คลังอาวุธทางวิชาการ
เมื่อวานนี้ เวลา 15:49 น. •
เชคอิบนุอุซัยมีนโต๊ะครูของวะฮาบีย์บอกไว้ว่า พระเจ้าของพวกเขานั้นมีคุณลักษณะถูกทำร้ายด้วยครับ
เครดิต เพจคลังอาวุธทางวิชาการ
……………
ชี้แจง
ข้างต้น เป็นความพยายามสร้างข้อมูลเท็จเพื่อทำลายความเชื่อถือของ บรรดาอุลามาอฺ ที่เห็นต่าง ที่กลุ่มคนพวกนี้ เรียกว่า วะฮบีย"
หะดิษมีอยู่ว่า
ท่านนบี กล่าวว่า
«قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ يُؤْذِينِي ابْنُ آدَمَ يَسُبُّ الدَّهْرَ وَأَنَا الدَّهْرُ بِيَدِي الْأَمْرُ أُقَلِّبُ اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ» [رواه البخاري ومسلم
“อัลลอฮฺกล่าวว่า มนุษย์รังแกข้า เขาด่าว่ากาลเวลา ข้าเป็นผู้ลิขิตทุกสิ่งให้เกิดขึ้นตามกาลเวลา กิจการทั้งหมดอยู่ในมือของข้า ข้าเป็นผู้สับเปลี่ยนกลางคืนและกลางวัน”(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข : 4826 และ7491 และมุสลิม หมายเลข : 2246
อิบนุอุษัยมีน อธิบายว่า
قوله: "يؤذيني ابن آدم": أي: يلحق بي الأذى; فالأذية لله ثابتة ويجب علينا إثباتها; لأن الله أثبتها لنفسه، فلسنا أعلم من الله بالله، ولكنها ليست كأذية المخلوق; بدليل قوله تعالى: {لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ} [الشورى: من الآية11
คำพูดของพระองค์ที่ว่า “อิบนุอาดัมทำร้ายข้า หมายถึง การทำร้าย ได้ประสบกับข้า ,การทำร้าย แก่อัลลอฮนั้น เป็นที่ยืนยัน และจำเป็นแก่เราจะต้องยืนยันมัน เพราะอัลลอฮ ได้ทรงยืนยันมัน ให้แก่ตัวของพระองค์เอง เพราะพวกเราไม่ได้รู้ยิ่งไปกว่าอัลลอฮ ด้วยอัลลอฮ แต่ว่า มัน ไม่เหมือนการทำร้ายของมัคลูค ด้วยหลักฐาน ของคำตรัสอัลลอฮตะอาลาที่ว่า “ไม่มีสิ่งใด เสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ คือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็นยิ่ง -
القول المفيد على كتاب التوحيد : ط. دار ابن الجوزي 244/2
คำว่า “อาซียะฮ”ในทีนี้ หมายถึง สร้างความรบกวน หรือ สร้างความเดือดร้อน ไม่ได้หมายถึงทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดอันตราย
มาดูคำอธิบายของอิบนุอุษัยมีน ดิอธิบายดังกล่าวในตำราเล่มเดียวกันดังนี้ดังนี้
قوله: (فقد آذى الله). لا يلزم من الأذية الضرر؛ فالإنسان يتأذى بسماع القبيح أو مشاهدته، ولكنه لا يتضرر بذلك، ويتأذى بالرائحة الكريهة كالبصل والثوم ولا يتضرر بذلك، ولهذا أثبت الله الأذية في القرآن، قال تعالى: (إن الذين يؤذون الله ورسوله لعنهم الله في الدنيا والآخرة وأعد لهم عذاباً مهيناً) (الأحزاب: 57)، وفي الحديث القدسي: (يؤذيني ابن آدم، يسب الدهر وأنا الدهر، أقلب الليل والنهار)(1)، ونفى عن نفسه أن يضره شيء، قال تعالى: (إنهم لن يضروا الله شيئاً) (آل عمران: 176)، وفي الحديث القدسي: (يا عبادي! إنكم لن تبلغوا ضري فتضروني)(2) رواه مسلم
