อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

เวลา สถานที่ และสภาพการณ์ในการรับดุอาอฺ



การขอดุอาอฺนั้น ต้องเลือกเวลา สถานที่ และสภาพการณ์ในการรับดุอาอฺ มีดังนี้
1. ค่ำคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ
มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ.) กล่าวว่า :
ฉันกล่าวว่า : โอ้ท่านรอซูล ! หากฉันรู้ถึงคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ฉันจะกล่าวอะไรในคืนนั้น ? ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า เธอจงกล่าวว่า
اَللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوّ ٌتُحِبُّ الْعَفْوَفَاعْفُ عَنِّيْ
(อัลลอฮุมม่า อินนะก้า อะฟูวุน ตุหิบบุลอัฟว่า ฟะอฺฟุ อันนี)
“โอ้อัลลอฮฺ พระองค์เป็นผู้ทรงอภัย ทรงรักการให้อภัย ดังนั้น ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยให้ฉันด้วยเถิด” (บันทึกโดย นะซาอี, อิบนุมาญะฮฺ และติรมีซียฺ)
2. วันอะรอฟะฮฺ
มีรายงานจากอัมรฺ บินชุเอบ จากพ่อของเขา จากปู่ของเขา เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
«خير الدعاء دعاء يوم عرفة، وخير ما قلت أنا والنبيون من قبلي: لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهُ، لَهُ الْمُلْكُ، وَلَهُ الْحَمْدُ، وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ »
“การขอดุอาอฺที่ดีที่สุด คือ ดุอาอฺในวันอารอฟะฮฺ และสิ่งที่ดีที่สุดที่ฉันกล่าวและบรรดานบีก่อนหน้าฉัน คือ คำว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ อำนาจปกครองและการสรรเสริญทั้งหลายเป็นของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง” (บันทึกโดย ติรมีซียฺ)
3. ส่วนที่สามของเวลาค่ำคืน และเวลาซุโฮรฺ
อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสถึงคุณลักษณะของมุอฺมิน ในซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะฮฺที่ 18 ว่า
“และในยามรุ่งสาง พวกเขาขออภัยโทษ (ต่อพระองค์)
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า แท้จริง ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“พระผู้อภิบาลของเรา ตะบารอก้าวะตะอาลา จะลงมาทุกค่ำคืนยังชั้นฟ้าของดุนยาในส่วนที่สามของเวลาค่ำคืน พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้ใดขอดุออฺต่อข้า ข้าจะรับดุอาอฺของเขา ผู้ใดขอต่อข้า ข้าจะประทานให้เขา ผู้ใดขออภัยโทษต่อข้า ข้าจะอภัยโทษให้แก่เขา’ ” (บันทึกโดย อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)
4. หลังละหมาดฟัรฎู 5 เวลา
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า มีผู้ถามว่า “โอ้ท่านรอซูล (ซ.ล.) ดุอาอฺอย่างไหนที่จะถูกรับมากที่สุด ท่านตอบว่า
“เมื่อยามช่วงสุดท้ายของกลางคืน และหลังละหมาดฟัรฎูต่าง ๆ” (บันทึกโดย ติรมีซียฺ ด้วยสายสืบที่ถูกต้อง)
5. ระหว่างอะซาน และอิกอมะฮฺ
มีรายงานจากท่านอนัส บินมาลิก (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“การวิงวอนจะไม่ถูกยับยั้งระหว่างอะซานและอิกอมะฮฺ ดังนั้น พวกท่านจงวิงวอนขอเถิด”
6. ขณะอะซาน และขณะฝนตก
มีรายงานจากท่านซะฮฺลฺ บินซะอฺดฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“การวิงวอนขอสองสิ่งที่จะไม่ถูกยับยั้ง คือขณธอะซานและขณฝนตก)
7. ชั่วโมงหนึ่งในยามค่ำคืน
ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“แท้จริงในค่ำคืนหนึ่งมีหนึ่งชั่วโมง ซึ่งไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่วิงวอนขอให้อัลลอฮฺทรงประทานสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้กับเขา นอกจากอัลลอฮฺจะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่เขา ดังกล่าวนี้ มีทุกค่ำคืน”
8. ในเดือนรอมฎอน และอยู่ในสภาพที่ถือศีลอด
