หน้าปกตำรา อัตตับศีร ฟี มะอาลิมิดดีน |
الر ۚ تِلْكَ آيَاتُ الْكِتَابِ الْمُبِينِ ( 1 ) อะลิฟ ลาม รอ เหล่านี้คือโองการทั้งหลายแห่งคัมภีร์ที่ชัดแจ้ง
إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ ( 2 ) แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ
เพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด
คำอธิบายของอิบนุญะรีร ปราชญ์ยุคสะลัฟ
قَالَ أَبُو جَعْفَرٍ
: يَقُولُ تَعَالَى ذِكْرُهُ : إِنَّا أَنْزَلْنَا هَذَا الْكِتَابَ الْمُبِينَ ،
قُرْآنًا عَرَبِيًّا عَلَى الْعَرَبِ ، لِأَنَّ لِسَانَهُمْ وَكَلَامَهُمْ عَرَبِيٌّ
، فَأَنْزَلْنَا هَذَا الْكِتَابَ بِلِسَانِهِمْ لِيَعْقِلُوهُ وَيَفْقَهُوا
مِنْهُ ، وَذَلِكَ قَوْلُهُ : ( لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ
อบูยะอฟัร (หมายถึงอิบนุญะรีร) กล่าวว่า “ผู้ซึ่งการสดุดีพระองค์สูงส่งยิ่ง ได้ตรัสว่า
แท้จริงเราได้ประทานคัมภีร์อันชัดแจ้งนี้ ,เป็นกุรอ่าน ภาษาอาหรับ
เพราะภาษาของพวกเขา และคำพูดของพวกเขา เป็นภาษาอาหรับ ดังนั้น
เราจึงประทาน คัมภีร์นี้ ด้วยภาษาของพวกเขา เพื่อพวกเขา ใช้ปัญญาคิดมัน
และทความเข้าใจจากมัน และดังกล่าวนั้นคือ คำตรัสของพระองค์ที่ว่า (เพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด) - ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ 15/551
...........
อายะฮข้างต้น ได้ยืนยันว่า เจตนารมณ์ของอัลกุรอ่าน ที่ประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ
เพราะเป็นภาษาของชาวอาหรับและพวกเขาพูดอาหรับ มีด้วยหรือ ที่ประทานมาให้ท่องเฉยๆ โดยไม่มีใครรู้ความหมาย
أمروها كما جاءت
จงปล่อยให้มันผ่านไปดังเช่นสิ่งที่มันได้มีมา
บางสำนวนคือ
أمروها كما
جاءت بلا كيف.
ปล่อยมันให้ผ่านไปดังเช่นสิ่งที่ได้มีมา โดยไม่ถามว่าเป็นอย่างไร
ความจริง ให้เข้าใจง่ายๆ คือ ปล่อยให้เป็นไปตามความหมายที่มีมา
โดยไม่ถามว่าเป็นอย่างไร หรือ ไม่อธิบายรูปแบบวิธีการ
ยกตัวอย่าง หะดิษนูซูล
(หะดิษที่กล่าวถึงทรงเสด็จลงมา) ท่าน อบูสุลัยมัน อัลคิฏอบีย์ (ฮ.ศ 388) อธิบายว่า
هذا الحديث وما أشبهه من الأحاديث في الصفات كان مذهب السلف فيها الإيمان بها،
وإجراءها على ظاهرها ونفي الكيفية عنها.
