อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตะบัรรุกคืออะไร





คำว่า "التبرك คือ طلب البركة หมายถึงการแสวงหาความจำเริญ
คำว่า "บะเรากัต หมายถึง ความดีอันมากมากมาย
เราจะให้ได้รับบะเราะกัต ก็ด้วยการทำอิบาดะฮ การดุอา การปฏิบัติตนอยู่ในคำสอน เพราะ ผู้เพิ่มพูนความดีงามอันมากมากมายคืออัลลอฮ ตะอาลา เช่นดุอาที่ขึ้นต้นว่า

اللهم بارك لنا

โอ้อัลลอฮ โปรดประทานความจำเริญให้แก่เรา....

การตะบัรรุก (การแสวงหาหาความดี) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หนึ่ง – ตะบัรรุก มัชรูอฺ (ตะบัรรุกที่ถูกบัญญัติใว้)
สอง – ตะบัรรุก บาฏิล (ตะบัรรุกที่เป็นเท็จหรือเป็น”โมฆะ)
การตะบัรรรุกที่เป็นสิ่งที่มีบัญญัติไว้เช่น
หนึ่ง – ตะบัรรุกด้วยการแสดงด้วยวาจา ,การกระทำ และด้วยแสดงรูปแบบ
เช่น การอ่านอัลกุรอ่าน ,การศึกษาหาความรู้ศาสนา และการรับประทานอาหารพร้อมกัน
เช่น ท่านนบี ศอ็ลฯกล่าวว่า

اجتمعوا على طعامكم ، واذكروا اسم الله عليه ، يباركْ لكم فيه.

พวกท่านจงรวมตัวกันบน(การรับประทาน)อาหารของพวกท่านและจงกล่าวพระนามของอัลลอฮบนมัน
,พวกท่านจะได้รับบะเราะกัตในมัน
รายงานโดย อบูดาวูด
การรับประทานอาหารร่วมกันและการกล่าวพระนามของอัลลอฮ การรับประทานแบบนั้นจะได้รับบะเราะกัต(การเพิ่มพูดความดีจากอัลลอฮ)

สอง - การตะบัรรุกสถานที่ เช่น ไปละหมาดที่มัสยิดอัลหะรอม ,มัสยิดนะบะวีย หรือ มัสยิดอัลอักศอ ดังท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

;لَا تُشَدُّ الرِّحَالُ إِلَّا إِلَى ثَلَاثَةِ مَسَاجِدَ المَسْجِدِ الحَرَامِ، وَمَسْجِدِ الرَّسُولِ صلى الله عليه وسلم، وَمَسْجِدِ الْأَقْصَى
ความว่า “ไม่มีการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง มัสยิดอัล-หะรอม มัสยิดเราะสูล และมัสยิดอัล-อักศอ” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ : อัล-อัล-บุคอรีย์ย์ 1189 และมุสลิม 1397)

3. การตะบัรรุกด้วยวิธีการที่ศาสนาบัญญัติไว้ เช่น ท่านนบี ศอลฯ สอนให้เลียนิ้วและภาชนะที่เศษอาหารติดอยู่ เมื่อรับประทานอาหาร

عَنْ جَابِرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَمَرَ بِلَعْقِ الأَصَابِعِ وَالصَّحْفَةِ وَقَالَ : إِنَّكُمْ لاَ تَدْرُونَ فِي أَيِّهِ الْبَرَكَةُ

มีรายงานจากท่านญาบิร (ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ) ว่า ท่านนบีมูฮำหมัด(ซ.ล.) ได้สั่งให้เลียอาหารที่ติดอยู่ที่นิ้วมือและภาชนะให้หมด โดยท่านนบีกล่าวว่า พวกท่านไม่รู้หรอกว่า ในอาหารตรงไหนที่มีความจำเริญ(บะเราะกัต)อยู่- รายงานโดยมุสลิม

4. ตะบัรรุก ด้วยอาหาร หรือ เครื่องดื่ม ที่ศาสนาได้สอนว่ามีความจำเริญเช่น ผลมะกอก เป็นต้น
ดังหะดิษ

كُلُوا الزَّيْتَ وَادَّهِنُوا بِهِ فَإِنَّهُ مِنْ شَجَرَةٍ مُبَارَكَةٍ"

พวกท่านจงกินผลมะกอก และจงชโลมน้ำมันด้วยมัน เพราะแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากต้นไม้ที่ได้รับความจำเริญ(บะเราะกัต
- أي: الزيتون- رواه الترمذي (4/285) ، وابن ماجه (2/1103) ، وانظر "السلسلة الصحيحة"(379).

เช่น การดื่มน้ำซัมๆ
เช่นนบี ศอ็ลฯกล่าวว่า

"إِنَّها -أي ماء زمزم - مُبَارَكَةٌ، إِنَّهَا طَعَامُ طُعْمٍ).
แท้จริงมัน (หมายถึงน้ำซัมซัม)นั้น เป็นสิ่งที่ได้รับความจำเริญ(บะเราะกัต),แท้จริงมัน เป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย-รายงานโดยมุสลิม

5. ตะบัรรุก(แสวงหาบะเราะกัต)ด้วยบรรดาเวลา ที่ศาสนาได้เจาะจงไว้ เช่น เดือนเราะมะฎอน ,คืน อัลเกาะดัร เป็นต้น

สอง – ตะบัรรุกบาฏิล (ตะบัรรุที่ไม่ถูกต้อง) หรือ ตะบัรรุกมัมนูวะ (ตะบัรรุกถูกห้าม)
- ตะบัรรุก ด้วยสถานที่ที่ศาสนบัญญัติไม่ได้ระบุไว้ เช่น ตะบัรรุก ด้วยการลูบมะกอมอิบรอฮีม ,การจูบประตูมัสยิด เป็นต้น
- ตะบัรรุกด้วยสถานที่ที่นบีเคยนั่ง หรือ เคยละหมาด หรือ ได้ทำสัตยาบัน เป็นต้น

