อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หะดิษเมียะรอจญ์ แสดงบอกแก่ผู้มีปัญญาว่า อัลลอฮทรงอยู่เบื้องสูง




ตอนหนึ่งจากหะดิษเมียะรอจญฺ

. فَأَوْحَى اللَّهُ إِلَىَّ مَا أَوْحَى فَفَرَضَ عَلَىَّ خَمْسِينَ صَلاَةً فِي كُلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ فَنَزَلْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَقَالَ مَا فَرَضَ رَبُّكَ عَلَى أُمَّتِكَ قُلْتُ خَمْسِينَ صَلاَةً . قَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ فَإِنَّ أُمَّتَكَ لاَ يُطِيقُونَ ذَلِكَ فَإِنِّي قَدْ بَلَوْتُ بَنِي إِسْرَائِيلَ وَخَبَرْتُهُمْ . قَالَ فَرَجَعْتُ إِلَى رَبِّي فَقُلْتُ يَا رَبِّ خَفِّفْ عَلَى أُمَّتِي . فَحَطَّ عَنِّي خَمْسًا فَرَجَعْتُ إِلَى مُوسَى فَقُلْتُ حَطَّ عَنِّي خَمْسًا . قَالَ إِنَّ أُمَّتَكَ لاَ يُطِيقُونَ ذَلِكَ فَارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ . - قَالَ - فَلَمْ أَزَلْ أَرْجِعُ بَيْنَ رَبِّي تَبَارَكَ وَتَعَالَى وَبَيْنَ مُوسَى - عَلَيْهِ السَّلاَمُ - حَتَّى قَالَ يَا مُحَمَّدُ إِنَّهُنَّ خَمْسُ صَلَوَاتٍ كُلَّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ لِكُلِّ صَلاَةٍ عَشْرٌ فَذَلِكَ خَمْسُونَ صَلاَةً . وَمَنْ هَمَّ بِحَسَنَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا كُتِبَتْ لَهُ حَسَنَةً فَإِنْ عَمِلَهَا كُتِبَتْ لَهُ عَشْرًا وَمَنْ هَمَّ بِسَيِّئَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا لَمْ تُكْتَبْ شَيْئًا فَإِنْ عَمِلَهَا كُتِبَتْ سَيِّئَةً وَاحِدَةً - قَالَ - فَنَزَلْتُ حَتَّى انْتَهَيْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ . فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَقُلْتُ قَدْ رَجَعْتُ إِلَى رَبِّي حَتَّى اسْتَحْيَيْتُ مِنْهُ "

แล้วพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงวะฮีย์ให้แก่ฉันว่า พระองค์ทรงกำหนดการละหมาดในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ห้าสิบเวลา หลังจากนั้นฉันก็ลงมาที่มูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ท่านกล่าวว่า องค์อภิบาลของเจ้าบัญญัติเรื่องใดให้แก่ประชาชาติของเจ้า ฉันตอบว่า พระองค์บัญญัติการละหมาดห้าสิบเวลา ท่านกล่าวว่า เจ้าจงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้าเถิด และขอลดหย่อนต่อพระองค์ เพราะประชาชาติของเจ้าย่อมไม่สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน และฉันเองก็เคยทดสอบและฝึกฝนชาวบะนีอิสรออีลมาแล้ว (และพบว่าพวกเขาอ่อนแอมากเกินกว่าที่จะรับภาระหนักเช่นนั้นได้) ท่านนบีกล่าวว่า ฉันจึงได้กลับไปยังองค์อภิบาลของฉัน โดยร้องขอว่า โอ้องค์อภิบาลของฉันได้โปรดลดหย่อนแก่ประชาชาติของฉันด้วยเถิด ดังนั้นพระองค์จึงทรงลดหย่อนให้แก่ฉันเหลือเพียงห้าเวลา หลังจากนั้นฉันก็กลับมาที่นบีมูซา แล้วกล่าวกับท่านว่า พระองค์ทรงลดหย่อนให้แก่ฉันเหลือเพียงห้าเวลา ท่านกล่าวว่า ประชาชาติของเจ้าจะไม่สามารถรับภาระนี้ จงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้าอีกครั้งเถิด แล้วขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก ดังนั้นฉันจึงเทียวไปเทียวมาระหว่างองค์อภิบาลของฉันผู้ทรงจำเริญและสูงส่ง กับนบีมูซา อลัยฮิสสลาม จนกระทั่งพระองค์ทรงตรัสว่า โอ้มูฮัมหมัดเอ๋ย การละหมาดห้าเวลาในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น แต่ละเวลาละหมาดเทียบเท่ากับสิบ ดังนั้น (การละหมาดห้าเวลา) จึงเท่ากับการละหมาดห้าสิบเวลา และผู้ใดตั้งใจกระทำความดีโดยที่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาหนึ่งความดี แต่หากเขาได้กระทำความดีนั้น ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาสิบเท่าตัว และผู้ใดตั้งใจกระทำความชั่ว แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ ความชั่วนั้นก็จะยังไม่ถูกบันทึก แต่หากเขาลงมือกระทำมัน ก็จะถูกบันทึกเพียงความชั่วเดียว
แล้วฉันก็กลับมาจนกระทั่งมาถึงท่านนบีมูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และแจ้งข่าวให้ท่านทราบ แต่ท่านก็ยังกล่าวอีกว่า จงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้า และขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ฉันตอบกับท่านนบีมูซาว่า ฉันกลับไปหาองค์อภิบาลของฉัน (หลายครั้งเพื่อขอลดหย่อน) จนกระทั่งฉันละอายต่อพระองค์ -มุสลิม/หมวดที่1/บทที่76/ฮะดีษเลขที่ 0309