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“บุคคล 3 จำพวกที่อัลลอฮฺจะไม่ปฏิเสธการวิงวอนขอของพวกเขา คือ อิมามที่ยุติธรรม ผู้ถือศีลอดจนกว่าจะละศีลอด และการวิงวอนขอของผู้ถูกอธรรม” (บันทึกโดย ติรมีซียฺ)
9. ชั่วโมงหนึ่งของเวลาวันศุกร์ (ช่วงชั่วโมงสุดท้ายของวันศุกร์ หลังเวลาอัสรี ก่อนตะวันลับขอบฟ้า)
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) ได้พูดถึงวันศุกร์ แล้วท่านกล่าวว่า
“ ‘ในวันนั้นมีช่วงเวลาหนี่ง ซึ่งไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่กำลังยืนละหมาดและขอดุอาอฺให้อัลลอฮฺทรงประทานสิ่งหนึ่งสิ่งใดในช่วงที่ตรงกับเวลานั้น นอกจากอัลลอฮฺจะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่เขา’ และท่านนบีให้สัญญาณด้วยมือของท่านว่ามันเป็นช่วงเวลาอันน้อยนิด” (บันทึกโดย อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“แท้จริง ในวันศุกร์นั้นมีช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่มีมุสลิมคนใดที่ขอดุอาอฺตอ่อัลลอฮฺในสิ่งที่ดี นอกจากพระองค์จะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่เขา มันเป็นช่วงเวลาที่สั้น” (บันทึกโดย มุสลิม)
10. ขณะสุญูด
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“ช่วงที่บ่าวอยู่ใกล้ชิดกับพระผู้อภิบาลของเขามากที่สุด คือขณะที่เขาสุญูด ดังนั้น พวกท่านจงวิงวอนขอให้มาก ๆ (ขณะสุญูด) เพื่อ (คำวิงวอนของพวกท่านจะได้ถูกตอบรับ” (บันทึกโดย มุสลิม)
11. ขณะดื่มน้ำซัมซัม
มีรายงานจากท่านญาบิรฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า น้ำซัมซัม เมื่อถูกดื่ม ให้กล่าวว่า
“โอ้อัลลอฮฺ ฉันดื่มน้ำซัมซัม เพื่อที่พระองค์จะได้อภัยโทษแก่ฉัน และทำกับฉันอย่างนั้นอย่างนี้ โปรดอภัยแก่ฉัน และโปรดทำ” หรือ “โอ้อัลลอฮฺ ฉันดื่มน้ำซัมซัมเพื่อเป็นการบำบัดโรค ดังนั้น ทรงโปรดบำบัดโรคให้แก่ฉันด้วยเถิด”
12. ขณะอ่านซูเราะฮฺ อัลฟาติฮะฮฺ และขณะได้ยินคนอ่านซุเราะฮฺ อัลฟาติฮะฮฺ
13. หลังจากกล่าว “อามีน” ในละหมาด
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า แท้จริง ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า “เมื่ออีมามกล่าว “อามีน” ท่านจงกล่าว “อามีน” ดังนั้นแท้จริงหากเขากล่าว ‘อามีน’ ตรงกับการกล่าว ‘อามัน’ ของบรรดามลาอิกะฮฺ อัลลอฮฺจะอภัยในความผิดขอบเขาที่ผ่านพ้นมา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
14. หลังจากอ่านซอละวาตนบีในตะชะฮุดครั้งสุดท้าย
มีรายงานจากอิบนุมัสอูด (ร.ฎ.) เล่าวว่า “ฉันละหมาดร่วมกับท่านนบี (ซ.ล.) และท่านอบูบักรฺ หลังจากนั้นฉันก็นั่ง (ตะชะฮุดครั้งสุดท้าย) และเริ่มด้วยการสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ และการกล่าวซอละวาตแก่ท่านนบี หลังจากนั้นฉันของวิงวอนให้แก่ตัวเอง ดังนั้น ท่านนบี (ซ.ล.) จึงกล่าวขึ้นว่า “จงวิงวอนขอ แล้วพระองค์จะให้ จงวิงวอนขอ แล้วพระองค์จะให้” (บันทึกโดย ติรมีซียฺ และอะฮฺหมัด
15. สภาพที่หัวใจหวั่นไหว และในขณะมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺอย่างมาก ๆ
อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสถึงเรื่องราวของชาวถ้ำ ในซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟี อายะฮฺที่ 14 ว่า
“และเราได้ให้ความเข้มแข็งแก่หัวใจของพวกเขา ขณะที่พวกเขายืนขึ้นประกาศว่า ‘พระเจ้าของเราคือพระเจ้าแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน เราจะไม่วิงวอนพระเจ้าอื่น นอกจากพระองค์ มิเช่นนั้นเราก็กล่าวเกินความจริงอย่างแน่นอน’ ”
16. ขณะได้ยินเสียงไก่ขัน
มีรายงานจากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
“เมื่อพวกท่านได้ยินเสียงไก่ขัน ดังนั้น ท่านจงขอความโปรดปรานต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริง ไก่นั้นกำลังเห็นมลาอิกะฮฺ และเมื่อพวกท่านได้ยินเสียงลาร้อง ดังนั้น ท่านจงขอความคุ้มครองให้พ้นจากชัยฏอน เพราะแท้จริง ลานั้นกำลังเห็นชัยฎอน” (บันทึกโดย อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)
