อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานภาพของจุฬาราชมนตรีในปัจจุบัน


.มะห์มูด (ปราโมทย์ศรีอุทัย 
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 ว่า ...
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมัสยิดอิสลาม และกฎหมายว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้
มาตรา  ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐
มาตรา   พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา   ให้ยกเลิก
()  พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐
()  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘
()  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา  ในพระราชบัญญัตินี้
อธิบาย
ข้อความในมาตรา 3 .. ทั้งวงเล็บ 1, วงเล็บ 2, และวงเล็บ 3  ของพระราชบัญญัติฉบับนี้แสดงว่า วิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรี  และอำนาจหน้าที่ของผู้เป็นจุฬาราชมนตรี .. ดังที่มีระบุไว้ในพระราชบัญญัติปี พ.ศ. 2490  และในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมป์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488,  และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ 2พ.ศ. 2491 มาตรา 4  จะต้องถูกยกเลิกทั้งหมดด้วยพระราชบัญญัติฉบับปี พ.ศ. 2540 นี้ ...
พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ยังได้ระบุต่อไปว่า
 หมวด ๑ 
    บททั่วไป
มาตรา ๖  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย
ให้นายกรัฐมนตรีนำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี
อธิบาย
จากมาตรา 6  หมวดที่ 1 บททั่วไปของพระราชบัญญัติฉบับนี้แสดงว่า ...
1.  จุฬาราชมนตรีมิใช่เป็นที่ปรึกษาขององค์พระมหากษัตริย์ ดังที่มีบัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 อีก ...  
แต่ได้ถูกยกสถานะขึ้นเป็น  ผู้นำ  ของมุสลิมในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ...
2.  วิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรี ถูกเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นการสรรหาของประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ  มาเป็น การลงมติเห็นชอบของกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ แทน ...
การลงมติของกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศในการคัดเลือกตัวผู้มาดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี จึงมิใช่เป็นการ  เลือกผู้แทนประจำจังหวัด ของตน เหมือนการเลือกผู้แทนราษฎร .. ดังที่มีบุคคลบางคนอ้าง ...
แต่เป็นการ  สรรหาผู้นำ  และเป็นการลงมติเพื่อ  เลือกผู้นำของชาวไทยมุสลิมทั้งประเทศ  ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ...
ตำแหน่งจุฬาราชมาตรี จึงมาจากการ  คัดเลือก หรือการเลือกตั้งและ ลงมติของ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ทั่วประเทศก่อนเป็นอันดับแรก ...
หลังจากได้รายนามจุฬาราชมนตรีที่มาจากการลงมติของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว  นายกรัฐมนตรีก็จะนำรายชื่อที่ถูกคัดเลือกนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ  เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นจุฬาราชมนตรีต่อไป ...
การได้รับ  เลือกตั้ง และได้รับ แต่งตั้ง เป็นจุฬาราชมนตรีของบุคคลใด จึงถือว่า บุคคลนั้นมีตำแหน่งเป็น  ผู้นำ ของมุสลิมในประเทศไทยอย่างถูกต้อง,  ทั้งตามหลักการศาสนาและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ...
และบุคคลแรกที่ได้รับตำแหน่งเป็นจุฬาราชมนตรีถูกต้องตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็คือ ท่านอาจารย์สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น