อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

วันอัฎหาอ์เกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์หรือไม่?

.มะห์มูด (ปราโมทย์ศรีอุทัย 


วันอัฎหาอ์เกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์หรือไม่? 
หลังจากที่ผมเขียนบทข้างต้นจบลงไม่นาน ก็มีมิตรสหายบางท่านโทรศัพท์มาเล่าให้ฟังว่า  ได้อ่านเจอเว็บไซด์หนึ่งซึ่งสรุปเนื้อหาก็คือ  การนมาซวันอีดิ้ลอัฎหาอ์ในประเทศไทย ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมกับวันอัฎหาอ์ของประเทศสอุดีอาระเบีย์ ...  
เหตุผลคือ เพราะการนมาซวันอัฎหาอ์ ถูกบัญญัติมาก่อนการทำหัจญ์ 8-9 ปี ... 
แสดงว่าการนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ ไม่มีส่วนสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์และการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮ์ ...
ด้วยเหตุนี้ บรรดามุสลิมในเมืองต่างๆสมัยก่อน จึงสามารถกำหนดวันอีดิ้ลอัฎหาอ์ของตนเองได้ ...
 นอกจากนั้น ท่านนบีย์และบรรดาเศาะหาบะฮ์ซึ่งพำนักอยู่ที่นครมะดีนะฮ์  ต่างก็กำหนดวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์เป็นวันนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ที่มะดีนะฮ์ โดยไม่เคยสนใจสอบถามว่า ที่มักกะฮ์มีการกำหนดวันอะรอฟะฮ์วันไหน หรือนมาซอีดกันวันไหน ? ...
    ฯลฯ ...
ชี้แจง
ถ้าการนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์เลย ท่านนบีย์ก็คงจะไม่ใช้คำว่า  การนมาซอีดวันอัฎหาอ์! ...
เพราะชื่อ วันอัฎหาอ์  มิได้หมายถึงวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์โดยทั่วๆไป ... 
แต่เป็น ชื่อ เรียกวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ ซึ่งมีที่มาจากการทำหัจญ์ ... 
คือ เป็นชื่อวันเชือดสัตว์พลี (อัล-ฮัดยุ, หรือดัมในพิธีกรรมหัจญ์! ดังจะได้กล่าวต่อไป ...
ก่อนอื่น ผมขอเรียนชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาข้างต้นดังต่อไปนี้ ...
ต่อคำกล่าวข้างต้นที่ว่า การนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ ถูกบัญญัติมาก่อนการทำหัจญ์ 8 หรือ 9 ปี ...
หากคำว่า หัจญ์ ในที่นี้ หมายถึง حجة الإسلام คือหัจญ์ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.ได้ลงฟัรฺฎูให้แก่ท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมในปีที่ 9 หรือ 10ของฮิจญเราะฮ์ศักราช  คำกล่าวนี้ก็เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง, ... 
หมายความว่า .. ในช่วง 8 หรือ 9 ปีแรกก่อนที่จะมีการฟัรฺฎูหัจญ์ลงมา  มุสลิมจะมีการนมาซอีดกันเพียงอย่างเดียว ด้วยการกำหนดเอาวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ของเมืองหรือประเทศตนเอง เป็น วันอัฎหาอ์ เพื่อการนมาซอีดโดยอิสระ,... 
และระยะเวลาระหว่างนั้น  แม้จะมีการทำหัจญ์ แต่ก็ไม่ใช่หัจญ์ตามรูปแบบหัจญ์ของอิสลามอย่างปัจจุบัน,  และ (คงจะ)ไม่มีการถือศีลอดในวันอะรอฟะฮ์ด้วย ...
แต่ .. ข้อมูลเพียงเท่านี้ ก็หาใช่หลักฐานเพียงพอที่จะตัดสินว่า  การนมาซวันอีดิ้ลอัฎหาอ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์เลย ...