17. ในสภาพที่มุสลิมขอดุอาอฺให้พี่น้องของเขาในขณะที่เขาประสบกับสิ่งที่ไม่ดี
มีรายงานจากท่านอบีดัรฺดาอฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า “ไม่มีมุสลิมคนใดที่วิงวอนขอให้พี่น้องของเขา ขณะที่เขาประสบกับสิ่งที่ไม่ดี นอกจากมลาอิกะฮฺจะวิงวอนขอเหมือนกับที่ท่านวิงวอนขอ” (บันทึกโดย อบูดาวูด และมุสลิม)
18. ขณะที่ผู้คนขอดุอาอฺให้แก่ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรม
19. การขอดุอาอฺของผู้ถูกอธรรม, คนเดินทาง, พ่อขอให้แก่ลูกของเขา
ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า “การวิงวอนของ 3 อย่างที่ถูกตอบรับ คือ คำวิงวอนขอของผู้ถูกอธรรม คหำวิงวอนขอของผู้เดินทาง และคำวิงวอนขอของพ่อให้แก่ลูกของเขา”
20. การขอดุอาอฺขอผู้ตกอยู่ในความยากลำบาก
ดังที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัส ในซูเราะฮฺ อัลนัมลฺ อายะฮฺที่ 62 ว่า
“หรือผู้ใดเล่าจะตอบรับผู้ร้องทุกข์ เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระองค์และทรงปลดเปลื้องความชั่วร้ายนั้น”
21. การขอดุอาอฺของผู้ที่ทำสงคราม ดุอาอฺของผู้ประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮฺ
22. การขอดุอาอฺของผู้ป่วย
มีรายงานจากท่านอุมมุซะละมะฮฺ (ร.ฎ.) เล่าว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า “เมื่อพวกท่านไปเยี่ยมคนป่วย คนนั้น พวกเขากล่าวว่า ‘ขอให้ได้รับความดี’ (หายป่วย) แท้จริง มลาอิกะฮฺกล่าวอามีน (ขอพระองค์ทรงรับ) ในสิ่งที่พวกท่านขอ” (บันทึกโดย มุสลิม)
23. การขอดุอาอฺขณะดวงอาทิตย์คล้อย
24. การขอดุอาอฺหลังอาบน้ำละหมาด
รายงานจากท่าน อุมัรฺ อิบนิค็อฏฏ็อบ (ร.ฎ.) กล่าวว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า “ไม่มีคนใดในหมู่พวกท่านที่อาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์แบบ” แล้วกล่าวว่า
ความว่า “ ‘ฉันขอปฏิญาว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาฯว่า แท้จริง มุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์’ นอกจากประตูสวรรค์ทั้งแปดจะถูกเปิดออกให้แก่เขา โดยเขาจะเข้าทางประตูไหนก็ได้ ตามแต่เขาปรารถนา” (บันทึกโดย มุสลิม)
25. การขอดุอาอฺขณะอยู่ในกะบะฮฺ และผู้ที่ละหมาดในหินโค้งอิสมาอีล เพราะนบีปฏิบัติเช่นกัน
26. ดุอาอฺของผู้ตัดสินที่ยุติธรรม และผู้ที่ระลึกถึงอัลลอฮฺมาก ๆ
ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า “บุคคล 3 จำพวกที่อัลลอฮฺจะไม่ปฏิเสธการวิงวอนขอของพวกเขา คือ ผู้ที่ระลึกถึงอัลลอฮฺมาก ๆ คำวิงวอนขอของผู้ถูกอธรรม และคำวิงวอนขอของอิมามที่ยุติธรรม” (บันทึกโดย อัลบัยฮะกียฺ อัลบานียฺกล่าวว่า เป็นหะดีษซอฮีฮฺ)
27. ดุอาอฺของมุสลิมทุกคนจะถูกตอบสนอง ตราบใดที่เขาไม่รีบเร่งให้ตอบสนองเร็ว ๆ
28. ดุอาอฺของมุอฺมินที่วิงวอนขอต่ออัลลอฮฺเป็นประจำไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม
29. ดุอาอฺของลูก (ซอและฮฺ) ที่ทำความดีต่อพ่อแม่ของเขา
30. ดุอาอฺขณะ คำตรัสของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ว่า
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย”
ดังที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัส ในซูเราะฮฺ อัลอันบิยาอฺ อายะฮฺที่ 87 ว่า
“และจงรำลึกเรื่องราวของซันนูน (นบียูนุส) เมื่อเขาจากไปด้วยความโกรธพรรคพวกของเขา แล้วเขาคิดว่าเราจะไม่ทำให้เขาได้รับความลำบาก แล้วเขาก็ร้องเรียนท่ามกลางความมืดทึบทะมึนว่า ‘ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่อธรรมทั้งหลาย’ ”


………………………..

ดร.มูซา บินฮุเซน บินอาลี อัลหัรฺบียฺ : เขียน
มุสตอฟา มามะ : แปล

(จากหนังสือ : การบำบัดโรคทางใจด้วยการขอดุอาอฺ)
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น