ปัญหาอีกประการหนึ่ง ที่เป็นมูลเหตุ การอุตริพิธีกรรมทางศาสนา เพิ่มเติมขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นคำสอนศาสนา กำหนดหุกุมสิ่งนั้นขึ้นมาว่า “เป็นสุนัต ส่งเสริมให้ทำ เป็นสิ่งที่ดี ได้รับผลบุญ ตอบแทน โดยมีการการัตตีว่าจะได้บุญ ทั้งๆที่ไม่มีคำส่งจากอัลลอฮ ผู้ทรงประทานผลบุญ และรอซูล ของพระองค์ ผู้มีหน้าที่การันตีว่า สิ่งใดได้บุญ สิ่งใด เป็นบาป
ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ) ได้กล่าวถึง หลักการของอิบาดะฮและอาดะฮว่า
أَنَّ تَصَرُّفَاتِ الْعِبَادِ مِنَ الْأَقْوَالِ وَالْأَفْعَالِ نَوْعَانِ : عِبَادَاتٌ يَصْلُحُ بِهَا دِينُهُمْ ، وَعَادَاتٌ يَحْتَاجُونَ إِلَيْهَا فِي دُنْيَاهُمْ ، فَبِاسْتِقْرَاءِ أُصُولِ الشَّرِيعَةِ نَعْلَمُ أَنَّ الْعِبَادَاتِ الَّتِي أَوْجَبَهَا اللَّهُ أَوْ أَحَبَّهَا لَا يَثْبُتُ الْأَمْرُ بِهَا إِلَّا بِالشَّرْعِ
แท้จริง การดำเนินงานของบรรดาบ่าว จากบรรดาคำพูดและการกระทำนั้น มี 2 ประเภทคือ
1. บรรดาอิบาดาต ทีศาสนาของพวกเขาจะดีได้ด้วยมัน
2. บรรดาอาดาต ที่พวกเขามีความจำเป็นต่อมัน ในทางโลกของพวกเขา
2. บรรดาอาดาต ที่พวกเขามีความจำเป็นต่อมัน ในทางโลกของพวกเขา
ดังนั้น ด้วยการสืบค้นบรรดารากฐานของชะรีอัต เราจะรู้ว่า แท้จริง บรรดาอิบาดาต ที่ อัลลอฮได้กำหนดให้เป็นวาญิบ หรือ ทรงโปรดปราณมันนั้น คำสั่งจะไม่ได้รับการยืนยันด้วยมัน นอกจากด้วยบทบัญญัติ
وَأَمَّا الْعَادَاتُ فَهِيَ مَا اعْتَادَهُ النَّاسُ فِي دُنْيَاهُمْ مِمَّا يَحْتَاجُونَ إِلَيْهِ ، وَالْأَصْلُ فِيهِ عَدَمُ الْحَظْرِ ، فَلَا يُحْظَرُ مِنْهُ إِلَّا مَا حَظَرَهُ اللَّهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَى . وَذَلِكَ ؛ لِأَنَّ الْأَمْرَ وَالنَّهْيَ هُمَا شَرْعُ اللَّهِ ، وَالْعِبَادَةُ لَا بُدَّ أَنْ يَكُونَ مَأْمُورًا بِهَا ، فَمَا لَمْ يَثْبُتْ أَنَّهُ مَأْمُورٌ بِهِ كَيْفَ يُحْكَمُ عَلَيْهِ بِأَنَّهُ [عِبَادَةٌ ؟ ! وَمَا لَمْ يَثْبُتْ مِنَ الْعِبَادَاتِ أَنَّهُ مَنْهِيٌّ عَنْهُ كَيْفَ يُحْكَمُ عَلَى أَنَّهُ مَحْظُورٌ
สำหรับ เรื่องอาดาต คือ สิ่งที่บรรดามนุษย์ ได้ปฏิบัติมันเป็นธรรมเนียม ใน ทางดุนยาของพวกเขา จากสิ่งที่เขามีความจำเป็นต่อมัน และรากฐาน ในมันนั้น ไม่ห้าม ดังนั้นเขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน นอกจาก สิ่งที่อัลลอฮ ซ.บ. ทรงห้ามมันไว้ และดังกล่าวนั้น เพราะแท้จริง คำสั่งใช้ และคำสั่งห้าม ทั้งสองคือ บทบัญญัติของอัลลอฮ และ อิบาดะฮนั้น จำเป็นจะต้อง เป็นสิ่งที่ถูกสั่งใช้ ด้วยมัน ดังนั้นสิ่งใด ไม่ปรากฏยืนยัน ว่า มันคือสิ่งที่ถูกสั่งใช้ ด้วยมัน มันจะถูกตัดสินว่า คือ อิบาดะฮได้อย่างไร ? และ สิ่งที่ไม่ปรากฏยืนยันจากอิบาดาต ว่า ถูกห้ามจากมัน มันจะถูกตัดสินว่า เป็นสิ่งถูกห้ามได้อย่างไร
وَلِهَذَا كَانَ أحمد وَغَيْرُهُ مِنْ فُقَهَاءِ أَهْلِ الْحَدِيثِ يَقُولُونَ : إِنَّ الْأَصْلَ فِي الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيفُ ، فَلَا يُشْرَعُ مِنْهَا إِلَّا مَا شَرَعَهُ اللَّهُ ، وَإِلَّا دَخَلْنَا فِي مَعْنَى قَوْلِهِ تَعَالَى : ( أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوا لَهُمْ مِنَ الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ ) [الشُّورَى