หะดิษนี้ และ สิ่งที่คล้ายคลึงกับมัน
จากบรรดาหะดิษสิฟาต ปรากฏว่า มัซฮับสะลัฟ ในมัน(ในบรรดาหะดิษสิฟาต) คือ
การศรัทธาด้วยมัน และปล่อยให้ดำเนินไปตามความหมายที่ปรากฏของมัน
และปฏิเสธรูปแบบวิธีการจากมัน – ดู
الأسماء والصفات للبيهقي (ج2 ص377)
และมุหัมหมัด ชัมสุลหักอัลอะซีม อะบาดีย์ ได้สรุปว่า
وَالْحَاصِلُ أَنَّ هَذَا
الْحَدِيثَ وَمَا أَشْبَهَهُ مِنَ الْأَحَادِيثِ فِي الصِّفَاتِ كَانَ مَذْهَبَ
السَّلَفِ فِيهَا الْإِيمَانُ بِهَا وَإِجْرَاؤُهَا عَلَى ظَاهِرِهَا وَنَفْيُ
الْكَيْفِيَّةِ عَنْه
และสรุปว่า แท้จริงหะดิษนี้ (คือหะดิษนูซุล หมายเลข 1315)
และสิ่งที่คล้ายคลึงกับมัน จากบรรดาหะดิษ ใน บรรดาสิฟาต ปรากฏว่ามัซฮับสะลัฟ ในมัน
คือ การศรัทธาด้วยมัน และ ปล่อยมันให้ดำเนินไปบนความหมายที่ปรากฏของมัน และปฏิเสธ
รูปแบบวิธีการจากมัน – ดูเอานุลมะอฺบูด ชัรหุสุนันอบีดาวูด เรื่อง
คืนใหนที่ประเสริฐกว่า หะดิษหมายเลข 1315
>>>>ทั้งนี้เพราะ รูปแบบสิฟาตนั้นเราไม่สามารถเอามัคลูคมาเปรียบได้เพราะทรงไม่มีสิ่งใดเหมือน เช่น คำว่า "ยัด แปลว่ามือ เมื่อเกี่ยวกับสิฟาตอัลลอฮ เราไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร จึงมอบหมายความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวิธีการ(กัยฟียะฮ)แก่อัลลอฮ เท่านี้ก็จบ
قال أبو منصور الأزهري
(282 - 370 هـ) - بعد ذكر حديث أن جهنم تمتلئ حتى يضع الله فيها قدمه- : (وأخبرني
محمد بن إسحاق السعدي عن العباس الدُّورِي أنه سأل أبا عبيدٍ عن تفسيره وتفسير
غيره من حديث النزول والرؤية فقال: "هذه أحاديث رواها لنا الثقاتُ عن الثقات
حتى رفعوها إلى النبي عليه السلام؛ وما رأينا أحدًا يفسرها، فنحن نؤمن بها على ما
جاءت ولا نفسرها." أراد أنها تترك على ظاهرها كما جاءت.
อบูมันศูร อัลอัซฮะรีย์ (ฮ.ศ 282-370) ได้กล่าวหลังจาก
ระบุหะดิษที่ว่า แท้จริงนรกญะฮันนัม เต็ม จนกระทั่งอัลลอฮได้วางเท้าของพระองค์ ในมัน ว่า: และมุหัมหมัด บิน อิสหาก อัสสะอดีย ได้เล่าเรา จาก อัลอับบาส อัดดูรีย์ ว่า แท้จริงเขาได้ถาม
อบูอุบัยดฺ จากการอรรถาธิบายของเขา และการอรรถาธิบายของผู้อื่นจากเขา เกี่ยวกับ
หะดิษนุซูล(หะดิษการเสด็จลงมาของอัลลอฮ) และ หะดิษเกี่ยวกับการเห็นอัลลอฮ เขากล่าวว่า “ บรรดาหะดิษเหล่านี้ บรรดาผู้เชื่อถือได้ ได้รายงานมันให้แก่เราจากผู้ที่เชื่อถือได้ จนกระทั่ง ยกมันไปถึงนบี ศอลฯ
