
รายงานโดยท่าน อัลบุคคอรีย์ จาก ท่าน อัลซาอิบ บิน ยะซีด เขากล่าวว่า
كان النداء يوم الجمعة أوله إذا جلس الإمام على المنبر على عهد النبي وإبي بكر وعمر رضي الله عنهما ، فلما كان عثمان
وكثر الناس زاد النداء الثالث على الزوراء
"การอะซาน ในช่วงแรกของวันศุกร์ นั้น เมื่ออิมามได้ทำการนั่งอยู่บนมิมบัร ซึ่งได้มีในสมัยของท่าน นบี(ซ.ล.) ท่านอบูบักร และท่านอุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ดังนั้น เมื่อถึงสมัยท่านอุษมาน บรรดาผุ้คนก็มากขึ้น จึงเพิ่มการอะซานครั้งที่ 3 ณ ที่อัลเซฺารออ์
แล้วมีคน เอาการกระทำของท่านอุษมาน มาอ้าง ทำบิดอะฮ ที่ตนคิดขึ้นมาเองอีกแล้ว การอ้างการกระของท่านอุษมานข้างต้น มาสนับสนุน บิดอะฮ ในศาสนา ที่ คิดขึ้นเอง ย่อมไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังนี้
1. การกระทำเช่นนี้เป็นสุนนะฮของเคาะลิฟะฮ อัร-รอชิดีน ที่ท่านนบีสั่งให้ปฏิบัติตาม
:"عليكم بسنتي وسنة الخلفاء المهديين الراشدين فتمسكوا بها وعضوا عليها بالنواجذ" الترمذي (2676)، وأبو داود (4607)، وابن ماجة (42)، وأحمد (17142
2. การกระทำในสมัยนั้น ทำในหอสูงในตลาดเมืองมะดีนะฮ เรียกว่า อัซ-เซารออฺ ท่านอุษมานไม่ได้ทำในมัสยิด
3. เนื่องจากมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ท่านเกรงว่า การอะซานได้ยินไม่ทั่วถึง จึงมีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น และไม่มีเศาะหะบะฮคนใดคัดค้านเลย แบบนี้เขาเรียกว่า อิจญมาอเศาะหาบะฮ
4. การอะซานดังกล่าว เป็นการเรียกผู้คน ให้มาทำการละหมาด ไม่ใช่อาซาน ตามที่มีบัญญัติไว้
روى عبدالرزاق عن أبى جريح قال سليمان بن موس أول من زادالأذان بالمدينة عثمان قال عطاء كلا إنماكان يدعواالناس دعاء لايؤذن غيرأذان واحد
รายงานโดยอับดุรรอซซาก จากอบีญุรัยน ว่า สุลัยมาน บุตร มูซา กล่าวว่า บุคคลแรกที่เพิ่มการอาซานขึ้นที่มะดีนะฮ คือ ท่านอุษมาน ท่านอะฏออฺ กล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้น แต่ ความจริงท่านได้เรียกผู้คน ด้วยคำเรียกธรรมดาเท่านั้น ท่านไม่ได้ทำการอาซาน นอกจากอาซานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น - ดู ตัลคีศุลเคาะบีร เล่ม 4 หน้า 600
.............................................................
นี้คือ ข้อเท็จจริง คำว่า บิดอะฮในทางศาสนาที่นักวิชาการ
พูดถึง คือ
التعبد لله تعالى بما ليس عليه النبي ، صلى الله عليه وسلم ، ولا خلفاؤه الراشدون
การอิบาดะฮต่ออัลลอฮในสิ่งที่นบี ศอลฯและบรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ไม่ได้ปฏิบัติ
هي كل عبادة أحدثها الناس ليس لها أصل في الكتاب ولا في السنة ولا في عمل الخلفاء الأربعة الراشدين ، لقول النبي ، صلى الله عليه وسلم ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد ) متفق على صحته
บิดอะฮคือ ทุกอิบาดะฮที่มนุษย์อุตริขึ้นมา ไม่มีที่มาจากอัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ(แบบอย่างรซูล)และไม่มีการปฏิบัติจากเคาะลิฟะฮทั้งสี่ที่แนะนำสิ่งที่ถูกต้อง เพราะนบี ศอลฯกล่าวว่า"ผู้ใดอุตริในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่งไม่มีจากมัน เขาไม่ได้รับการรับรอง" – มุตตะฟัก
http://www.khayma.com/kshf/F/Ftawa.htm
والله أعلم بالصواب
............................
อะสัน หมัดอะดั้ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น