إعلم أنَّ هناك جماعة من الأئمة لا يرونَ العمل بالحديث الضعيف مُطلقاً كابن معين والبخاري ومسلم وأبي بكر بن العربي وإبن حزم
โปรดรู้ไว้เถิดว่า แท้จริง ณ ที่นี้ คณะหนึ่งจากบรรดาอิหม่าม(นักวิชาการหะดิษระดับแนวหน้า) พวกเขาไม่เห็นด้วยต่อการนำหะดิษเฎาะอีฟมาปฏิบัติโดยสิ้นเชิง เช่น อิบนุมุอีน, อัลบุคอรี,มุสลิม ,อบีบักร อัลอะเราะบี และอิบนุหัซมิน – ดูเกาะวาอีดอัตตะดิษ หน้า 113
2. อัลมุหัษดิษ มุหัมหมัดชากีร กล่าวว่า
”والذي أراه أنَّ بيان الضعف في الحديث واجب على كل حال ، ولا فرق بين الأحكام وبين فضائل الأعمال ونحوها في عدم الأخذ بالرواية الضعيفة ، بل لا حُجة لأحد إلا بما صح عن رسول الله من حديث صحيح أو حسن
และที่ข้าพเจ้าเห็นด้วยคือ แท้จริง การอธิบายการเฎาะอีฟในหะดิษเป็นสิ่งจำเป็น ในทุกๆสถานการณ์ และไม่ได้แบ่งแยกระหว่าง เรื่องที่เกี่ยวกับหุกุม และระหว่างเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าของอะมั้ล และในทำนองนั้น ในการที่จะไม่นำรายงานที่เฎาะอีฟ มาเป็นหลักฐาน ในทางกลับกัน ไม่มีการอ้างหลักฐาน สำหรับคนใดคนหนึ่ง นอกจาก ด้วยสิ่งที่เศาะเฮียะ จากรซูลุลลอฮ จากหะดิษเศาะเฮียะ หรือ หะดิษหะซัน – อัลบาอีษอัลหะษีษ หน้า 101
3. อัลลามะฮ อัลกะนาวีย์ กล่าวว่า
ويُحرم التساهل في (الحديث الضعيف) سواءً كان في الأحكام أو القصص أو الترغيب أو الترهيب أو غير ذالك“
ห้ามไม่ให้มักง่ายในเรืองหะดิษเฎาะอีฟ ไม่ว่าในเรื่องบรรดาหุกุม หรือ เรื่องราวต่างๆ หรือ เกี่ยวกับการส่งเสริมความดี หรือ หรือเตือนสิ่งที่ไม่ดี หรืออื่นจากนั้น – อัลอะษารอัลมัรฟูอะฮ ฟิลอัคบารอัลเมาฎูอะฮ หน้า 21
-คำว่าห้ามไม่ให้มักง่ายหมายถึง ให้มีความรอบคอบในเรื่องหะดิษเฎาะอีฟ อย่ามักงายนำมาอ้างหลักฐาน
3. หาฟิซอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า
”تجوز رواية الحديث الضعيف إن كان بهذا الشرطين : ألا يكون فيه حكم ، وأن تشهد له الأصول
อนุญาตให้รายงานหะดิษเฎาะอีฟ หากมันมีสองเงื่อนไขนี้คือ จะต้องไม่เป็นหุกุมในมัน และจะต้องมีรากฐานมาสนับสนุนมัน – อัลอิศอบะฮ ฟีตัมญีซเศาะหาบะฮ เล่ม 5 หน้า 69
0
- หมายถึง ไม่นำหะดิษนั้นมาอ้างอิงด้านหุกุม เช่น วญิบ ,สุนัต หรือ หะรอมเป็นต้น และจะต้องมีหะดิษที่เศาะเฮียะที่เป็นหลักอยู่แล้วมาสนับสนุน กล่าวคือ เรื่องนั้นมีหะดิษเศาะเฮียะอยู่แล้ว
4. อัลลามะฮ ฏอฮีร อัลญะซาอิรีย์ อัดดะมัชกีย์ กล่าวว่า
”الظاهر أنه يلزم بيان ضِعف الضعيف الوارد في الفضائل ونحوها كي لا يُعتقد ثبوته في نفس الأمر ، مع أنه رُبما كان غير ثابت في نفس الأمر
ที่ปรากฏชัดเจนคือ จำเป็นจะต้องชี้แจงการเฎาะอีฟของหะดิษ ที่รายงานในเรื่องหะดิษเฎาะอีฟและในทำนองนั้น เพื่อว่า การรับรองมันจะได้ไม่ถูกเชื่อมั่นว่า ตรงกับความเป็นจริง ทั้งๆที่บางที่ ตามความเป็นจริงแล้ว มัน(เป็นหะดิษ)ไม่แน่นอน – เตาญีฮุลนัซริ อิลาอุศูลิลอะษัร เล่ม 2 หน้า 238
- คือ นำหะดิษเฎาะอีฟมาใช้ในคุณค่าอะมั้ลได้ แต่อย่ามันใจว่าเป็นหะดิษที่แน่นอน
5. เช็คดอ็กเตอร์ สะอีด บิน วะฮฟี อัลเกาะฏอนีย กล่าวว่า
الراجح من أقوال أهل العلم بطلان العمل بالحديث الضعيف لا في فضائل الأعمال ولا في غيرها“
ที่มีน้ำหนักจากบรรดาคำพูดของนักวิชาการ คื่อ การปฏิบัติด้วยหะดิษเฎาะอีฟนั้น เป็นโมฆะ ไม่ว่าในเรื่องคุณค่าอะมั้ลหรือ ในเรื่อง อื่นจากมัน – มุกอ็ดดิมะฮหุศนัลมุสลิม หน้า 6
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น