عَنْ نَافِعٍ، قَالَ: " بَلَغَ عُمَرَ بْنَ الْخَطَّابِ أَنَّ نَاسًا يَأْتُونَ الشَّجَرَةَ الَّتِي بُويِعَ تَحْتَهَا، قَالَ: فَأَمَرَ بِهَا فَقُطِعَتْ "

รายงานจากนาเฟียะ กล่าวว่า “อุมัร บิน อัลคอฏฏอ็บ ได้ทราบข่าวว่า บรรดาผู้คน ไปยังต้นไม้ที่(ท่านรซูลุลลอฮ)เคยมีการทำสัตยาบันใต้ของมัน เขา(นาเฟียะ)กล่าวว่า “แล้วเขา(อุมัร) ได้สั่ง ตัดต้นไม้นั้นเสีย- มุศอ็นนิฟ อิบนิอบีชัยบะฮ หะดิษหมายเลข 7371

ขอชี้แจงว่า การตะบัรรุก หรือ การขอความเจริญจากอัลลอฮ ด้วยบุคคลและร่องรอยของบุคคลคลนั้น เราไม่ได้ค้านเกี่ยวกับการตะบัรรุกต่อท่านนบี แต่กับคนอื่นเราไม่เห็นด้วย ดังหลังฐานข้างล่าง

อิหม่ามอัชชาติบีย์กล่าวว่า

الصحابة رضي الله عنهم بعد موته عليه الصلاة والسلام لم يقع من أحد منهم شيء من ذلك بالنسبة إلى من خلفه، إذ لم يترك النبي صلى الله عيه وسلم بعده في الأمة أفضل من أبي بكر الصديق رضي الله عنه، فهو كان خليفته، ولم يفعل به شيء من ذلك، ولا عمر رضي الله عنه، وهو كان أفضل الأمة بعده، ثم كذلك عثمان، ثم علي، ثم سائر الصحابة الذين لا أحد أفضل منهم في الأمة، ثم لم يثبت لواحد منهم من طريق صحيح معروف أن متبركا تبرك به على أحد تلك الوجوه أو نحوها ـ يقصد التبرك بالشعر والثياب وفضل الوضوء ونحو ذلك ـ، بل اقتصروا فيهم على الاقتداء بالأفعال والأقوال والسير التي اتبعوا فيها النبي صلى الله عيه وسلم ، فهو إذا إجماع منهم على ترك تلك الأشياء

บรรดาเศาะหาบะฮ (ร.ฎ)นั้น หลังจากที่นบี ศอ้ลฯ เสียชีวิต ก็ไม่ได้มีสิ่งใดๆ เกิดขึ้นจากคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา จากดังกล่าว(จากการตะบัรรุก) ด้วยการอ้างผู้ที่อยู่ยุคหลังจากท่านนบี ขณะที่ท่านนบี ศอ็ลฯ ไม่ได้ทิ้งไว้ ในอุมมะฮนี้ หลังจากท่านได้เสียชีวิต ที่ประเสริฐ ไปกว่า อบีบักรฺอัศศิดดีก (ร.ฎ) โดยที่เขาเป็นเคาะลิฟะฮของท่านนบี และไม่มีสิ่งใดถูกปฏิบัติกับเขา(อบูบักร) จากดังกล่าว (หมายถึงการตะบัรรุก) และ ไม่ได้ถูกปฏิบัติกับท่านอุมัร(ร.ฎ) โดยที่ท่านอุมัร เป็นอุมมะฮที่ประเสริฐ รองจากเขา(รองจากอบูบักร) ต่อมาก็ในทำนองเดียวกัน อุษมาน ,อาลี และบรรดาเศาะหาบะฮอื่นๆที่ไม่มีใครประเสริฐกว่าพวกเขาในอุมมะฮนี้ ต่อมา ไม่มีการยืนยัน สำหรับคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา จากสายรายงานที่เศาะเฮียะ ที่เป็นที่รู้จัก ว่า ผู้ที่ทำการตะบัรรุก(ผู้เอาบะกัต) ได้ทำการตะบัรรุก กับเขา บนวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือในทำนองนั้น เจตนา ทำการตะบัรรุก(ขอความจำเริญ) ด้วยผม ,เสื้อผ้า ,น้ำเหลือจากการการอาบน้ำละหมาด และในทำนองนั้น แต่ทว่า พวกเขาได้พอเพียง บนการปฏิบัติตาม การกระทำและคำพูด และดำเนินตาม ที่พวกเขาได้ปฏิบัติตามนบี ศอ็ลฯ ในมัน ดังนั้น มันคือ มติเอกฉันท์จากพวกเขา(เหล่าเศาะหาบะฮ) บนการละทิ้งบรรดาสิ่งต่างๆดังกล่าวนั้น -อัลเอียะติศอม ๑/๓๑๐
………………………….
หลังจากท่านนบี ศอลฯ เสียชีวิต ก็ไม่มีเศาะหาบะฮคนใด ทำการตะบัรรุก กับอบูบัก ,อุมัร ,อุษมาน ,อาลี และเหล่าสาวกที่สำคัญๆเลย แต่ทว่า พวกเขาพอเพียงอยู่กับการเจริญรอยตามสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติตามนบี ศอลฯ ดังนั้น การละทิ้งจากการขอบะกัต(ตะบัรรุก) กับบุคคลที่นอกเหนือจากนบี จึงเป็นอิจญมาอฺจากเหล่าเศาหาบะฮ

والله أعلم بالصواب

........................
อะสัน หมัดอะดั้ม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น