เพราะตามข้อเท็จจริงนั้น วันอัฎหาอ์ มีส่วนสัมพันธ์กับ การทำหัจญ์ มาตั้งแต่สมัยโบราณ .. คือตั้งแต่สมัยท่านนบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลามแล้ว ...  
หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือ  การที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงมีบัญชาต่อท่านนบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ให้ประกาศเชิญชวนประชาชนให้มาทำหัจญ์ที่นครมักกะฮ์    ดังที่มีระบุในโองการที่ 27-28 ซูเราะฮ์อัล-หัจญ์ ว่า ...
       وَأَذِّنْ فِى النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوْكَ رِجَالاً وَعَلَىكُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِيْنَ مِنْ كُلِّ فَجٍّ عَمِيْقٍ،  لِيَشْهَدُوْا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوااسْمَ اللهِ فِىْ أَيَّامٍ مَعْلُوْمَاتٍ عَلَى مَاَرَزَقُهْم مِنْ بَهِيْمَةِ اْلأَنْعَامِ    
และเจ้า (อิบรอฮีมจงประกาศแก่มวลมนุษย์เพื่อการทำหัจญ์  พวกเขาจะมายังเจ้าด้วยการเดินเท้าและบน (หลังอูฐเพรียวทุกตัว,  พวกเขาจะมาจากทางไกลทุกทิศทาง เพื่อจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และกล่าวพระนามอัลลอฮ์ในบรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้ว  ตามที่พระองค์ได้ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาอันได้แก่ปศุสัตว์ (สัตว์สี่เท้าเพื่อเชือดเป็นสัตว์พลี.....
คำว่า กล่าวพระนามอัลลอฮ์ ในโองการนี้นักวิชาการอธิบายว่า .. หมายถึง การกล่าวพระนามอัลลอฮ์ตอนเชือดสัตว์พลีในวันอัฎหาอ์ ...
คำว่า บรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้ว  นักวิชาการมีความเห็นขัดแย้งกันเล็กน้อยในประเด็นที่ว่า หมายถึงวันอะไรบ้าง ? ...
นักวิชาการส่วนใหญ่อธิบายว่า หมายถึงวันเชือดสัตว์ (أَيَّامُ النَّحْرِทั้งหมด .. คือวันที่ 10-11-12-13 เดือนซุลหิจญะฮ์ ...
นักวิชาการบางท่านอธิบายว่า  หมายถึงเฉพาะวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ ...
สรุปแล้ว นักวิชาการทุกท่านไม่มีความขัดแย้งกันในประเด็นที่ว่า วันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์หรือวันอัฎหาอ์   คือหนึ่งจาก บรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้ว ในโองการนี้ ...
และคำว่า ตามที่พระองค์ได้ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาอันได้แก่ปศุสัตว์ .. นักวิชาการอธิบายว่า หมายถึงปศุสัตว์หรือสัตว์สี่เท้าที่ให้เชือดเพื่อเสียดัม (สำหรับผู้ทำหัจญ์.. หรือเพื่อทำกุรฺบาน  (สำหรับผู้ไม่ได้ไปทำหัจญ์ในวันอัฎหาอ์ ... 
(สรุปจากตัฟซีรฺ ฟัตหุ้ลกอดีรฺ  ของท่านอัช-เชากานีย์  เล่มที่ 3 หน้า 642... 
สรุปแล้ว การทำหัจญ์  ตามรูปแบบของท่านนบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม  จึงเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่อดีตกาลแล้ว,  และวันอัฎหาอ์ (วันเชือดสัตว์พลี, ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ซุลหิจญะฮ์ก็เป็นวันหนึ่งในพิธีกรรมหัจญ์ดังกล่าว มาตั้งแต่อดีตเช่นเดียวกัน ...
ส่วนรูปแบบในพิธีกรรมหัจญ์บางอย่างของท่านนบีย์อิบรอฮีม ก็อาจจะถูกบิดเบือนไปบ้างโดยพวกญาฮิลียะฮ์ในยุคหลัง ... 