จากหะดิษเมียะรอจญ เป็นหลักฐานการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮดังนี้

๑. คืนเมียะรอจญ์ หมายถึง
لَيْلَةُ المعراج : ليلة السَّابع والعشرين من رجب ليلة صعود الرَّسول صلَّى الله عليه وسلَّم إلى السَّماء
คืน เมียะรอจญ์ คือ คืนที่ ๒๗ เดือนเราะญับ เป็นคืนที่รอซูลุลอฮ ศอ็ลฯ ขึ้นไปยังฟากฟ้า
ข้อสังเกตุ - แสดงว่า ท่านนบี ศอ็ลฯ ขึ้นสู่เบื้องสูง

๒. . فَأَوْحَى اللَّهُ إِلَىَّ مَا أَوْحَى فَفَرَضَ عَلَىَّ خَمْسِينَ صَلاَةً فِي كُلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ فَنَزَلْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه
แล้วพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงวะฮีย์ให้แก่ฉันว่า พระองค์ทรงกำหนดการละหมาดในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ห้าสิบเวลา หลังจากนั้นฉันก็ลงมาที่มูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม
ข้อสังเกต – แสดงให้เห็นว่า ได้รับวะหยูเรื่องการละหมาด จากเบื้องูง

๓. . قَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ
ท่านนบีมูซา อ. กล่าวว่า เจ้าจงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้าเถิด และขอลดหย่อนต่อพระองค์
ข้อสังเกต – นบีมูซา ให้นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ กลับไปยังอัลลอฮ (ซ.บ) แสดงว่า นบีมูซา อ. และนบี มุหัมหมัด ศอ็ลฯ รู้ว่าอัลลอฮอยู่เบื้องสูง เพราะถ้าไม่มีสถานที่หรืออยู่ทุกหนทุกแห่ง ก็ไม่จำเป็นต้องกลับขึ้นไป

๔. - قَالَ - فَلَمْ أَزَلْ أَرْجِعُ بَيْنَ رَبِّي تَبَارَكَ وَتَعَالَى وَبَيْنَ مُوسَى - عَلَيْهِ السَّلاَمُ –
นบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า ดังนั้นฉันจึงเทียวไปเทียวมาระหว่างองค์อภิบาลของฉันผู้ทรงจำเริญและสูงส่ง กับนบีมูซา อลัยฮิสสลาม
ข้อสังเกต – การไปมาระหว่างอัลลอฮ กับ มูซา ชี้ให้ว่า นบี ศอลฯ รู้ว่าอัลลอฮอยู่ใหน และรู้ว่าอยู่เบื้องสูง ดังหะดิษ

ในตอนหนึ่ง ของหะดิษเกี่ยวกับเมียะรอจญ์ ระบุว่า

فَعَادَ بِهِ جَبْرَائِيلُ حَتَّى أَتَى الْجَبَّارَ عَزَّ وَجَلَّ وَهُوَ مَكَانُهُ ، فَقَالَ : " رَبِّ خَفِّفْ عَنَّا ، فَإِنَّ أُمَّتِي لَا تَسْتَطِيعُ هَذَا ، فَوَضَعَ عَنْهُ عَشْرَ صَلَوَاتٍ; ثُمَّ رَجَعَ إِلَى مُوسَى عَلَيْهِ السَّلَامُ
แล้ว ญับรีลได้นำเขา(มุหัมหมัด) กลับไป จนกระทั้งมาถึง พระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง และทรงเลิศยิ่งโดยที่พระองค์ อยู่ ณ.สถานที่ของพระองค์ แล้วเขา(มุหัมหมัด) กล่าวว่า “ โอ้พระผู้อภิบาลของข้า ได้โปรดลดย่อนจากเราเถิด เพราะแท้จริง อุมมะฮของข้าพระองค์ ไม่มีความสามารถ สิ่งนี้ แล้วพระองค์ได้ลดให้เขา สิบเวลาละหมาด.ต่อมา เขา (มุหัมหมัด )กลับไปยังมูซา ......หะดิษเศาะเฮียะ – ดู ตัฟสีรอัฏอ็บรีย์ เล่ม 17 หน้า 339 เรื่อง การอิสเราะ เมียะรอจญ

>>>>>>>>>>>>>..
จากสาระที่ได้จากหะดิษอิสเราะ –เมียะรอจญ์ เป็นหลักฐานยืนยัยชัดเจนแก่ผู้มีปัญญาว่า อัลลอฮทรงอยู่บนฟ้า ซึ่งหมายถึงการอยู่เบื้องสูง


والله أعلم بالصواب

........................


อะสัน หมัดอะดั้ม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น