(หมายถึงเป็นหะดิษมัรฟัวะ) และเราไม่เคยเห็นคนหนึ่งคนใด อรรถาธิบายมัน ,แล้วเราได้ศรัทธามัน บนสิ่งที่มันได้มีมา และเราจะไม่อรรถาธิบายมัน หมายถึง
แท้จริงมันถูกปล่อยให้อยู่บนความหมายที่ปรากฏของมัน ดังเช่นสิ่งที่มันได้มีมา
تهذيب اللغة لأبي
منصور الأزهري (ج9 ص45-46)
อบูบักร อิบนุ อบี อาสิมอัชชัยบานีย์ (ฮ.ศ 257) กล่าวว่า
وجميع ما في كتابنا
كتاب السنة الكبير الذي فيه الأبواب من الأخبار التي ذكرنا أنها توجب العلم، فنحن
نؤمن بها لصحتها، وعدالة ناقليها، ويجب التسليم لها على ظاهرها، وترك تكلف الكلام
في كيفيتها
ทั้งหมด ของสิ่งที่อยู่ในตำราของเรา คือ กิตาบอัสสุนนะฮ อัลกะบีร ซึ่งในมันมีบรรดาบท เกี่ยวกับบรรดาหะดิษ ที่เรากล่าวมัน ว่า จะต้องรู้ แล้วเราได้ศรัทธามัน เพราะ ความถูกต้อง(เศาะเฮียะ)ของมันและ ความยุติธรรมของผู้รายงานมัน และจำเป็นจะต้องยอมรับมัน
บนความหมายที่ปรากฏของมัน และละทิ้งการพูดในเรื่องรูปแบบวิธีการของมัน(ว่าเป็นอย่างไร)
- ดู อัลอุลูว์ ของ อิหม่ามอัซซะฮะบีย 194 และ มะอาริญุลกอบูล ของ อะหมัด อัลหะกา เล่ม 1 หน้า 194
- จะเห็นได้ว่า ปราชสะลัฟ เขายอมรับมันบนความหมายที่ปรากฏตามตัวบท แต่พวกเขาจะไม่อธิบายหรือพูดเกี่ยวกับรูปแบบว่าเป็นอย่างไร
อิหม่ามอิบนุญะรีร อัฏฏอ็บรีย์ (ฮ.ศ 310) กล่าว
เกี่ยวกับกลุ่มอะฮลุลบิดอะฮ ที่มีต่อหะดิษนูซูล ว่า
فإن قال لنا منهم
قائلٌ: فما أنت قائلٌ في معنى ذلك؟
قيل له: معنى ذلك ما
دل عليه ظاهر الخبر، وليس عندنا للخبر إلا التسليم والإيمان به، فنقول: يجيء ربنا
–جل جلاله- يوم القيامة والملك صفاً صفاً، ويهبط إلى السماء الدنيا وينزل إليها في
كل ليلةٍ، ولا نقول: معنى ذلك ينزل أمره؛
ถ้าหาก ผู้ที่พูดจากพวกเขา กล่าวแก่เรา ในความหมายดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร? ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า “ความหมายดังกล่าว นั้น คือ
สิ่งที่ความหมายที่ปรากฏของหะดิษได้แสดงบอกบนมัน และ ไม่มีหะดิษใดๆ ณ ที่เรา นอกจากเรายอมรับ และศรัทธาด้วยมัน แล้วเราจะกล่าวว่า พระเจ้า ของเราทรงมา ในวันกิยามะฮ และบรรดามลาอิกะฮเป็นแถวๆ ,ทรงลงมายังฟากฟ้าดุนยา
และทรงเสด็จลงมายังมัน ในทุกๆคืน และเราจะไม่กล่าวว่า ความหมายดังกล่าวนั้นคือ คำสั่งของพระองค์ลงมา – ดู อัตตับศีร ฟี มะอาลิมิดดีน หน้า 146
...........