ตัวอย่างเช่น ...
1.  การเดินทางออกจากมุซดะลิฟะฮ์ของพวกญาฮิลียะฮ์ จะกระทำกันหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นสูงเหนือยอดเขาษะบีรฺแล้ว (จากอบูดาวูด หะดีษที่ 1938),...   
2.  จะไม่มีการซะอฺยุ(สะแอระหว่างเนินซอฟาและเนินมัรฺวะฮ์ (บุคอรีย์  หะดีษที่ 1643, 1648,  มุสลิม  หะดีษที่ 260/1277),...   
3.  การเปลือยกายเดินฏอว้าฟบัยตุ้ลลอฮ์ได้ (บุคอรีย์  หะดีษที่ 1665เป็นต้น ... 
แต่ทว่า,  ส่วนใหญ่จาก รูปแบบ และ วิธีการ ทำหัจญ์ของท่านนบีย์อิบรอฮีมอะลัยฮิสสลาม -- รวมทั้งวันอัฎหาอ์ด้วย --  ก็ยังคงได้รับการอนุรักษ์ต่อๆมา  และถือเป็น ต้นแบบ การทำหัจญ์ของท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมาจนถึงปัจจุบัน .. ดังการรับรองของท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเองในหะดีษบทหนึ่งซึ่งรายงานโดยท่านยะซีด บินชัยบาน อัล-อัซดีย์ ร.ฎ. ว่า ...  
  كُنَّا وُقُوْفًا بِعَرَفَةَ مَكَانًا بَعِيْدًا مِنَ الْمَوْقِفِ، فَأَتَانَاابْنُ مِرْبَعٍ الأَنْصَارِىُّ فَقَالَ : إِنِّىْ رَسُوْلُ رَسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَيْكُمْ، يَقُوْلُ : كُوْنُوْا مَشَاعِرَكُمْ!  (وَفِىْ عِبَارَةِ أَبِىْ دَاوُدَ : قِفُوْا عَلَى مَشَاعِرِكُمْ!)فَإِنَّكُمْ عَلَى إِرْثٍ مِنْ إِرْثِ أَبِيْكُمْ إِبْرَاهِيْمَ عَلَيْهِ السَّلاَمُ               
พวกเราได้วุกูฟที่อะรอฟะฮ์กันในสถานที่หนึ่งซึ่งห่างไกลจากเมากิฟ (เขตของทุ่งอะรอฟะฮ์),  ท่านอิบนุมิรฺบาอฺ อัล-อันศอรีย์ ร.ฎ. ได้มาหาพวกเราแล้วกล่าวว่า .. ฉันเป็นทูตของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมมายังพวกท่าน,  ท่านได้สั่งมาว่า : พวกท่านจงอยู่ในเขตที่ถูกกำหนดไว้ (مَشَاعِرُของพวกท่าน! (คือ เขตของอะรอฟะฮ์, .. ในสำนวนของท่านอบูดาวูดกล่าวว่า : พวกท่านจงวุกูฟใน مَشَاعِرُ ของพวกท่าน..  เนื่องจากพวกท่านกำลังสืบทอด มรดกหนึ่ง มาจากบิดาของพวกท่าน คือท่านนบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม
(บันทึกโดย ท่านอัน-นะซาอีย์  หะดีษที่ 3014,   ท่านอบูดาวูด หะดีษที่ 1919,   ท่านอัต-ติรฺมีซีย์  หะดีษที่ 883,   และท่านอิบนุมาญะฮ์  หะดีษที่ 3011,   สำนวนข้างต้นนี้เป็นสำนวนจากการบันทึกของท่านอัน-นะซาอีย์... 
 คำว่า  مَشَاعِرُ  หรือ เขตที่ถูกกำหนดไว้  ในหะดีษนี้ หมายถึงเขตของทุ่งอะรอฟะฮ์ที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่สมัยท่านนบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ... 