และ เพราะเหตุนี้ ปรากฏว่า อะหมัด และคนอื่นจากเขา จากบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟุเกาะฮาอ)ที่เป็นนักหะดิษ พวกเขาจึงกล่าวว่า
และแท้จริงรากฐาน(หลักการ) ในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง (อัตเตากีฟ)ดังนั้นมันจะไม่ถูกบัญญัติ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาได้บัญญัติมัน และถ้าไม่เช่นนั้นเราก็จะเข้าอยู่ในความหมายของคำตรัสพระองค์ที่ว่า “หรือพวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขาสิ่งซึ่งอัลลอฮมิได้ทรงอนุญาตด้วยมัน- อัชชูรอ/21
และแท้จริงรากฐาน(หลักการ) ในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง (อัตเตากีฟ)ดังนั้นมันจะไม่ถูกบัญญัติ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาได้บัญญัติมัน และถ้าไม่เช่นนั้นเราก็จะเข้าอยู่ในความหมายของคำตรัสพระองค์ที่ว่า “หรือพวกเขามีบรรดาภาคี บัญญัติศาสนาให้แก่พวกเขาสิ่งซึ่งอัลลอฮมิได้ทรงอนุญาตด้วยมัน- อัชชูรอ/21
وَالْعَادَاتُ الْأَصْلُ فِيهَا الْعَفْوُ ، فَلَا يُحْظَرُ مِنْهَا إِلَّا مَا حَرَّمَهُ ، وَإِلَّا دَخَلْنَا فِي مَعْنَى قَوْلِهِ : ( قُلْ أَرَأَيْتُمْ مَا أَنْزَلَ اللَّهُ لَكُمْ مِنْ رِزْقٍ فَجَعَلْتُمْ مِنْهُ حَرَامًا وَحَلَالًا
และบรรดาอาดาตนั้น รากฐาน ในมันนั้น คือ การอนุญาต เขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน นอกจากสิ่งที่ พระองค์ได้ห้ามมันเอาไว้ ถ้าไม่เช่นนั้น เราจะเข้าอยู่ใน ความหมายของคำตรัสอัลลอฮที่ว่า
จงกล่าวเถิด "พวกท่านเห็นไหมเครื่องยังชีพที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่พวกท่าน แล้วพวกท่านได้ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วนเป็นที่อนุมัติ จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺ ทรงอนุมัติให้แก่พวกท่าน หรือพวกท่านปั้นแต่งให้แก่อัลลอฮฺกันแน่ –ยูนุส759 - ดู อัล-เกาะวาอีดอันนูรอนียะฮ หน้า 163-164
...............
จงกล่าวเถิด "พวกท่านเห็นไหมเครื่องยังชีพที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่พวกท่าน แล้วพวกท่านได้ทำให้บางส่วนเป็นที่ต้องห้าม และบางส่วนเป็นที่อนุมัติ จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺ ทรงอนุมัติให้แก่พวกท่าน หรือพวกท่านปั้นแต่งให้แก่อัลลอฮฺกันแน่ –ยูนุส759 - ดู อัล-เกาะวาอีดอันนูรอนียะฮ หน้า 163-164
...............
สรุป คือ
1.หลักการในเรื่องอิบาดะฮ
إِنَّ الْأَصْلَ فِي الْعِبَادَاتِ التَّوْقِيفُ ، فَلَا يُشْرَعُ مِنْهَا إِلَّا مَا شَرَعَهُ اللَّهُ
แท้จริงรากฐาน(หลักการ) ในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง (อัตเตากีฟ)ดังนั้นมันจะไม่ถูกบัญญัติ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮตะอาลาได้บัญญัติมัน ไว้เท่านั้น
2.หลักการในเรื่อง กิจกรรมทางโลก
وَالْعَادَاتُ الْأَصْلُ فِيهَا الْعَفْوُ ، فَلَا يُحْظَرُ مِنْهَا إِلَّا مَا حَرَّمَهُ ،
และบรรดาอาดาตนั้น รากฐาน ในมันนั้น คือ การอนุญาต เขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน นอกจากสิ่งที่ พระองค์ได้ห้ามมันเอาไว้เท่านั้น
والله أعلم بالصواب
....................
อะสัน หมัดอะดัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น