว่าด้วยเรื่อง การอนุญาตให้ถือศีลอดสุนัต ด้วยการเนียตในตอนกลางวัน –
..............
ผู้อ่านที่เคารพ เรียนเถอะครับ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน แล้วจะจนใจเอง
การบิดเบือนคำสอนศาสนา มีให้พบอีกมากมาย โปรดระวัง


والله أعلم بالصواب

..................
อะสัน หมัดอะดั้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น