และคำว่า “มรดกหนึ่งของท่านนบีย์อิบรอฮีม หมายถึง พิธีกรรมหัจญ์ ของท่านนบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ซึ่งท่านได้เคยกำหนดกรอบและวิธีการของมันมาตั้งแต่อดีต  อาทิเช่น การฏอว้าฟบัยตุ้ลลอฮ์,  การวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮ์,  การค้างคืนที่มุซดะลิฟะฮ์,  การกำหนดวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์เป็นวันอัฎหาอ์  และวันที่ 11-12-13 เป็นวันตัชรีกเพื่อเชือดสัตว์พลี เป็นต้น ... 
 เมื่อ วันอัฎหาอ์ เป็นบัญญัติเดิมและเป็นชื่อเรียกดั้งเดิมของวันที่ 10 ซุลหิจญะฮ์ในการทำหัจญ์ และเกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์มาตั้งแต่ยุคสมัยท่านนบีย์อิบรอฮีมแล้ว ... 
คำนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า การนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .. แม้ว่าขณะนั้นหัจญ์ของอิสลามจะยังไม่ถูกฟัรฺฎูลงมาก็ตาม ... 
และ.. หลังจากฟัรฎูหัจญ์ของอิสลามถูกประทานลงมาให้แก่ท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมแล้ว  ความสัมพันธ์ระหว่าง วันอัฎหาอ์  กับ การทำหัจญ์  ก็ยิ่งแน่นแฟ้นขึ้น ชนิดแยกจากกันไม่ได้อีก .. ดังเป็นที่ทราบกันดีและไม่มีความขัดแย้งใดๆของนักวิชาการในเรื่องนี้ ...
เพราะฉะนั้น หากผู้ใดกล่าวว่า การนมาซวันอีดิ้ลอัฎหาอ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำหัจญ์เลย,  และแต่ละประเทศในปัจจุบันนี้ มีสิทธิจะกำหนดวันที่ 10 ซุลหิจญะฮ์เพื่อเป็นวันนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ภายในประเทศของตนเองได้เหมือนบรรดามุสลิมในอดีต  โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ  ผู้นั้นก็จะต้องหาข้อมูลหรือหลักฐานมาเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่า ... 
1.  คำว่า วันอัฎหาอ์ เป็น คำศัพท์ใหม่ ซึ่งท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมเพิ่งจะบัญญัติขึ้นมา  เพื่อใช้เรียกเป็นชื่อวันนมาซอีดในวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ของปีฮ.ศ. 1 หรือ 2 เป็นต้นมา, .. และคำๆนี้ก็ไม่เคยเป็นที่รู้จักกันในอดีต, หรือไม่ได้มีที่มาจากพิธีกรรมหัจญ์ของท่านนบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ??? ...
และคำว่า  أَيَّامٍ مَعْلُوْمَاتٍ  หรือ บรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้ว ในโองการที่ 28 ซูเราะฮ์อัล-หัจญ์ ก็ไม่ได้มีความหมายถึงวันอัฎหาอ์เลย ?...  
2. วันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์  ไม่จำเป็นจะต้องต่อเนื่องกัน, .. แต่สามารถแยกจากกันได้ ? ...
ทั้งนี้ เพราะเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในการนมาซวันอีดิ้ลอัฎหาอ์เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2550 ที่เพิ่งผ่านไปหยกๆก็คือ มีประชาชนบางคน ถือศีลอดอะรอฟะฮ์ในวันอังคาร ตามวันวุกูฟที่อะรอฟะฮ์ของผู้ทำหัจญ์ที่มักกะฮ์,  ต่อจากนั้นจึง นมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ในวันพฤหัสบดี ตามการกำหนดของสำนักจุฬาราชมนตรี ...  