คำพูดของพระองค์ที่ว่า (แน่นอนเขาได้ทำร้ายอัลลอฮ) จากคำว่าทำร้าย ไม่จำเป็นจะต้องหมายถึงการให้เกิดอันตราย เสมอไป เพราะมนุษย์ จะได้รับความเดือดร้อน ด้วยการฟังเสียงที่น่าเกลียด หรือ ความรู้สึกของเขา แต่ไม่ได้รับอันตรายด้วยดังกล่าว และเขาได้รับความเดือดร้อน ด้วยกลิ่นที่น่าเกลียด เช่น หอมและกระเทียม และไม่ได้รับอันตรายด้วยดังกล่าว และเพราะเหตุนี้อัลลอฮ ได้ยืนยัน คำว่า อัลอาซียะ (การทำร้ายหรือสร้างความเดือดร้อน) ในอัลกุรอ่าน โดยพระองค์ตรัสว่า
إِنَّ الَّذِينَ يُؤْذُونَ اللَّهَ وَرَسُولَهُ لَعَنَهُمُ اللَّهُ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ وَأَعَدَّ لَهُمْ عَذَابًا مُّهِينًا
แท้จริง บรรดาผู้ที่พูดให้ร้ายแก่อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ อัลลอฮฺทรงสาปแช่งพวกเขาทั้งในโลกนี้และปรโลก และทรงเตรียมการลงโทษอันอัปยศไว้สำหรับพวกเขา
قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ يُؤْذِينِي ابْنُ آدَمَ يَسُبُّ الدَّهْرَ وَأَنَا الدَّهْرُ بِيَدِي الْأَمْرُ أُقَلِّبُ اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ» [رواه البخاري ومسلم]
“อัลลอฮฺกล่าวว่า มนุษย์ทำร้ายข้า เขาด่าว่ากาลเวลา ข้าเป็นผู้ลิขิตทุกสิ่งให้เกิดขึ้นตามกาลเวลา กิจการทั้งหมดอยู่ในมือของข้า ข้าเป็นผู้สับเปลี่ยนกลางคืนและกลางวัน”
และพระองค์ได้ปฏิเสธ การที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดทำอันตรายแก่พระองค์ โดยตรัสว่า
لَن يَضُرُّوا اللَّهَ شَيْئًا
แน่นอน พวกเขาไม่อาจก่ออันตรายใดๆ แก่อัลลอฮฺได้เป็นอันขาด- อาลิอิมรอน/76
และในหะดิษอัลกุดซีย ระบุว่า
يا عبادي! إنكم لن تبلغوا ضري فتضروني
โอ้บ่าวของข้า พวกเจ้าทุกคนไม่สามารถทำอันตรายแก่ฉันได้ ดังนั้นพวกเจ้าจะทำอันตรายแก่ฉัน(ได้อย่างไร) –รายงานโดยมุมุสลิม
.......................
คำว่า “อาซิยะฮ(الأذية) ไม่ได้หมายถึงเชื่อว่า มีการทำร้ายอัลลอฮให้ได้รับอันตราย หรือได้รับบาดเจ็บ ดังที่ผู้ก่อฟิตนะฮ พยายามใส่ใคล้อิบนุอุษัยมีน แต่ หมายถึง การพูดให้ร้าย ต่ออัลลอฮ ซึ่งทำให้ผู้ถูกให้ร้าย รู้สึก ไม่พอใจ เป็นต้น คำว่า "อาซิยะฮ(الأذية) อัลลอฮได้ยืนยันไว้ในอัลกุรอ่านและหะดิษกุดซีย์ หน้าที่ผู้ศรัทธา จะต้องยืนยันตามนั้น โดยไม่เปรียบกับอาซียะฮของบรรดามัคลูค กล่าวคือ การทำร้ายอัลลอฮในอัลกุรอ่านและหะดิษ ก็คือ การอ้างถึงสิ่งที่ไม่คูควรกับอัลลอฮให้แก่อัลลอฮนั้นเอง
والله أعلم بالصواب
.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น