ข้างต้นจะเห็นได้ว่า อิหม่ามอิบนุญะรีร
ได้ยอมรับความหมายของอายาตสิฟาตและหะดิษสิฟาตตามความหมายที่ปรากฏตามตัวบท
โดยไม่ตีความ (ดูเสาเนาหนังสือข้างล่าง )
จึงเป็นที่ประจักษ์ว่า การที่อ้างว่า ความหมายที่ปรากฏไม่ใช่ความหมายที่ต้องการ และต้องตีความนั้น ไม่ใช่แนวทางสะลัฟ ยิ่งบอกว่าห้ามแปล ยิ่งห่างใกลจากใกลจากความจริงมากขึ้นเข้าไปอีก (ปล. ไม่หะลาลให้ใครก็ตามคัดลอกข้อความที่ผมโพสต์ไปวิจารณ์ห้องอิ่น แต่ถ้ามาวิจารณ์ในห้องนี้ จะยินดียิ่ง และมากด้วย
ผมหวังว่า สิ่งที่ผมนำเสนอคงจะพอเพียงสำรับผู้แสวงหาสัจธรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจ
อิหม่ามอัซซะฮะบีย์ ได้รายงานว่า
أخبرنا أبو محمد بن
علوان ، أخبرنا عبد الرحمن بن إبراهيم ، أخبرنا عبد المغيث بن زهير ، حدثنا أحمد
بن عبيد الله ، حدثنا محمد بن علي العشاري ، أخبرنا أبو الحسن الدارقطني ، أخبرنا
محمد بن مخلد ، أخبرنا العباس الدوري ، سمعت أبا عبيد القاسم بن سلام ، وذكر الباب
الذي يروي فيه الرؤية ، والكرسي موضع القدمين وضحك ربنا ، وأين كان ربنا ، فقال :
هذه أحاديث صحاح ، حملها أصحاب الحديث والفقهاء بعضهم عن بعض ، وهي عندنا حق لا
نشك فيها ، ولكن إذا ، قيل : كيف يضحك ؟ وكيف وضع قدمه ؟ قلنا : لا نفسر هذا ، ولا
سمعنا أحدا يفسره
คำแปลตัวบทดังนี้
อัลอับบาส อัดดูรีย์ ได้บอกเราว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน อบูอุบัยดฺ
อัลกอซิม บิน สลาม ได้กล่าวถึง บทที่
อัรรุอยะฮ ,อัลกุรซีย์ ,สถานที่วางสองเท้า,การหัวเราะฮของพระเจ้าของเรา ,และ
พระเจ้าของเราอยู่ใหน เขากล่าวว่า “นี้คือ
บรรดาหะดิษเศาะเฮียะ ,บรรดานักหะดิษและบรรดาฟุเกาะฮา ในระหว่างกันและกัน ได้พามันมา และในทัศนะของเรา มันคือ ความจริง เราไม่สงสัยมัน แต่ว่า เมื่อ ถูกกล่าวว่า “ ทรงหัวเราะอย่างไร
,ทรงวางเท้าอย่างไร ?เราก็จะกล่าวว่า “เราจะไม่อธิบายสิ่งนี้
และเราไม่เคยได้ยินคนหนึ่งคนใดอธิบายมัน – สิยารเอียะลาม อัลนุบาลาอฺ เฏาะบะเกาะฮที่ 12 อบูอุบัยดฺ ,อัสสิฟาตของอัดดารุลกุฏนีย์ หะดิษหมายเลข 12 และ อัลอุลว์ หน้า 173 ของอิหม่ามอัซซะฮะบีย
.........
ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า สะลัฟ
ได้ยึดหะดิษสิฟาต ตามความหมายจริง แต่จะไม่อธิบายรูปแบบว่าเป็นอย่างไร
ท่านอัตติมีซีย์
เป็นอุลามาอฺสะลัฟ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สุนันของท่านว่า ในหัวข้อ
بَاب مَا جَاءَ فِي
خُلُودِ أَهْلِ الْجَنَّةِ وَأَهْلِ النَّارِ
โดยเขากล่าวว่า
.
قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ . - وَقَدْ رُوِيَ عَنِ
النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم رِوَايَاتٌ كَثِيرَةٌ مِثْلُ هَذَا مَا يُذْكَرُ
فِيهِ أَمْرُ الرُّؤْيَةِ أَنَّ النَّاسَ يَرَوْنَ رَبَّهُمْ وَذِكْرُ الْقَدَمِ
وَمَا أَشْبَهَ هَذِهِ الأَشْيَاءَ وَالْمَذْهَبُ فِي هَذَا عِنْدَ أَهْلِ
الْعِلْمِ مِنَ الأَئِمَّةِ مِثْلِ سُفْيَانَ الثَّوْرِيِّ وَمَالِكِ بْنِ أَنَسٍ
وَابْنِ الْمُبَارَكِ وَابْنِ عُيَيْنَةَ وَوَكِيعٍ وَغَيْرِهِمْ أَنَّهُمْ
رَوَوْا هَذِهِ الأَشْيَاءَ ثُمَّ قَالُوا تُرْوَى هَذِهِ الأَحَادِيثُ وَنُؤْمِنُ
بِهَا وَلاَ يُقَالُ كَيْفَ وَهَذَا الَّذِي اخْتَارَهُ أَهْلُ الْحَدِيثِ أَنْ
تُرْوَى هَذِهِ الأَشْيَاءُ كَمَا جَاءَتْ وَيُؤْمَنُ بِهَا وَلاَ تُفَسَّرُ وَلاَ
تُتَوَهَّمُ وَلاَ يُقَالُ كَيْفَ وَهَذَا أَمْرُ أَهْلِ الْعِلْمِ الَّذِي
اخْتَارُوهُ وَذَهَبُوا إِلَيْهِ . وَمَعْنَى قَوْلِهِ فِي الْحَدِيثِ "
فَيُعَرِّفُهُمْ نَفْسَهُ " . يَعْنِي يَتَجَلَّى لَهُمْ
อบูมูซา (หมายถึงอิหม่ามอัตติรมิซีย์เอง)
กล่าวว่า นี้คือ หะดิษ หะซัน เศาะเฮียะ และแท้จริงมันได้ถูกรายงานจาก นบี ศอ็ลฯ
บรรดารายงานต่างๆมากมาย เหมือนกับรายงานนี้ คือ สิ่งที่ เรื่องการเห็นอัลลอฮ (อัรรุอยะฮ)
ได้ถูกระบุไว้ในมันว่า “แท้จริงมนุษย์
พวกเขาจะได้เห็นพระเจ้าของเขา และ “อัลเกาะดัม
(เท้าของอัลลอฮ)ถูกระบุเอาไว้ และสิ่งที่คล้ายครึงกับบรรดาสิ่งต่างๆเหล่านี้ และในประเด็นนี้ ตามทัศนะของนักวิชาการจากบรรดานักปราชญ์
อย่างเช่น ท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ , ท่านมาลิดบินอะนัส , ท่านอิบนุอัลมุบาร๊อก
, ท่านอิบนุอุยัยนะฮ์ , ท่านวะเกี๊ยะอฺ , และท่านอื่นๆ ว่า แท้จริงพวกเขาได้รายงานบรรดาสิ่งต่างๆเหล่านี้
หลังจากนั้นพวกเขาก็กล่าวว่า บรรดาหะดิษเหล่าวนี้ได้ถูกรายงาน โดยเราศรัทธาด้วยกับมัน
และไม่ถูกกล่าวว่ามีรูปแบบวิธีการเป็นอย่างไร และนี้ก็คือสิ่งที่นักวิชาการหะดิษได้เลือกเฟ้นมัน
โดยการรายงานประการต่างๆเหล่านี้ เสมือนกับที่มันได้มีมา และถูกศรัทธาด้วยกับมัน
โดยไม่ถูกอธิบาย ,ไม่คิดจินตนาการ และไม่ถูกกล่าวว่ามีรูปแบบวิธีการอย่างไร และนี้คือสิ่งที่นักวิชาการ(สะลัฟ)ได้เลือกและได้ให้ทัศนะไปยังมัน"และความหมายคำพูดนบี
ศอ็ลฯ ในหะดิษ พวกเขารู้จักจุดมุ่งหมายของมัน หมายถึงพวกเขา ได้รับการเปิดเผยให้รู้ - ดู
สุนัน อัตติรมีซีย์ เล่ม 4 หน้า 692
..............
อิหม่ามติรมิซีย์ ได้ระบุ บรรดาหะดิษ ต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึง
การเห็นอัลลอฮ หรือ เท้าของออัลลอฮ และบรรดาหะดิษที่คล้ายคลึงกัน แนวทางสะลัฟ ว่า พวกเขา เชื่อตามตัวบทที่ได้รายงานมา
โดย ไม่นึกมโนภาพ ว่าเป็นอย่างนั้น
อย่างนี้ ไม่อธิบายรูปแบบว่าเป็นอย่างไร
..................................................................
Ah-lulquran Was-sunnah (อะสัน หมัดอะดั้ม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น