3.  บรรดาเศาะหาบะฮ์ซึ่งพำนักอยู่ในเมืองต่างๆไม่ว่า ใกล้ หรือ ไกล กับนครมักกะฮ์ในอดีต ไม่เคยสนใจหรือให้ความสำคัญกับวันอะรอฟะฮ์หรือวันอีดิ้ลอัฎหาอ์ของนครมักกะฮ์เลยแม้แต่น้อย .. ทว่า, พวกเขา จงใจ ดูเดือนเพื่อกำหนดวันที่ 9 และวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ให้เป็นวันถือศีลอดอะรอฟะฮ์และวันนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ของตนเอง ทั้งๆที่รู้อยู่เต็มอกแล้วว่า วันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ของมักกะฮ์ ตรงกับวันไหน ??? ...
พวกท่านจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ทั้ง 3 ประเด็นที่กล่าวมานี้ให้ได้ จึงจะอ้างสิทธิ์การดูเดือน เพื่อกำหนดวันนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ภายในประเทศของตนเองได้ ...
แต่ถ้าหาหลักฐานมาพิสูจน์ไม่ได้  พวกท่านก็ต้องยอมรับความจริงว่า ...
1.  วันอัฎหาอ์เคยเกี่ยวข้อง,  และจะยังคงเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหัจญ์ต่อไปและตลอดไป, .. ไม่ว่าอดีต,  ปัจจุบัน,  อนาคต ..  จนถึงวันอาคิเราะฮ์ ...
ดังนั้น การนมาซอีด ในวัน อัฎหาอ์  จึงไม่ใช่การนมาซอีดใน วันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ ของแต่ละประเทศโดยเอกเทศ,   แต่เป็นนมาซที่ถูกกำหนดให้ทำใน วันอัฎหาอ์ (วันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์อันเป็นวันซึ่งมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ,  และมีที่มาจาก พิธีกรรมหัจญ์ ของท่านนบีย์อิบรอฮีมในอดีต  แล้วสืบทอดต่อมาจนถึง หัจญ์อิสลาม  ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว ...
และเมื่อ หัจญ์ของอิสลาม  ถูกฟัรฺฎูลงมาในฮิจญเราะฮ์ศักราชที่ 9 หรือที่ 10   การนมาซวันอีดิลอัฎหาอ์ ก็ผูกพันกับ การทำหัจญ์ อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น .. ดังหลักฐานที่กำลังจะอธิบายต่อไปในข้อที่ 2 คือ ...
 2.  วันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ ไม่มีวันจะแยกจากกันได้! ...
ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้เคยกล่าวในหะดีษบทหนึ่งว่า ...
  
يَوْمُ عَرَفَةَ،  وَيَوْمُ النَّحْرِ،  وَأَيَّامُ التَّشْرِيْقِ عِيْدُنَا أَهْلَ اْلإِسْلاَمِ،  وَهِىَ أَيَّامُ أَكْلٍ وَشُرْبٍ                                                                                       
วันอะรอฟะฮ์ (วันที่ 9),  วันนะหัรฺ (วันที่ 10),  และบรรดาวันตัชรีก (วันที่ 11-12-13 เดือนซุลหิจญะฮ์คือวันอีดสำหรับพวกเราชาวมุสลิมโดยเฉพาะ,  นั่นคือ เป็นวันแห่งการกินและการดื่ม
(บันทึกโดย ท่านอบูดาวูด  หะดีษที่ 2419  และท่านอัต-ติรฺมีซีย์  หะดีษที่ 773 โดยรายงานมาจากท่านอุกบะฮ์ บินอามิรฺ ร.ฎ.,  และหะดีษนี้ เป็นหะดีษที่ถูกต้องดังการรับรองของท่านอัล-อัลบานีย์ในหนังสือ  إِرْوَاءُ الْغَلِيْلِ  เล่มที่ 4 หน้า 130,  ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ในหนังสือ اَلْجَامِعُ الصَّحِيْحُ  ตอนท้ายของหะดีษที่ 773,   ท่านอัล-หากิมในหนังสือ اَلْمُسْتَدْرَكُ เล่มที่ 1 หน้า 600,  และท่านอัษ-ษะฮะบีย์ในหนังสือ تَلْخِيْصُ الْمُسْتَدْرَكِ ซึ่งถูกตีพิมพ์ร่วมกับหนังสือ اَلْمُسْتَدْرَكُ  ของท่านอัล-หากิมข้างต้น... 
นัยของหะดีษบทนี้บ่งบอกว่า วันทั้งหมดที่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมระบุมานั้น -- ไม่ว่าจะเป็นวันอะรอฟะฮ์,  วันอัฎหาอ์,  และวันตัชรีกทั้งสาม  นอกจากจะเป็น วันอีด .. คือวันรื่นเริงและวันดื่มกินของมุสลิมแล้ว  ยังมีความต่อเนื่องกันและเรียงกันเป็นลูกโซ่,  ไม่สามารถจะแยกจากกันได้ ...
การที่ท่านศาสดา สั่งให้ ถือศีลอดในวันอะรอฟะฮ์  จึงมีความหมายเท่ากับท่านสั่งให้ นมาซอีด ในวันรุ่งขึ้น .. ซึ่งจะเป็น วันอัฎหาอ์ โดยอัตโนมัติ ... 
เพราะฉะนั้น  การถือศีลอดอะรอฟะฮ์ในวันอังคารแล้วเว้นวรรคไปนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ในวันพฤหัสบดี  จึงไม่มีปรากฏในหลักการของซุนนะฮ์ ...
หมายเหตุ  
หะดีษบทข้างต้นนี้  ตามรูปการณ์แล้วท่านศาสดาน่าจะกล่าวไว้ ก่อนฟัรฺฎูหัจญ์ของอิสลามถูกประทานลงมา,  เพราะหลังจากมีฟัรฺฎูหัจญ์อิสลามแล้ว  วันอะรอฟะฮ์ ก็ถูกกำหนดให้เป็นวันถือศีลอดสำหรับผู้ที่มิได้ไปทำหัจญ์!  มิใช่วันดื่มกินอีกต่อไป .. ดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว ...    
3.  แม้จะปรากฏว่า บรรดาเศาะหาบะฮ์ซึ่งพำนักอยู่ในเมืองหรือประเทศต่างๆในสมัยก่อน  ได้กำหนดเอาวันที่ 9 เดือนซุลหิจญะอ์เป็นวันถือศีลอดอะรอฟะฮ์ และวันที่ 10 เป็นวันนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ในเมืองหรือประเทศของพวกท่านเอง  (ซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับวันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ตามการกำหนดของมักกะฮ์ก็ได้... 
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ  ไม่ปรากฏมีหลักฐานจากหะดีษบทใดเลยที่กล่าวว่า บรรดาเศาะหาบะฮ์เหล่านั้น  จงใจและเจตนา จะถือศีลอดอะรอฟะฮ์หรือนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ในวันที่ 9 และวันที่ 10 ซึ่งถูกกำหนดโดยประเทศของตนเอง  ทั้งๆที่รู้ (เหมือนพวกเราในปัจจุบันรู้แล้วว่า วันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ของมักกะฮ์ ตรงกับวันอะไร ! ...
แน่นอน,  คำกล่าวที่ว่า บรรดาเศาะหาบะฮ์ซึ่งพำนักอยู่ในเมืองอื่นจงใจจะไม่ถือศีลอดและนมาซอีดตามวันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ของมักกะฮ์ทั้งๆที่รู้ .. เป็นสิ่งไม่มีหลักฐานอ้างอิง นอกจากการคาดเดาเอาเอง ...
ทว่า,  กรณีนี้ มี إِحْتِمَالٌ ..  คือ ความเป็นไปได้ ว่า .. เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น เป็นเพราะพวกท่าน (ซึ่งก็เหมือนกับพวกเราในอดีตด้วยไม่รู้, และไม่ได้รับทราบข่าวการกำหนดวันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์จากนครมักกะฮ์ ทันเวลา .. อันเนื่องมาจากความห่างไกลและความล่าช้าของการสื่อสารในสมัยโบราณ ...
การ إِحْتِمَالٌ  ดังกล่าวนี้ มีน้ำหนักแห่งความถูกต้องเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม หากจะนำเอาสภาพการณ์ในอดีตของพวกเราเองเมื่อไม่กี่สิบปีก่อนหน้านี้  มาเป็นบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบ! ...
ขนาดพวกเราเมื่อไม่กี่สิบปีก่อนซึ่งระบบการสื่อสารต่างๆขณะนั้นถือว่าก้าวหน้าและทันสมัยอยู่ในระดับใช้ได้แล้ว  ก็ยังทราบข่าววันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ของมักกะฮ์ล่าช้าและไม่ทันเวลา  จึงต้องกำหนดเอาวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ของประเทศไทยเองเป็นวันนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ .. เหมือนกันทั้งคณะใหม่และคณะเก่า! ... 
แล้วลองคิดดูซิว่า บรรดาเศาะหาบะฮ์ซึ่งเคยมีชีวิตเมื่อพันสี่ร้อยกว่าปีก่อนและอยู่ต่างเมืองที่ห่างไกลออกไป จะรับทราบข่าววันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ของมักกะฮ์ล่าช้าสักขนาดไหน ? ...
จะอย่างไรก็ตาม  แม้จะไม่สามารถรับรู้วันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ของมักกะฮ์ได้ทันเวลาก็จริง ... 
แต่บรรดาเศาะหาบะฮ์เหล่านั้น (รวมทั้งพวกเราในอดีตก็ยังสามารถจะรู้วันที่ 9 และวันที่ 10 เดือนซุลหิจญะฮ์ -- ซึ่งเป็นพื้นฐานของการกำหนดวันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์  จากการดูเดือนในเมืองหรือประเทศตนเองได้ ...
ดังนั้น การถือศีลอดอะรอฟะฮ์ในวันที่ 9  และการนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ในวันที่ 10  ตามการดูเดือนภายในประเทศตนเอง ของมุสลิมในยุคก่อนๆที่ผ่านมา  จึง เป็นสิ่งที่ได้รับการอนุโลมและผ่อนผัน ตามหลักการอิสลาม ... 
เพราะพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. จะทรงใช้ให้ผู้ใด, ปฏิบัติสิ่งใด  ก็หมายถึงว่าสิ่งนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่ง ความสามารถของเขา เท่านั้น ..  ดังพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ในซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ โองการที่ 286 ที่ว่า ...
((لاَ يُكَلِّفُ اللهُ نَفْسًا إِلاَّ وُسْعَهَا ))                              
พระองค์อัลลอฮ์จะไม่ทรงวาง ภาระหนัก แก่ชีวิตใด เว้นแต่(จะให้ปฏิบัติตามสมรรถนะ (ความสามารถของมันเท่านั้น
และดังคำกล่าวของท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า ...
                       (( إِذَا أَمَرْتُكُمْ بِأَمْرٍ فَأْتُوْا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ ))
เมื่อฉันใช้ให้พวกท่านทำสิ่งใด  พวกท่านก็จงทำมันเท่าที่พวกท่านสามารถ
การไม่สามารถทราบข่าววันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์จากมักกะฮ์ได้ทันเวลาสำหรับประชาชนในสมัยก่อนซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหรือประเทศที่ห่างไกล จึงถือเป็น ข้อผ่อนผัน ..  ตามนัยของอัล-กุรฺอ่านและอัล-หะดีษข้างต้น ...
แต่, ..ในยุคปัจจุบันนี้  หากผู้ใดยังขืนอ้างว่า  “ตนเองไม่สามารถรับรู้ข่าวสารเรื่องวันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์จากนครมักกะฮ์ได้ทัน จึงมีสิทธิได้รับการผ่อนผันเรื่องการดูเดือนเพื่อกำหนดวันนมาซอีดิ้ลอัฎหาอ์ในประเทศของตัวเอง” .. ก็คงจะเป็นเรื่องที่รับฟังไม่ขึ้นและอาจจะถูกตั้งข้อหา -- ตามสำนวนนักการเมือง -- ว่า  เป็นคนพูดโกหกคำโต  แน่ๆ ...
เพราะฉะนั้น ในทัศนะของผม -- (อาจจะผิดก็ได้--  ถือว่า พวกเราในประเทศไทยไม่มีทางเลือกอย่างอื่นในการถือศีลอดวันอะรอฟะฮ์และการนมาซวันอีดิ้ลอัฎหาอ์   เว้นแต่จะต้องให้พร้อมกับวันอะรอฟะฮ์และวันอัฎหาอ์ของประเทศสอุดีอาระเบียเท่านั้น 
อาจมีบางคนสงสัยว่า  แล้วทำไมผมจึงไม่ยึดถือหลักการอย่างนี้บ้าง  ในการถือศีลอดรอมะฎอนและการออกอีดิ้ลฟิฏรี่ ??? ...
คำตอบของผมก็คือ  เพราะบรรทัดฐานเรื่องการถือศีลอดเดือนรอมะฎอนและการนมาซวันอีดิ้ลอัฎหาอ์ แตกต่างกันและไม่เหมือนกัน ดังกล่าวมาแล้ว ...
ในเรื่องการถือศีลอดเดือนรอมะฎอน (และการออกอีดิ้ลฟิฏรี่)  ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ อนุญาตด้วยวาจา แล้ว ให้แต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศมีสิทธิดูเดือน เพื่อกำหนดวันถือศีลอดและวันออกอีดของตนเองได้ .. ดังความเข้าใจจากคำกล่าวของท่านอิบนุอับบาส ร.ฎ. หลังจาก ปฏิเสธ ที่จะออกอีดตามการเห็นเดือนของท่านมุอาวิยะฮ์ที่เมืองชามว่า ... هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  : อย่างนี้แหละที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะวัลลัม ได้สั่งใช้เรา ...
เมื่อท่านศาสดาอนุญาต,  และผู้นำของมุสลิมในประเทศนี้ ก็เลือกที่จะใช้สิทธิที่ได้รับการอนุญาต .. ถูกต้องตาม วิธีการ ที่ท่านนบีย์สั่ง คือการดูเดือนเสี้ยวเป็นหลัก ในการถือศีลอดและการออกอีด ... 
และ .. เมื่อท่านศาสดาสั่งว่า มุสลิมจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำใน สิ่งที่ถูกต้อง .. คือไม่ขัดกับบทบัญญัติและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระผู้เป็นเจ้า ...
และ .. เมื่อท่านศาสดาสั่งอีกว่า ให้มีเอกภาพในการถือศีลอดและการออกอีด ...
และ .. เมื่อบรรดานักวิชาการซุนนะฮ์ (จริงๆมีทัศนะที่สอดคล้องกันว่า  เอกภาพที่ท่านนบีย์สั่ง หมายถึง เอกภาพภายในประเทศ ก่อนอื่นใด ...
ลองตอบมาซิครับ  ว่า   ถ้า .. พวกท่านเป็นผม! ซึ่งมั่นใจว่า ตัวเองมีอีหม่านและมุ่งมั่นจะปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมอย่างแท้จริง,  ไม่ใช่อ้างซุนนะฮ์เพียงลมปาก ...
   พวกท่าน จะทำอย่างไรในกรณีนี้ ???

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น